คุณกำลังมองหาอะไร?

รมอนามัย รับมอบเงิน 1 ล้านบาท จากคณะปั่นจักรยานใจบุญ The Tour of Hope สมทบ องค์การ JHPIEGO รณรงค์ให้หญิงไทยห่างไกลมะเร็งปากมดลูก

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

24.11.2551
25
0
แชร์
24
พฤศจิกายน
2551

กรมอนามัย รับมอบเงิน 1 ล้านบาท จากคณะปั่นจักรยานใจบุญ The Tour of Hope สมทบ องค์การ JHPIEGO รณรงค์ให้หญิงไทยห่างไกลมะเร็งปากมดลูก

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เป็นเจ้าภาพต้อนรับคณะปั่นจักรยานการกุศล ?The Tour of Hope?    ครั้งที่ 3 ประจำปี 2008 ซึ่งเป็นโครงการที่ก่อตั้งขึ้นโดยการรวมตัวของพนักงานบริษัท แกล็กโซสมิทไคลน์ หรือ     จีเอสเค และผู้สนใจที่มีจิตกุศล ร่วมปั่นจักรยานเพื่อการกุศลเป็นประจำทุกปี เดินทางข้ามจังหวัดและข้ามประเทศในบางปี โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ข้อมูลความรู้กับผู้หญิงทั่วโลกโดยเฉพาะผู้หญิงในเอเชีย เกิดความตื่นตัวและมีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการป้องกันมะเร็งปากมดลูก เพชฌฆาตอันดับ 1 ในกลุ่มสตรีไทยและสตรีชาวเอเชีย 

แพทย์หญิงนันทา  อ่วมกุล  ผู้อำนวยการสำนักที่ปรึกษา กรมอนามัย เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในพิธิปิดโครงการจักรยานการกุศล ?The Tour of Hope 2008?  ณ กรมอนามัย ว่า  โครงการปั่นจักรยานการกุศล ?The Tour of Hope? เป็นการปั่นจักรยานจากเชียงราย และสิ้นสุดที่กรุงเทพฯ  ตั้งแต่วันที่   8 ? 21 พฤศจิกายน 2551 รวม 13 คืน 14 วัน เป็นระยะทางทั้งสิ้นประมาณ 1,250 กิโลเมตร โดยมีผู้ปั่นจักรยานจำนวน 15 คน จากหลากหลายประเทศ อาทิ เยอรมัน สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ ประเทศไทย ฯลฯ  ซึ่งมีวัตถุประสงค์   เพื่อจัดหาทุนสนับสนุนโครงการรณรงค์ให้สตรีไทยตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกันมะเร็งปากมดลูกขององค์กร JHPIEGO (Johns Hopkins University Nonprofit Affiliate) และในครั้งนี้ ศาสตราจารย์แพทย์หญิง   คุณหญิงกอบจิตต์ ลิมปพยอม ตัวแทนองค์กร JHPIEGO ประเทศไทย เป็นผู้รับมอบเงินจำนวน 1 ล้านบาท          เพื่อสมทบทุนโครงการเผยแพร่ความรู้เรื่องมะเร็งปากมดลูก รวมถึงให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการดูแลป้องกัน และรักษามะเร็งปากมดลูก พร้อมทั้งสนับสนุนการให้ความรู้แก่บุคลากรทางการแพทย์ในด้านการป้องกันและรักษาโรคมะเร็งปากมดลูก       

แพทย์หญิงนันทา กล่าวต่อไปว่า  มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดในสตรีไทย มีสาเหตุจากการ ติดเชื้อไวรัสเอชพีวี สามารถติดต่อได้จากการมีเพศสัมพันธ์ อย่างไรก็ตามมะเร็งปากมดลูกเป็นโรคที่ป้องกันได้   โดยในปัจจุบันมีวิธีการป้องกันหลากหลายวิธี อาทิ การตรวจคัดกรองด้วยวิธี VIA (Visual Inspection with Acetic acid) การตรวจแพปเสมียร์ (pap smear) หรือการรับวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก เป็นต้น ประกอบกับขณะนี้พบว่าผู้หญิงไทยมีอัตราการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกค่อนข้างต่ำ กรมอนามัยในฐานะหน่วยงานที่ดำเนินการด้านอนามัยการเจริญพันธุ์จึงได้ร่วมมือกับองค์การ JHPIEGO ได้นำเทคนิคการตรวจคัดกรองด้วยวิธี VIA มาใช้ และรักษาด้วยวิธีจี้เย็นเป็นการตรวจคัดกรองที่สามารถรับทราบผลได้ทันที ซึ่งในปัจจุบันมีการขยายการดำเนินงานไปยังจังหวัดร้อยเอ็ด หนองคาย อำนาจเจริญ ยโสธร สุราษฎร์ธานี อุตรดิตถ์ เชียงใหม่ นครศรีธรรมราช ลพบุรี สระแก้ว มุกดาหาร เพชรบูรณ์ กระบี่ ตาก น่าน และศูนย์เขตของกรมอนามัย

?ทั้งนี้ ในปี 2551 กรมอนามัยได้เตรียมการศึกษาเพื่อขยายผลการดำเนินงานการตรวจคัดกรองมะเร็ง     ปากมดลูกในรูปแบบผสมผสานให้ครอบคลุมทั่วประเทศ  และจะเริ่มนำร่องใน 2 จังหวัด ที่ดำเนินงานโครงการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกครบวงจร ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ และนครศรีธรรมราช โดยทางเลือกหนึ่งสำหรับการคัดกรองในประเทศไทยคือ การคัดกรองด้วยวิธี VIA สำหรับสตรีอายุ 30-45 ปี ร่วมกับการคัดกรองด้วยวีธี          Pap smear สำหรับสตรีอายุ 46-60 ปี ซึ่งจะใช้งบประมาณน้อยกว่าการคัดกรองด้วยวิธี Pap smear เพียงอย่างเดียวและยังช่วยยืดอายุเฉลี่ยของสตรีไทยอีกด้วย ? ผู้อำนวยการสำนักทึ่ปรึกษา  กล่าวในที่สุด

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรมอนามัย/ 21 พฤศจิกายน 2551

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน

ติดตามข่าวสารได้ที่

betflix

betflix129