แผนปฏิบัติการดิจิทัล กรมอนามัย พ.ศ. 2563 – 2565
วิสัยทัศน์ พันธกิจ และยุทธศาสตร์ แผนปฏิบัติการดิจิทัล กรมอนามัย พ.ศ. 2563-2565
วิสัยทัศน์
“กรมอนามัยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างชาญฉลาดช่วยขับเคลื่อนการดำเนินงาน เพิ่มคุณภาพบริการงานส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น”
พันธกิจด้านเทคโนโลยีดิจิทัล
- จัดหาและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอย่างคุ้มค่า ทันสมัย พอเพียง มีประสิทธิภาพ และมีความมั่นคงปลอดภัย เพื่อสนับสนุนต่อการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ขององค์กร
- บูรณาการระบบเทคโนโลยีดิจิทัลทั้งจากภายในและภายนอกองค์กรให้สอดคล้องเป็นไปในทิศทางเดียวกันอย่างไร้รอยต่อ
- พัฒนามาตรฐานข้อมูลและการเชื่อมโยงระบบสารสนเทศทั้งภายในและภายนอกองค์กร
- นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เพิ่มขีดความสามารถการให้บริการข้อมูลข่าวสารด้านการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมแก่ประชาชนได้ทั่วถึง เท่าเทียม ทุกที่ ทุกเวลา
- ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและบุคลากรทั่วไปของกรมอนามัยให้มีทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลเพียงพอต่อการปฏิบัติงาน
ยุทธศาสตร์การพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล
ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างคุ้มค่า และมั่นคงปลอดภัย
เป้าหมายที่สำคัญ
- กรมอนามัยมีกรอบโครงสร้างและจัดตั้งหน่วยงานศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล กรมอนามัย
- กรมอนามัยมีโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีดิจิทัลที่ปลอดภัย ทันสมัย เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และพอเพียงต่อความต้องการใช้งาน พร้อมให้บริการบน Platform ด้านระบบส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม เพื่อส่งเสริมพันธกิจของกรมอนามัย และรองรับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง
- กรมอนามัยมีระบบการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านเทคโนโลยีดิจิทัล เป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมายและมาตรฐานที่เกี่ยวข้องและมีแผนรองรับการดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง (Business Continuity Plan: BCP)
- กรมอนามัยมีการบูรณาการเพื่อให้เกิดการพัฒนาด้านสิ่งอำนวยความสะดวกอัจฉริยะ (Smart Facility)
ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาระบบสารสนเทศและบูรณาการฐานข้อมูล เพื่อเพิ่มสมรรถนะในการดำเนินงาน
เป้าหมายที่สำคัญ
- กรมอนามัยมีระบบสารสนเทศและฐานข้อมูลกลางด้านส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมระดับประเทศ ที่ครบถ้วน ถูกต้อง ทันสมัยใช้งานได้สะดวก
- กรมอนามัยมีการเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลที่สำคัญ ทั้งภายในและภายนอกหน่วยงานเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด และภายใต้กรอบแนวคิด Big Data (JHCIS, ฐานข้อมูล 43 แฟ้ม, สำนักงานทะเบียนราษฎร์,สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ)
- กรมอนามัยสามารถพัฒนาและใช้ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการภายในอย่างต่อเนื่องเต็มประสิทธิภาพ
- ผู้ใช้บริการทุกภาคส่วน (ภาคีเครือข่าย, ประชาชน, เจ้าหน้าที่กรมอนามัย) สามารถเข้าถึงและใช้บริการสารสนเทศด้านส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม รวมถึงการร้องเรียนจากประชาชนผ่านช่องทาง Voice, Chatbot ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ทั่วถึง เท่าเทียมด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล
- กรมอนามัยมีการเชื่อมข้อมูลสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม มาเป็นฐานข้อมูลกลางเพื่อค้นหาข้อมูลหรือคำสำคัญที่เกี่ยวข้องได้อย่างรวดเร็ว และถูกต้อง โดยใช้โปรแกรมค้นหา (Search Engine) ที่มีประสิทธิภาพ
ยุทธศาสตร์ที่ 3 สร้างศักยภาพการใช้งานและพัฒนากลไกการบริหารด้านเทคโนโลยีดิจิทัลทุกรูปแบบ มุ่งสู่การเป็นองค์กรดิจิทัล
เป้าหมายที่สำคัญ
- สนับสนุนและส่งเสริมการนำเทคโนโลยีดิจิทัลพัฒนางานวิจัย นวัตกรรม ด้านสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งขับเคลื่อนองค์ความรู้แก่ประชาชน
- ส่งเสริมสนับสนุนการสร้างสังคมออนไลน์ด้านสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย
- หน่วยงานกรมอนามัยสามารถบริหารจัดการการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด
- บุคลากรกรมอนามัยมีความปลอดภัยจากการใช้งานคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง
- สนับสนุนกฎระเบียบ หลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความมั่นคงปลอดภัยในการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัล
ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาทุนมนุษย์และทุนปัญญาด้านเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อเพิ่มความสามารถและประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรและภาคีเครือข่าย
เป้าหมายที่สำคัญ
- บุคลากรด้านเทคโนโลยีดิจิทัล มีความรู้และทักษะในการพัฒนาและใช้เทคโนโลยีดิจิทัลจนสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ได้
- บุคลากรกรมอนามัยและภาคีเครือข่าย ได้รับการพัฒนาศักยภาพและมาตรฐานความรู้ด้านดิจิทัล สามารถใช้งานโปรแกรมจัดการสำนักงานและใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- บุคลากรกรมอนามัยสามารถประยุกต์ใช้ Social Media และ Online Service เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานได้
- ภาคีเครือข่ายสามารถใช้ระบบสารสนเทศของกรมอนามัยที่เกี่ยวข้องและประยุกต์ใช้ Social Media เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานได้
แผนงานโครงการ
แผนงาน 1.1 การจัดหาและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีดิจิทัลให้ครอบคลุมเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง, การเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และโปรแกรมคอมพิวเตอร์พื้นฐาน
แผนงาน 1.2 การจัดการความเสี่ยงและรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ
แผนงาน 2.1 พัฒนาระบบสารสนเทศสนับสนุนภารกิจหลักและพัฒนามาตรฐานเทคโนโลยีดิจิทัลที่ทำให้เกิดการบูรณาการทั้งกระบวนการและข้อมูล
แผนงาน 2.2 การเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานสำนักงานและการบริหารจัดการทรัพยากรองค์กรให้ทันสมัยเป็นอัตโนมัติ
แผนงาน 3.1 เพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีดิจิทัล
แผนงาน 3.2 การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานด้านเทคโนโลยีดิจิทัล
แผนงาน 4.1 การพัฒนาศักยภาพและมาตรฐานความรู้ (ICT Skill Standard) ของบุคลากรทุกระดับและภาคีเครือข่าย
แผนพัฒนาองค์กรและบุคลากรด้านดิจิทัล กรมอนามัย
กรมอนามัย มุ่งมั่นที่จะพัฒนาบุคลากรให้มีความสามารถ ศักยภาพ และทักษะ เพื่อพัฒนางานได้อย่างมีประสิทธิภาพและสัมฤทธิ์ผล ทั้งนี้ จำเป็นต้องพิจารณาและจัดการอบรมให้สอดคล้องกับพื้นฐานความต้องการใช้งาน และภาระหน้าที่รับผิดชอบของแต่ละกลุ่มบุคคล ดังนั้น หลักสูตรการอบรมบุคลากร จึงแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลัก คือ
- หลักสูตรการพัฒนาบุคลากรกลุ่มผู้ใช้งาน เป็นการอบรมเพื่อเสริมสร้างความรู้และทักษะแก่บุคลากรในกรมอนามัย ให้สามารถใช้งานดิจิทัลได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และตรงตามความต้องการใช้งาน
- หลักสูตรการพัฒนาบุคลากรกลุ่มผู้ดูแลระบบและบริหารระบบ เป็นการอบรม เพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะเฉพาะ เพื่อให้สามารถใช้และดูแลระบบสารสนเทศ สนับสนุนการทำงานของกรมอนามัยอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล การอบรมสำหรับกลุ่มผู้ดูแลบริหารระบบ
เทคโนโลยีดิจิทัลในอนาคต กรมอนามัย
ปัจจุบันเทคโนโลยีดิจิทัลได้เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว แนวโน้มการพัฒนาเทคโนโลยีในอนาคต (Technology Trends) จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและยกระดับการให้บริการของกรมอนามัย ตลอดจนการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรให้มีความทันสมัย รองรับการเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลในอนาคต ทั้งหน่วยงานภายในและภายนอกกรมอนามัย ดังนั้นการดำเนินการควรพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลในอนาคต ได้แก่ 1) Artificial Intelligence : AI 2) Digital Twin 3) Virtual Reality / Augmented Reality / Mixed Reality 4) Big Data 5) Open Data 6) Cloud Computing 7) Internet of Things (IoT) 8) Block Chain / Distributed Ledger Technology ให้สามารถรองรับการก้าวสู่อนามัยสู่องค์กรยุคดิจิทัล 4.0 ต่อไป