คุณกำลังมองหาอะไร?

ข่า

ข่าวแจก "สธ. เตือน เสียงดังจากประทัดช่วงตรุษจีน หวั่นกระทบการได้ยิน"

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

06.02.2558
0
0
แชร์
06
กุมภาพันธ์
2558

ข่าวแจก "สธ. เตือน เสียงดังจากประทัดช่วงตรุษจีน หวั่นกระทบการได้ยิน"

 
 

        กระทรวงสาธารณสุข เตือนประชาชนระวังเสียงประทัดในช่วงตรุษจีนที่มีการจุดเป็นจำนวนมาก หวั่นอันตรายต่อโครงสร้างสำคัญของหูชั้นใน ทำให้กระทบการได้ยิน พร้อมแนะใช้อุปกรณ์ป้องกันและหลีกเลี่ยงสถานที่เสียงดัง

        นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า ในช่วงเทศกาลตรุษจีนจะมีประชาชนจุดประทัดเป็นจำนวนมาก ก่อให้เกิดเสียงดัง มีระดับเสียงกระแทกสูงกว่า 130 เดซิเบล เอ ซึ่งสูงกว่ามาตรฐานที่องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้คือ เสียงที่เป็นอันตรายคือ เสียงที่ดังเกิน 85 เดซิเบล เอ จะทำให้เกิดอาการหูตึงชั่วคราว หูอื้อและปวดในหูโดยทันทีที่ได้ยินเสียงดังมาก และหากเวลาผ่านไป 1 ชั่วโมง ยังไม่หาย ควรรีบไปพบแพทย์ หรือหูอาจมีเสียงดังวิ้งหรือวี้ และได้ยินไม่ชัด ถ้าไม่หายภาย ใน 2-3 ชั่วโมง หรือมีอาการเวียนศีรษะ บ้านหมุน มึนงง แสดงว่าอาจกระเทือนไปถึงหูชั้นใน อาจมีเยื่อของหูชั้นในฉีกขาด ต้องรักษาโดยด่วน และถ้าได้รับเสียงดังในช่วงเวลายาวนานจะทำให้หูตึง ถาวรได้ นอกจากนี้ เสียงดังของประทัดยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ป่วยโรคหัวใจ ความดันโลหิต หรือส่งผลต่อสุขภาพจิต ทำให้หงุดหงิด และนอนไม่หลับอีกด้วย
        ทางด้าน ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า จากการวิจัยผู้สูงอายุในไทย พบความรุนแรง ของการสูญเสียการได้ยินในเพศชาย ร้อยละ 8.0 ผู้สูงอายุหญิงไทย ร้อยละ 6.9 ซึ่งมีสาเหตุมาจากความเสื่อมของอวัยวะทุกส่วนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการได้ยินเนื่องจากอายุที่มากขึ้น การได้รับเสียงดังเกินไปหรือสัมผัสเสียงดังซ้ำๆ เป็นเวลานาน และกิจกรรมสันทนาการที่เสี่ยงต่อการสูญเสียการได้ยิน เช่น การยิงเป้า การฟังเพลงในระดับเสียงดังผ่านหูฟัง เป็นต้น
         "ทั้งนี้ เสียงที่คนเราได้ยินจากสิ่งแวดล้อมโดยทั่วไป เช่น เสียงจากโทรทัศน์ วิทยุ อุปกรณ์ต่างๆ ในบ้าน และการจราจรบนท้องถนน เป็นระดับเสียงที่ปลอดภัยต่อการได้ยิน และไม่ทำให้สูญเสียการได้ยิน แต่เสียงที่ดังมากสามารถทำอันตรายได้ ถึงแม้จะเป็นช่วงสั้นๆ ก็ตาม หรือถ้าเสียงดังเป็นเวลานานก็จะสร้างความเสียหายต่อโครงสร้างที่สำคัญของหูชั้นใน และก่อให้เกิดการสูญเสียการได้ยิน ประชาชนจึงควรป้องกันโดยการหลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีเสียงดัง หากเลี่ยงไม่ได้ควรออกจากสถานที่นั้นให้เร็วที่สุด หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียงดังทุกครั้งที่ต้องอยู่ในสถานที่เสียงดัง เช่น earplugs หรือ earmuffs ซึ่งมีจำหน่ายในร้านอุปกรณ์กีฬา และไม่ฟังเพลงหรือเปิดเสียงโทรทัศน์ดังเกินไป? อธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด
***
สำนักสื่อสารและตอบโต้ความเสี่ยง / 6 กุมภาพันธ์ 2558

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน

ติดตามข่าวสารได้ที่

แทงบอลออนไลน์ || ดูบอลสด UFABET