คุณกำลังมองหาอะไร?

รมอนามัย UNICEF WHO จับมือประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็กและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง พ.ศ. 2551 ปกป้องนมแม่

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

21.11.2551
13
0
แชร์
21
พฤศจิกายน
2551

กรมอนามัย UNICEF WHO จับมือประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็กและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง พ.ศ. 2551 ปกป้องนมแม่

                กรมอนามัย  กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับองค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติประเทศไทย (UNICEF)  และองค์การอนามัยแห่งประเทศไทย (WHO) เผยประกาศกระทรวงสาธารณสุขหลักเกณฑ์ว่าด้วยการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็กและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง พ.ศ.2551 ปกป้องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

                วันนี้ (21 พฤศจิกายน 2551) นายแพทย์โสภณ  เมฆธน  รองอธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยภายหลังเป็นประธานแถลงข่าวประกาศกระทรวงสาธารณสุขหลักเกณฑ์ว่าด้วยการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็กและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง พ.ศ.2551 ร่วมกับ Mr.Tomoo  Hozumi  ผู้แทนองค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF Thailand)  และ ดร.อดิศักดิ์  สัตย์ธรรม  ผู้แทนองค์การอนามัยโลกแห่งประเทศไทย (WHO Thailand)  ณ ห้องประชุมแวนดา ชั้น 3 ตึกคอนเวนชั่น โรงแรมรามาการ์เด้นส์ ว่า นับจากการประชุมสมัชชนาสาธารณสุขโลกในปี 1981  ที่ประชุมได้มีการลงนามรับรองหลักเกณฑ์สากลว่าด้วยการตลาดอาหารทดแทนนมแม่ (International Code of Breastmilk Substitutes)  ผูกพันให้ประเทศสมาชิก จำนวน 118 ประเทศ นำไปปรับใช้เป็นเกณฑ์ขั้นต่ำในการปกป้องทารกให้ได้กินนมแม่ ประเทศไทยโดยกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้เริ่มนำมาปรับใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 และมีการปรับปรุงเป็นระยะในปี พ.ศ. 2527 และ พ.ศ. 2538 ตามลำดับ ตามสถานการณ์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของประเทศไทย ซึ่งจะส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาชาติ

นายแพทย์โสภณ  กล่าวต่อไปว่า  องค์การอนามัยโลกและประเทศสมาชิกจึงได้ประกาศใช้หลักเกณฑ์ว่าด้วยการตลาดอาหารสำหรับทารกและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง (Code นม) เพื่อปกป้องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่  โดยแนะนำให้ทารกกินนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน และกินควบคู่กับอาหารที่เหมาะสมตามวัยจนอายุ 2 ปี หรือมากกว่า และจากการสำรวจสถานการณ์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของประเทศไทย โดยองค์การยูนิเซฟ ในปี ค.ศ. 2005 พบว่า อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนมีเพียงร้อยละ 5.4 ซึ่งต่ำเป็นอันดับที่ 3 ก่อนสุดท้ายของโลก  และจากการศึกษาที่ยอมรับกันทั่วไปยังพบว่า ทารกที่ได้รับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน จะมีระดับสติปัญญาดีกว่าทารกที่ไม่ได้รับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สูงถึง 2-11 จุด นอกจากนี้ จากการสำรวจสถานการณ์พัฒนาการเด็กไทย พบว่า เด็กแรกเกิด ? 5 ปี มีพัฒนาการสมวัยลดลงจากร้อยละ 72 ในปี พ.ศ. 2542 เหลือเพียงร้อยละ 67 ในปี พ.ศ. 2550 และจากการตรวจติดตามการละเมิดหลักเกณฑ์ว่าด้วยการตลาดโดยกรมอนามัย พ.ศ. 2546 พบว่า ร้อยละ 8.4 แม่ได้รับการติดต่อจากผู้แทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์นม และสถานที่ที่แม่ได้รับการติดต่อส่วนใหญ่ร้อยละ 69.4 คือ สถานบริการสาธารณสุข

                

?เพื่อปกป้องเด็กไทยให้ได้รับการเลื้ยงลูกด้วยนมแม่  กระทรวงสาธารณสุขโดยกรมอนามัยจึงได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์สากลนี้ เป็นประกาศกระทรวงสาธารณสุขเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2551  ซึ่งมีใจความสำคัญ คือ  1) ห้ามโฆษณา  ประชาสัมพันธ์อาหารทารกและเด็กเล็ก      2) ห้ามแจกตัวอย่างสินค้าและของขวัญฟรีแก่แม่ทั้งทางตรงและทางอ้อม            3) ห้ามพนักงานการตลาดติดต่อหญิงตั้งครรภ์ แม่ และครอบครัว 4) ห้ามใช้สถานบริการสาธารณสุขเป็นที่โฆษณา  ประชาสัมพันธ์  ห้ามบริจาคสินค้าฟรี หรือจำหน่ายราคาถูก  5)  ห้ามให้ของขวัญหรือตัวอย่างสินค้าแก่บุคลากร      สาธารณสุข  6) การให้ข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการอาหารทารก ต้องได้รับอนุญาตจากกรมอนามัยข้อมูลที่ให้แก่บุคลากรสาธารณสุขต้องมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์และเป็นจริง และ 8) ฉลาก ต้องไม่แสดงรูปภาพของทารกหรือข้อความชักจูงให้ใช้สินค้า  9) บริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็กควรปฏิบัติตาม CODE ถึงแม้ว่าประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายเฉพาะของ CODE นมก็ตาม? นายแพทย์โสภณ  กล่าว

รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวในตอนท้ายว่า ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุขโดยกรมอนามัยได้ขอความร่วมมือ          เจ้าหน้าที่สาธารณสุขให้ปฏิบัติตาม Code นมนี้ ร่วมกับการส่งเสริมและสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน เพื่อสนองปณิธาน พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช  สยามมกุฏราชกุมาร เพราะจากการศึกษาที่ยอมรับกันโดยทั่วไป พบว่า ทารกที่ได้รับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน จะได้รับสารอาหารเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย อันจะส่งผลต่อระดับสติปัญญาดีกว่าทารกที่ไม่ได้รับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนด้วย

***

ฝ่ายประชาสัมพันธ์  สำนักงานเลขานุการกรมอนามัย/ 21 พฤศจิกายน 2551

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน

ติดตามข่าวสารได้ที่

betflix