คุณกำลังมองหาอะไร?

วิ

วิถีชุมชน มุ่งมั่น สร้างสรรค์เด็กไทยสุขภาพดี

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

22.09.2563
45
0
แชร์
22
กันยายน
2563
 
 
 
วิถีชุมชน มุ่งมั่น สร้างสรรค์เด็กไทยสุขภาพดี
เวลา 3 สิงหาคม 2559
เวลา13.00-14.30 น.
 
 
ประธานห้อง :
นายแพทย์อรรถพล แก้วสัมฤทธิ์
ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมสุขภาพ
 
วิทยากร :
ด.ต.สุทิศา ขวัญเมือง
ครูอนามัยโรงเรียนตชด.บ้านควนสามัคคี จังหวัดชุมพร
นายเกษม มะเกะ
ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านตะโละแมะนา จังหวัดปัตตานี
นายนิคม ไวบรรเทา
ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านวังยาววิทยายน จังหวัดมหาสารคาม
 
ผู้ดำเนินการอภิปราย :
นายวันชัย เยี่ยงกุลเชาว์
ศูนย์อนามัยที่ 11 นครศรีธรรมราช
 
การทำงาน ภายใต้บริบทที่แตกต่างกัน
 
     เนื่องจากพื้นที่โรงเรียนในแต่ละภูมิภาคมีความแตกต่างกัน เช่นพื้นที่โรงเรียน ตชด.บ้านควนสามัคคี จังหวัดชุมพร เป็นโรงเรียนที่อยู่ในถิ่นทุรกันดาร ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำสวนยางพารา ปาล์มน้ำมันและสวนผลไม้ นักเรียนมาจากครอบครัวที่ลำบาก ขาดความพร้อม ประชาชนมีการเล่นการพนัน ดื่มสุรา จึงไม่ค่อยมีเวลาดูแลเอาใจใส่ด้านสุขภาพอนามัยของบุตรหลาน ส่วนทางด้านโรงเรียนบ้านตะโละแมะนา จังหวัดปัตตานี เป็นโรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยง ภายใต้สถานการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ ส่งผลกระทบอย่างมากต่อสภาพจิตใจของครูและนักเรียน รวมทั้งคนในชุมชน อีกทั้งความแตกต่างทางด้านศาสนา ทำให้ยากต่อการทำงานและสุดท้าย โรงเรียนบ้านวังยาววิทยายน จังหวัดมหาสารคามที่วิถีชีวิตมีการผันแปรตามสภาพแวดล้อม ทำให้ประชาชนมักมีการอพยพไปทำงานต่างถิ่นในช่วงฤดูแล้ง ทำให้เด็กและผู้สูงอายุถูกทิ้งไว้ในหมู่บ้าน
 
จุดเริ่มต้นการดำเนินงาน/วิธีการดำเนินงาน
 
จุดเริ่มต้น :
    เริ่มจากการเห็นสภาพปัญหาด้านสุขภาพที่เกิดขึ้นกับนักเรียน เช่น อ้วน ฟันผุ สายตา จมน้ำ ฯลฯ ซึ่งมีแนวโน้มของปัญหามากขึ้นเรื่อยๆ จากความไม่ตระหนักของ ผู้ที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น ตัวนักเรียนเอง ครอบครัว ครู ชุมชน สังคมแวดล้อมภายในและภายนอกโรงเรียน
 
 
วิธีการดำเนินงาน
 
1.สร้างเป้าหมายการดำเนินงานร่วมกัน เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน "ด้านสุขภาพนักเรียน”
2.สร้างการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ทั้งภาครัฐและเอกชน ท้องถิ่น ชุมชน ครอบครัว
3.นำแนวคิดของโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพมาใช้ในกระบวนการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพนักเรียนและอนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน
4.มีการสานสัมพันธ์และขอรับการสนับสนุนการดำเนินงานจากภาคีเครือข่ายต่างๆ
5.ปรับการทำงาน โดยเน้นบริบทของพื้นที่เป็นหลัก
 
ความสำเร็จ/การสร้างความยั่งยืน
 
ความสำเร็จ
 
1.นักเรียนมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ ส่งผลให้มีภาวะสุขภาพดีขึ้นเช่น อ้วน ผอม เตี้ย ฟันผุ ลดลง
2.มีการจัดการด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพนักเรียน
3.ภาคีเครือข่ายเข้ามามีส่วนร่วมในด้านการส่งเสริมสุขภาพของนักเรียน
 
การสร้างความยั่งยืน
 
1.การบูรณาด้านสุขภาพในการเรียนการสอนทุกกลุ่มสาระ
2.พัฒนาเครือข่ายโรงเรียนในระดับอำเภอ
3.เป็นแหล่งเรียนรู้ดูงานด้านสุขภาพ
4.พัฒนาต่อยอดสู่การเป็นโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชรต่อเนื่องและโรงเรียนต้นแบบด้านสุขภาพอื่นๆ

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน