กรมอนามัยจับมือเพชรบุรีผลักดันหมู่บ้านไอโอดีน ชู 8 นวัตกรรม 8 อำเภอ ขจัดโรคขาดสารไอโอดีน
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับจังหวัดเพชรบุรี จัดกิจกรรมเพชรบุรีร่วมใจขจัดภัย โรคขาดสารไอโอดีน กระตุ้นหมู่บ้านสร้างนวัตกรรมป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน ล่าสุด 8 อำเภอพร้อมโชว์นวัตกรรมแก้ปัญหา หวังให้ทุกพื้นที่ของจังหวัดปลอดโรคขาดสารไอโอดีนอย่างยั่งยืน
วันนี้ (25 พฤษภาคม 2554) นายแพทย์สมศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์ รองอธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยถึงการป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนในการจัดกิจกรรม "เพชรบุรีร่วมใจขจัดภัย โรคขาดสารไอโอดีน? ณ จังหวัดเพชรบุรี ว่า จากการสำรวจไอโอดีนในปัสสาวะของหญิงตั้งครรภ์ปี 2552 พบว่าร้อยละ 59 มีปัญหาการขาดสารไอโอดีน และจากการสำรวจระดับไอคิวของเด็กไทยปี 2552โดยสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในกลุ่มตัวอย่าง 6,000 คน จาก 21 จังหวัด พบไอคิวเฉลี่ย 91 จุด ซึ่งค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับไอคิวเฉลี่ยปกติ 90?110 จุด ขณะเดียวกันผลการสำรวจพัฒนาการสมวัยในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ของกรมอนามัย พบมีพัฒนาการลดลงจากร้อยละ 72 ในปี 2547 เหลือร้อยละ 67 ในปี 2550 นอกจากนี้การเข้าถึงเกลือเสริมไอโอดีนคุณภาพของครัวเรือนไทยยังต่ำกว่าเป้าหมาย โดยองค์การอนามัยโลกกำหนดความครอบคลุมของครัวเรือนที่มีการใช้เกลือเสริมไอโอดีนคุณภาพร้อยละ 90ขึ้นไป ซึ่งจากการสำรวจของกรมอนามัยปี 2552ระบุว่าครัวเรือนไทยมีการใช้เกลือเสริมไอโอดีนคุณภาพเพียงร้อยละ 77.4
นายแพทย์สมศักดิ์ กล่าวต่อไปว่า ในปี 2553 ที่ผ่านมา กรมอนามัยจึงได้มีการสื่อสารสู่สังคมอย่างต่อเนื่อง โดยจัดมหกรรมรวมพลังประเทศไทย เพิ่มไอโอดีน เพิ่มไอคิว และแต่งตั้ง อสม. จำนวน 1ล้านคน เป็นทูตไอโอดีนดำเนินงานร่วมกับประชาชนดูแลพื้นที่ของตนเองให้มีการผลิต จำหน่าย และใช้เกลือเสริมไอโอดีนและเครื่องปรุงรสเสริมไอโอดีนคุณภาพทุกครั้ง ที่ปรุงและประกอบอาหาร เลือกบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารที่เสริมไอโอดีน พร้อมทั้งร่วมกับภาคีเครือข่ายดำเนินงานโครงการควบคุมป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน ตั้งเป้าครอบคลุม 76,000 หมู่บ้าน ในพื้นที่ 75 จังหวัดทั่วประเทศ ภายในปี 2554 ซึ่งขณะนี้มีหมู่บ้านที่ผ่านการประเมินเป็นหมู่บ้านไอโอดีนแล้วประมาณ 13,841 แห่ง ใน 34 จังหวัด
"ทั้งนี้ จังหวัดเพชรบุรีเป็นอีกหนึ่งพื้นที่ที่มีการดำเนินงานแก้ไขปัญหาโรคขาดสารไอโอดีนอย่างจริงจัง โดยล่าสุดได้ จัดกิจกรรมเพชรบุรีร่วมใจขจัดภัย โรคขาดสารไอโอดีน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่จะผลักดันให้เกิดหมู่บ้านไอโอดีนในพื้นที่ โดยขณะนี้หลาย ๆ อำเภอของจังหวัดได้มีการดำเนินงานและสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่จะช่วยให้ชาวบ้านในพื้นที่ห่างไกลจากโรคขาดสารไอโอดีน อาทิ 8 นวัตกรรมเด่นของ 8 อำเภอ ได้แก่ พระธรรมเทศนามหาชาติเสริมไอโอดีน อำเภอบ้านลาด , เมี่ยงปลานิลเสริมไอโอดีน อำเภอหนองหญ้าปล้อง , ขนมไทยแม่สมานเสริมไอโอดีน อำเภอเขาย้อย , ข้าวผัดไข่เสริมไอโอดีน และผัดหมี่โบราณเสริมไอโอดีน อำเภอท่ายาง ,ชมรมผู้ประกอบการเกลือเสริมไอโอดีน อำเภอบ้านแหลม ,เบเกอรี่ร้านเค้ก จิราพรเสริมไอโอดีน อำเภอเมือง , หมูมะนาวเสริมไอโอดีน อำเภอชะอำ และน้ำพริกแกงส้ม-แกงเผ็ดเสริมไอโอดีน อำเภอ แก่งกระจาน นอกจากนี้จังหวัดเพชรบุรียังมีชมรมผู้ประกอบการเกลือเสริมไอโอดีนที่เข้มแข็ง ที่มีส่วนช่วยพัฒนาศักยภาพในการผลิตเกลือเสริมไอโอดีนให้ได้มาตรฐานตั้งแต่ขั้นตอนการผลิต การเตรียมและผสมสารละลายโปแตสเซียม ไอโอเดท ลงในเกลือป่น รวมถึงการควบคุมคุณภาพ และมีมาตรการประกันคุณภาพของเกลือบริโภคเสริมไอโอดีนให้สอดคล้องกับความเข้มงวดของกฎหมายฉบับปัจจุบันด้วย?รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าว
ทางด้าน นายแพทย์วัฒนา โรจนวิจิตรกุล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี กล่าวว่า ตั้งแต่เดือนกันยายน 2553 ถึงเดือนมกราคม 2554 พบว่า เด็กแรกเกิดที่มีอายุ 2 วันขึ้นไป มีระดับฮอร์โมนกระตุ้นต่อมไทรอยด์มากกว่า 11.2 มิลลิยูนิต ต่อลิตร ร้อยละ 6.95 โดยเกณฑ์มาตรฐานขององค์การอนามัยโลก (WHO)กำหนดให้เด็กแรกเกิดที่มีอายุ 2วันขึ้นไป มีระดับฮอร์โมนกระตุ้นต่อมไทรอยด์มากกว่า 11.2 มิลลิยูนิตต่อลิตร น้อยกว่าร้อยละ 3 จึงจะถือว่าเป็นพื้นที่ไม่ขาดสารไอโอดีน นั่นหมายถึงว่าเด็กจังหวัดเพชรบุรีมีภาวะขาดสารไอโอดีน ทางจังหวัดจึงได้จัดทำโครงการควบคุมและป้องกันโรคขาด สารไอโอดีนตามกลุ่มวัยขึ้น โดยในระยะแรกเป็นการอบรมให้ความรู้และการขับเคลื่อนไอโอดีนสู่ชุมชนแก่หัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง นายกเทศมนตรี นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ผู้อำนวยการโรงพยาบาล สาธารณสุขอำเภอ และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ระยะที่ 2ขยายความรู้ต่อยอดเพื่อสร้างภาคีเครือข่ายไปยังครูพี่เลี้ยงในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ครูอนามัยโรงเรียน ผู้ประกอบการอาหาร และอสม. ที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นทูตไอโอดีน เพื่อจะได้กระจายความรู้สู่ประชาชนอย่างถ้วนหน้า และระยะที่ 3มีกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีการประกวดชุมชน/หมู่บ้านไอโอดีน โรงเรียนไอโอดีน และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กไอโอดีนยอดเยี่ยมแห่งปี โดยหวังว่าจะช่วยขจัดปัญหาโรคขาดสารไอโอดีนให้หมดไปจากจังหวัดเพชรบุรี อีกทั้งยังเป็นการสร้างการมีส่วนร่วมในทุกภาคส่วน เพื่อช่วยกันขับเคลื่อนให้จังหวัดเพชรบุรีเป็นจังหวัดไอโอดีนอย่างยั่งยืนต่อไป
***
กลุ่มสื่อสารองค์กร / 25 พฤษภาคม 2554