Healthy Aging
Social, Strong (Health), Secure
วันที่ 3 สิงหาคม 2559 เวลา 14.30 – 16.30 น
Strong (Health) ผู้สูงอายุมีสุขภาวะที่ดี : วิสัยทัศน์โลกเกี่ยวกับผู้สูงอายุ ได้กำหนดว่า "โลกที่ผู้สูงอายุทุกคนมีสุขภาพดี (A world in which everyone experiences Healthy Ageing)” ซึ่งเป้าหมายได้ถูกวางไว้ใน ปี ๒๕๖๓ ทุกประเทศต้องส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพดี (Healthy Aging) โดยมีแผนหรือนโยบายในการเพิ่มขีดความสามารถให้ผู้สูงอายุพึ่งพาตนเองได้ และในช่วง ๑๐ ปี (๒๕๖๓ – ๒๕๗๓) ทุกประเทศหรือภาคส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้องจะร่วมกันประกาศให้การสนับสนุนการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพดี (Healthy Aging)
กระทรวงสาธารณสุข ได้ดำเนินโครงการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว Long-Term Care เพื่อดูแลผู้สูงอายุ 100,000 คน ในปีที่ 1 และยังคงดำเนินการต่อไป รวมถึงโครงการ Aged-Friendly City ซึ่งได้นำร่องที่จังหวัดนนทบุรี และเมืองพัทยา โดยอาศัยความร่วมมือจากการบูรการ 4 กระทรวง ประกอบด้วย กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงมหาดไทย
Social ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในสังคม : ระบบสังคมไทยในปัจจุบันพบว่าระบบครอบครัวที่ผู้สูงอายุอาศัยอยู่ในปัจจุบัน พบว่า
ร้อยละ 33.6 อยู่แบบพ่อ แม่ ลูก
ร้อยละ 26.6 อยู่กับลูกหลาน
ร้อยละ 16.2 ไม่มีลูกหลานอยู่ด้วย
ร้อยละ 13.9 อยู่คนเดียว
ร้อยละ 7.1 อยู่กับญาติพี่น้อง
ทั้งนี้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ส่งเสริมสนับสนุนการรวมกลุ่มเพื่อสร้างความเข้มแข็งของผู้สูงอายุโดยกลไกชมรมสูงอายุ สนับสนุนให้มีผู้ดูแลผู้สูงอายุ ส่งเสริมสนับสนุนการสื่อสารสาธารณะที่เอื้อต่อผู้สูงอายุ และเข้าถึงได้ง่าย รวมทั้งสร้าง/พัฒนาโรงเรียน วัด และยังสนับสนุนนโยบายต่างๆ เพื่อให้ผู้สูงอายุมีสุขภาวะที่ดี
Secure ความมั่นคงปลอดภัย : ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม ความมั่นคง ทางอาชีพ การมีงานทำ และรายได้ผู้สูงอายุ โดยแนวโน้มลักษะทางสังคมของผู้สูงอายุไทย คือ เพศชาย มีแนวโน้มลดลงตามช่วงอายุ โดยช่วงอายุ 50 มีจำนวนร้อยละ 47 ในอายุ 80 ปีขึ้นไป มีจำนวนร้อยละ 39 สถานภาพสมรส ในหญิง 50 ปีขึ้นไปมีแนวโน้มสมรสน้อยลง จากร้อยละ 76 ลดลงเหลือร้อยละ 18 ในช่วงอายุ 80 ปีขึ้นไป แสดงให้เห็นว่าในอนาคตผู้สูงอายุจะอาศัยอยู่คนเดียวมากขึ้น รายได้ของผู้สูงอายุ ในปี 2557 พบว่ารายได้ส่วนใหญ่ของผู้สูงอายุมาจากบุตร การตรวจสุขภาพของผู้สูงอายุ พบการเข้าถึงบริการของภาครัฐค่อนข้างสูงขึ้น คือร้อยละ 49 และเอกชน มีเพียงแค่ร้อยละ 5 การให้ความช่วยเหลือผู้สูงอายุพบว่า ส่วนใหญ่เป็นบุตรสาว ซึ่งมีจำนวนถึงร้อยละ 41.9