คุณกำลังมองหาอะไร?

ระชารัฐร่วมใจ พัฒนาสุขภาวะวัยรุ่นไทยอย่างยั่งยืน

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

22.09.2563
36
3
แชร์
22
กันยายน
2563
ประชารัฐร่วมใจ
 
 
พัฒนาสุขภาวะวัยรุ่นไทยอย่างยั่งยืน
วันพุธที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2559
เวลา 13.00-14.30 น.
 
วิทยากร
นางจำลักษณ์ ลาภเกิด
ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
 เทศบาลตำบลรูสะมิแล
 
นางแวคอตีเยาะ เปาะมะ
พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ รพ.สต.ตำบลรูสะมิแล
 
น.ส.ฟาตีมะห์ มะสาแมง
ครูแนะแนว โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 40
 
นางปาลิตา หิรัญพิจิตร
ประธาน อสม. ตำบลรูสะมิแล
 
ผู้ดำเนินการอภิปราย
นายแพทย์กิตติพงศ์ แซ่เจ็ง
ผู้อำนวยการสำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย 
 
     รูสะมิแล เป็นตำบลหนึ่งในอำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี ที่ได้รับการคัดเลือกเป็นตำบลนำร่องในการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่นจากคณะกรรมการอนามัยการเจริญพันธุ์ระดับอำเภอ เนื่องจากตำบลรูสะมิแลมีสถานศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาหลายแห่ง รวมทั้งเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี สื่อต่าง ๆ และสภาพสังคม ครอบครัวที่พ่อแม่ต้องไปทำงาน ทำให้ไม่มีเวลาดูแลบุตรหลานและไม่พูดคุยกับลูกหลานในเรื่องเพศ วัยรุ่นเอง เป็นวัยที่อยากรู้อยากลอง ทำให้วัยรุ่นไปมีพฤติกรรมทางเพศที่เร็ว และมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย ประชาชนในตำบลรูสะมิแล ร้อยละ 90 นับถือศาสนาอิสลาม การทำงานในพื้นที่ซึ่งมีความหลากหลายในเรื่องของศาสนา ประเพณี ความเชื่อต่าง ๆ ต้องมีความเข้าใจ การขับเคลื่อนในระดับตำบล ได้เริ่มจากการจัดตั้งคณะทำงานในระดับตำบล โดยมีภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในการแก้ไข้ปัญหาของวัยรุ่น โดยเฉพาะปัญหา การตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่นที่เพิ่มมากขึ้น อาทิ ผู้นำศาสนา ผู้นำ-ชุมชน ครู กศน. บ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดปัตตานี ห้างบิ๊กซี และเทศบาลตำบลรูสะมิแล อสม.ตำบลรูสะมิแล การที่จะให้ภาคี เข้ามาร่วมขับเคลื่อนการดำเนินงาน สิ่งที่สำคัญคือการนำเสนอข้อมูลสถานการณ์วัยรุ่นในพื้นที่เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจน
 
มีความร่วมคิดร่วมกันทำโดยไม่ใช่เป็นงานสาธารณสุขเพียง ฝ่ายเดียว โดยเฉพาะตำบลรูสะมิแลเป็นชุมชนที่นับถือศาสนาอิสลาม การทำงานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศ ถือเป็นเรื่อง ที่ละเอียดอ่อนจึงต้องอาศัย ผู้นำศาสนาเป็นที่ปรึกษา ที่มีความเข้าใจประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานและมีความสอดคล้อง กับหลักการของศาสนา เทศบาลตำบลรูสะมิแล เข้ามาร่วมดำเนินการโดยเน้นการที่มีเจ้าภาพ การกำหนดบทบาทการทำงานทำให้ทิศทางการดำเนินงานที่ชัดเจน การที่จะให้ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมข้อมูลสถานการณ์วัยรุ่นเป็นสิ่งที่สำคัญ โดยในพื้นที่การดำเนินงานที่ผู้บริหารในส่วนต่าง ๆ ให้ความสนใจจะเป็นเรื่องของประชาชน สถานศึกษา มีกิจกรรมการดำเนินงาน เช่น โรงเรียนมีการสอนเพศวิถีศึกษา มีห้องให้บริการคำปรึกษา จัดตั้งคลินิกเพื่อนใจวัยรุ่นที่เน้นให้ความรู้ ให้คำปรึกษา เพื่อให้เด็ก ได้เข้าถึง และมีการส่งต่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การสอนเพศศึกษาไม่ใช่การชี้โพรงให้กระรอกแต่เป็นการให้สิ่งที่ ถูกต้องมาก บทบาท อสม. คิดว่าวัยรุ่นคือลูกหลาน การได้ช่วยเหลือเด็กวัยรุ่นที่ก้าวพลาดได้คือความภาคภูมิใจที่จะช่วยลดปัญหาของวัยรุ่นลงได้ และในบทบาทของความเป็นแม่ สิ่งที่สำคัญสำหรับพ่อแม่ที่มีลูกหลานวัยรุ่น คือการให้ความจริงใจกับลูก สร้างความไว้วางใจ เป็นเพื่อน เป็นพ่อแม่ พูดคุยกับลูกทุกเรื่อง แล้วลูกจะคุยทุกเรื่องกับพ่อแม่
 
     การทำงานด้วยความเข้าใจ เข้าถึง ร่วมกันแก้ปัญหา และช่วยเหลือด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์ เพื่อให้โอกาสวัยรุ่นได้อยู่ในสังคมต่อไปอย่างมีความสุข เพราะวัยรุ่นในวันนี้ คือ ผู้ใหญ่ ที่มีคุณภาพในอนาคต
 
 

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน