คุณกำลังมองหาอะไร?

T

Ted Talk R2R 2016 สร้างแรงบันดาลใจสู่มหาชน

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

22.09.2563
118
6
แชร์
22
กันยายน
2563

 

 

"Ted Talk R2R 2016"
สร้างแรงบันดาลใจสู่มหาชน
วันพฤหัสที่ 4 สิงหาคม 2559
ณ ห้อง Grand A ชั้น 4
 
 
 
ผู้นำแนวคิด : นายแพทย์ดนัย ธีวันดา รองอธิบดีกรมอนามัยเป็นผู้นำและริเริ่มการนำงานวิจัยเพื่อพัฒนางานประจำ โดยเริ่มต้นจากสายงานส่งเสริมสุขภาพ และต่อยอดมายังสำนัก กอง และศูนย์เขต นำเสนอในประเด็นเรื่องของงาน R2R และงานวิจัยในสายงานอาชีพ ส่งผลให้เกิดการพัฒนาวิชาการของกรมอนามัยและความก้าวหน้าในสายงาน จึงนำผู้มีประสบการณ์มาถ่ายทอดองค์ความรู้และงานวิจัย จึงมีการจัด "Ted Talk R2R 2016” สร้างแรงบันดาลใจสู่มหาชน ในวันนี้
ผู้ดำเนินรายการ : ดร.นิภาพร ลครวงศ์
วิทยากร : ดร.นพ.สุธีร์ รัตนมงคลกุล พันโท
                    ดร. นพ. ทนงสรรค์ เทียนถาวร

ผู้วิจัย : คุณจันทิยา เนติวิภัชธรรม พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่นและคณะ ในเรื่อง "รูปแบบการพยาบาลโดยยึดครอบครัวเป็นศูนย์กลางการสนับสนุนของครอบครัวและการปรับตัวของมารดาผ่าตัดคลอดบุตร” โดยคำนึงถึงหญิงตั้งครรภ์ที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลจากคนในครอบครัว เช่น สามี หรือในกรณีที่ไม่มีสามี ก็คือแม่ของหญิงตั้งครรภ์ ในการดูแลทางด้านร่างกาย อารมณ์ และบทบาทการเป็นแม่ ในการวิจัยชิ้นนี้ พบว่า แม่สามารถดูแลลูกและมีความกระตือรือร้นในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวเพิ่มขึ้น และคนในครอบครัวมีส่วนร่วมในการดูแลครอบครัว
ผู้วิจัย : คุณโสพิศ โลหะวณิชย์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ ศูนย์อนามัยที่ 3 นครสวรรค์ และคณะ ในเรื่อง "การใช้ถุงตวงเลือดสำหรับผู้คลอดทางช่องคลอด Early Treatment ที่ 300 ml. เพื่อช่วยลดอาการตกเลือดหลังคลอดชนิด Primary Postpartum Hemorrhage” พบว่า การเฝ้าระวัง Early Treatment ที่ 300 ml. สามารถป้องกันการตกเลือด ได้มากกว่า Early Treatment ที่ 350 ml. ดังนั้นทีมงานจึงมีความสำคัญในการบันทึกข้อมูล เพื่อทำสถิติและกำหนด 
 
 
เป็นนวัตกรรมที่ช่วยให้ผู้คลอดมีความปลอดภัยจากภาวะตกเลือดหลังคลอดและไม่เกิดความรุนแรงถึงชีวิต อีกทั้งสามารถขยายผลการวิจัยนี้ให้กับโรงพยาบาลในเครือข่าย
 
ผู้วิจัย : พญ. ฐิติกรณ์ ตวงรัตนานนท์ ศูนย์อนามัยที่ 10 อุบลราชธานี ในเรื่อง "การพัฒนารูปแบบโปรแกรมใบสั่งสุขภาพดีเพื่อลดภาวะน้ำหนักตัวเกินและโรคอ้วน” เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาที่ใช้ระยะเวลาในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จึงอยู่ระหว่างการติดตามกลุ่ม Pilot Study และอยู่ระหว่างการพิจารณาจริยธรรมงานวิจัย โดยมีเป้าหมายในการวิจัย คือ เพื่อให้เกิดชุมชนสุขภาพดี คนไทยไม่อ้วน ไม่เป็นโรค NCD และเกิดการดูแลสุขภาพตนเองของผู้รับบริการ
 
ผู้วิจัย : คุณนงพะงา ศิวานุวัฒน์ กองออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ และคณะ ในเรื่อง "การพัฒนาคลินิก ไร้พุง คุณภาพ มีเป้าหมายให้บริการประชาชนและชุมชนสามารถดูแลสุขภาพตนเอง เฝ้าระวังโรค และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพอย่างยั่งยืน ในผู้รับบริการทุกกลุ่มวัยเพื่อเป็นการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCD) และโรคอ้วน
 
Reflection...เกิดแรงบันดาลใจในการทำวิจัยในรูปแบบ R2R สร้างสรรค์การเปลี่ยนแปลงและพัฒนางานของกรมอนามัย

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน