คุณกำลังมองหาอะไร?

ธ. เผยคนไทย 38 ล้านคนอยู่ในพื้นที่ฝุ่น PM2.5 เกินค่ามาตรฐาน พบเป็นกลุ่มเปราะบาง 15 ล้านคน

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

09.01.2568
101
0
แชร์
09
มกราคม
2568

        วันนี้ (9 มกราคม 2568) นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวในการประชุมทางไกลติดตามสถานการณ์และเตรียมความพร้อมด้านการแพทย์และสาธารณสุขกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด(สสส.)ทั่วประเทศ กรณีหมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็ก ปี 2568 ว่า ข้อมูลกรมควบคุมโรค ในปีงบประมาณ 2567 ตั้งแต่ 1 ต.ค. 2566 – 31 ธ.ค. 2567  สถานการณ์จำนวนผู้ป่วยโรคที่มีความเกี่ยวข้องกับการรับสัมผัสและค่าเฉลี่ยฝุ่น PM2.5 ทั่วประเทศ  ใน 6 โรค 1,048,015 ราย แยกเป็น ปอดอุดกั้นเรื้อรัง 226,423 ราย โรคตาอักเสบ 357,104 ราย โรคผิวหนังอักเสบ  442,073 ราย โรคหืด 18,336 ราย  หัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน 4,051 ราย  และการสัมผัสกับมลพิษทางอากาศ 28 ราย

        ทั้งนี้ ได้มีข้อสั่งการให้ดำเนินการตามมาตรการด้านการแพทย์และสาธารณสุข 4 มาตรการ ตามระดับความรุนแรงของค่าฝุ่น PM 2.5 เฉลี่ยในรอบ 24 ชั่วโมง ได้แก่ 1. สร้างความรอบรู้ให้ประชาชน โดยติดตามสถานการณ์และประชาสัมพันธ์เชิงรุก เน้นการสื่อสารและแจ้งเตือนผ่านระบบดิจิทัล เช่น Platform หมอพร้อม, SMART อสม. ครอบคลุมทั้งประชาชนในพื้นที่และนักท่องเที่ยว 2. การลดและป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง โดยเฝ้าระวังและติดตามผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนจาก PM 2.5 จัดทำห้องปลอดฝุ่นในสถานบริการและพื้นที่เสี่ยง และสนับสนุน มุ้งสู้ฝุ่น"รวมถึงพิจารณา Work From Home สำหรับกลุ่มเปราะบางเมื่อค่าฝุ่นเกินมาตรฐาน 3. จัดบริการด้านการแพทย์และสาธารณสุข โดยขยายเครือข่ายบริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขในการดูแลสุขภาพให้ครอบคลุม ทั้งคลินิกมลพิษทางอากาศ คลินิกเวชกรรมสิ่งแวดล้อม ให้คำปรึกษาคลินิกมลพิษออนไลน์ จัดระบบนัดหมายคลินิกมลพิษระบบผ่านหมอพร้อม และจัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่/ทีมปฏิบัติการดูแลสุขภาพกลุ่มเปราะบาง เช่น ชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สถานดูแลผู้สูงอายุ โรงเรียนประจำ เป็นต้น และ 4. เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ หากสถานการณ์รุนแรง ให้เปิดศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินในทุกระดับ และส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ใช้ พรบ.การสาธารณสุข ควบคุมฝุ่นละออง

        ขณะเดียวกันด้านกรมอนามัย เผยว่า ค่าเสียโอกาสด้านสุขภาพ เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าหน้ากากอนามัย เครื่องฟอกอากาศ ฯลฯ
2,000 – 3,000 ล้านบาท กว่า 75% เป็นค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาล การใช้มุ้งสู้ฝุ่นในกลุ่มติดเตียง จะสามารถลดการเข้ารักษาใน รพ. ได้มากกว่า 1,800 ล้านบาท ค่ารักษาพยาบาลของโรคที่เกี่ยวข้องกับมลพิษทางอากาศ อาทิ หอบหืด 2,752 บาท ต่อครั้ง โรคหลอดเลือดหัวใจและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง 16,000 บาท มะเร็งปอด 141,100 - 197,600 บาท

 

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน

ติดตามข่าวสารได้ที่

betflix