การจัดการสุขภาพด้วยค่ากลาง
จากนโยบาย สู่การปฏิบัติ
4 สิงหาคม 2559
นางปิยพร เสาร์สาร
ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่
ดร.ทรงยศ คำชัย
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่
นายศิวพงศ์ คล่องวานิช
รพ.สต.บ้านแม่ผาแหน อ.สันกำแพง
นายมานพ ตันสุภายนต์
ประธานชมรมผู้สูงอายุตำบลหนองตอง อ.หางดง
นพ.ณัฐพร วงษ์ศุทธิภากร
รองอธิบดีกรมอนามัย ผู้ดำเนินการอภิปราย
แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ปฏิบัติการ (SLM) พบปัญหาที่ควรแก้ไข คือ ปรับปรุงกล่อง (เป้าประสงค์) เกี่ยวกับท้องถิ่น ให้มีองค์ประกอบและบทบาทมากขึ้น เส้นทางที่เชื่อว่า จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงต่อกิจการสาธารณสุข ได้แก่ เส้นทางที่สร้างใหม่เพื่อยกระดับของโครงการ โดยการจัดการกับ งาน ที่เป็นองค์ประกอบ ของกิจกรรมในโครงการเหล่านั้น วิธีการนี้ ใช้ชื่อว่า "การจัดการค่ากลาง” ... เริ่มจากการกำหนดกรอบกิจกรรมสำคัญจาก SLM ที่คาดหวังว่าจะนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย โดยวิเคราะห์ ว่า แต่ละกิจกรรมสำคัญประกอบด้วยงานอะไรบ้าง งานเหล่านั้นมีความถี่มากน้อยอย่างไร งานที่มีความถี่สูงตามเกณฑ์ที่กำหนด ถือว่าเป็น ค่ากลาง ของโครงการนั้น
"ค่ากลาง คือ "งานที่ใครๆ ก็ทำ” ทำแล้วสำเร็จ เรียกว่า "ค่ากลางความสำเร็จ” เพราะเอามาจากคนที่ทำแล้วดี ประชาชนทำได้ ร่วมกันทำ แต่ละภาคส่วนมีบทบาท ทำให้กลุ่มเป้าหมายปรับพฤติกรรมได้ เป็นนวัตกรรม ก็นำมาทำต่อๆ กันไป ค่ากลางนี้สามารถยกระดับได้ด้วยการปรับเพิ่มหรือลดชนิดของงานให้เหมาะสม”
กระทรวงสาธารณสุขประกาศตัวชี้วัด "การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน” ให้ร้อยละของอำเภอที่มี DHS ที่เชื่อมโยงระบบบริการปฐมภูมิกับชุมชน และท้องถิ่นอย่างมีคุณภาพ ใช้ SRM หรือเครื่องมืออื่นๆ ในการทำแผนพัฒนาสุขภาพ (ไม่น้อยกว่า 50%) การจัดการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว จังหวัดสามารถใช้วิธีการจัดการค่ากลาง ในการบริหารจัดการโครงการ บูรณาการงานร่วมกันได้เป็นอย่างดี
ค่ากลางของความสำเร็จ ถ้าทำในระดับเขตจะขยายโอกาสการค้นพบนวัตกรรม ที่นำไปสู่ความสำเร็จสูงขึ้น ใช้อ้างอิงภายในเขต และประเมินผลเปรียบเทียบระดับการพัฒนาได้ เพราะบริบทไม่ต่างกันมาก
ศูนย์อนามัยที่ 1 ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่นำร่องทดลองในพื้นที่ต้นแบบ นำค่ากลางไปใช้ยกระดับพัฒนา บูรณาการทำโครงการให้มีประสิทธิภาพ ลดค่าใช้จ่าย ลดเวลา ได้มากกว่า 30%
ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สป.สัญจร เมื่อ 26 เมษายน 2559) จึงมอบให้กรมอนามัยเป็นผู้ประสานขับเคลื่อนให้จังหวัดจัดทำค่ากลาง นำค่ากลางไปใช้ในการจัดการสุขภาพ และบูรณาการ 5 กลุ่มวัยต่อไป