คุณกำลังมองหาอะไร?

รมอนามัย ชูนโยบาย สธ. เดินหน้า ‘Healthy City Model’ สร้างเมืองสุขภาพดี คนไทยสุขภาพดี

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

10.11.2566
1789
0
แชร์
10
พฤศจิกายน
2566

          วันนี้ (10 พฤศจิกายน 2566) นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยนายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่ากระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข และคณะผู้บริหารตรวจเยี่ยมการดำเนินภารกิจกรมอนามัย พร้อมมอบนโยบายให้กับผู้บริหารและบุคลากร โดยมี แพทย์หญิงอัจฉรา นิธิอภิญญาสกุล รักษาราชการแทนอธิบดีกรมอนามัย และคณะผู้บริหารให้การต้อนรับ ณ กรมอนามัย

         นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ตามที่กระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศ 11 นโยบาย เพื่อให้ประชาชนชาวไทยมีสุขภาพดี คุณภาพชีวิตที่ดี คือ 1) โครงการพระราชดำริฯ โครงการเฉลิมพระเกียรติฯ ในพระบรมวงศานุวงศ์ ได้แก่ โครงการราชทันฑ์ปันสุข โครงการฟันเทียม รากฟันเทียมเฉลิมพระเกียรติฯ 2) การแพทย์ปฐมภูมิ โดยการวิเคราะห์ ชี้เป้า คืนข้อมูลและสถานการณ์ปัญหาสุขภาพกลุ่มวัยแก่เขตสุขภาพ 3) สถานชีวาภิบาล บูรณาการ Long Term Care เพื่อรองรับผู้สูงอายุ 4) เศรษฐกิจสุขภาพ Wellness Community กินดีอยู่ดี เพิ่มมูลค่าชุมชน 5) นักท่องเที่ยวปลอดภัย สุขาภิบาลอาหารและน้ำ อนามัยสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ท่องเที่ยว มีความสะอาด ปลอดภัย และ 6) การส่งเสริมการมีบุตร ซึ่งเป็น “วาระแห่งชาติ” เพื่อให้รัฐบาลเป็นผู้ลงทุนหลักในการพัฒนาทรัพยากรของประเทศ ซึ่งกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขเป็นหน่วยงานที่มีภารกิจส่งเสริมสุขภาพประชาชนให้มีสุขภาพที่ดี อยู่ในอนามัยสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม และมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ มีความพร้อมเดินหน้าตามนโยบายของกระทรววงสาธารณสุขอย่างเต็มที่

         ทางด้าน แพทย์หญิงอัจฉรา นิธิอภิญญาสกุล รักษาราชการแทนอธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า กรมอนามัยกำหนดนโยบายเพื่อดูแลสุขภาพประชาชน 4 ด้าน ดังนี้ 1) Partnership ส่งเสริมภาคีเครือข่ายเข้มแข็ง โดยยกระดับการทำงานร่วมกับเขตสุขภาพภายใต้เป้าหมายเดียวกันให้บรรลุเป้าหมายด้วยกัน 2) PP Excellence ยกระดับบริการสุขภาพ เช่น ลดอัตราการเสียชีวิตของแม่ ส่งเสริมให้เด็กไทยมีพัฒนาการสมวัย งานอนามัยโรงเรียน สร้างวัยรุ่นทักษะชีวิตดี ส่งเสริมการเกิด วัยทำงานมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ สร้างชุมชนที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ HPC Transformation และยกระดับบริการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม 3) HEALTH LITERCY สร้างสังคมรอบรู้สู่สุขภาพดีทุกช่วงวัย สร้างสังคมไทยรอบรู้และสื่อสารสุขภาพ พัฒนาเครือข่าย องค์กร ชุมชนรอบรู้ด้าน รวมถึงส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพด้วย Digital Literacy และ 4) ENVIRONMENTAL HEALTH อนามัยสิ่งแวดล้อมได้มาตรฐาน ปลอดภัย เอื้อต่อการมีสุขภาพ สร้าง Wellness Community กินดีอยู่ดีเพิ่มมูลค่าชุมชน Safety Tourism ยกระดับความปลอดภัย สถานประกอบการ สุขาภิบาลอาหารและน้ำ เพื่อการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม

         “ทั้งนี้ แนวทางการดำเนินงานในปี 2567 แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มวัย คือ 1) แรกเกิด ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย เด็กมีพัฒนาการที่สมวัย 2) วัยเรียน 6-14 ปี เก่ง ดี มีทักษะ แข็งแรง สูงดี สมส่วน 3) วัยทำงาน สุขภาพดี ค่า BMI ปกติ ลดอัตราการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง สามารถช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และ 4) วัยสูงอายุ ดูแลตนเอง ลดภาวะพึ่งพิง Active Aging ส่วนกลุ่มที่มีภาวะพึ่งพิง เปราะบาง ด้วยโอกาส เช่น ผู้สูงอายุ ผู้พิการ จะมี Care Giver ในพื้นที่ดูแล สำหรับด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมได้สร้างระบบนิเวศเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี รวมทั้งดำเนินการเมืองที่เป็นมิตรต่อสุขภาพ ลดผล กระทบทางสิ่งแวดล้อม (Green & Health) โดยมีการจัดการน้ำอุปโภค บริโภคที่ปลอดภัย มีการจัดการขยะที่ดี มีพื้นที่สาธารณะหรือพื้นที่สีเขียวที่เอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพ เช่น ออกกำลังกาย พักผ่อน และมีชุมชนไม่สร้างมลพิษทางอากาศ เสียง และฝุ่น โดยมี Green Health Attraction จำนวน 40 จังหวัด/แห่ง Green Health Hotel จำนวน 2,000 โรงแรม ส้วมสาธารณะผ่านเกณฑ์มาตรฐาน HAS จำนวน 15,000 แห่ง ใน 77 จังหวัด GREEN & CLEAN Hospital Challenge จำนวน 600 แห่ง การจัดการสิ่งปฏิกูลคุณภาพ จำนวน 120 แห่ง มูลฝอยติดเชื้อได้รับการกำจัด” รักษาราชการแทนอธิบดีกรมอนามัย กล่าว

       แพทย์หญิงอัจฉรา กล่าวในตอนท้ายว่า สำหรับผลการดำเนินงาน Health City ผ่านการประเมิน จำนวน 250 เมือง Food & Water Sanitation CFGT จำนวน 120,000 ร้าน เส้นทางอาหารปลอดภัย 13 เขตสุขภาพ โดยมี
สถานประกอบการผ่านเกณฑ์ เช่น ตลาด ร้านอาหาร อาหารริมบาทวิถี โรงแรมมีเมนูชูสุขภาพ และครัวเรือนอาหารปลอดภัย นอกจากนี้ยังมีระบบประปาหมู่บ้านขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) มีผ่านเกณฑ์คุณภาพ และน้ำประปาดื่มได้ จำนวน 360 แห่ง และลดผลกระทบทางสุขภาพจากมลพิษสิ่งแวดล้อม ได้แก่ PM2.5 สาธารณภัย และ Climate Change

***

กรมอนามัย / 10 พฤศจิกายน 2566

 

 

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน