คุณกำลังมองหาอะไร?

ลกระทบจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 (มาตรา 60) ที่มีต่อการบริหารราชการแผ่นดิน

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

30.10.2551
11
0
แชร์
30
ตุลาคม
2551

ผลกระทบจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 (มาตรา 60) ที่มีต่อการบริหารราชการแผ่นดิน

สาระสำคัญและส่วนที่เกี่ยวข้องกับกรมอนามัย
1. อันเนื่องมาจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550  มาตรา 60 ได้ให้สิทธิแก่บุคคลที่จะฟ้องหน่วยราชการหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ ราชการส่วนท้องถิ่นหรือองค์กรอื่นของรัฐที่เป็นนิติบุคคลให้รับผิดเนื่องจากการกระทำหรือการละเว้นการกระทำของข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยงานนั้น ดังนั้นจึงต้องมีการเตรียมการเพื่อให้ข้าราชการได้รับการคุ้มครองปกป้องจาก ม.60 ด้วย
 
2. ข้อแตกต่างระหว่างมาตรา 60 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 กับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 และมาตรา 421 และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 คือ
2.1 มาตรา 60 มิใช่ความผิดทางอาญาและมิใช่ความผิดทางแพ่งในเรื่องละเมิดแต่เป็นความผิดทางแพ่งแบบใหม่ที่กำหนดโดยรัฐธรรมนูญ จึงเป็นเรื่องใหม่เพื่อให้ประชาชนดำเนินคดีได้รวดเร็วขึ้น โดยไม่ต้องพิสูจน์ความผิดเหมือนทางแพ่ง เพียงแต่พิสูจน์ว่าหน่วยงานมีหน้าที่แล้วไม่ทำหรือทำเกินหน้าที่ก็พอแล้ว กล่าวคือไม่ต้องพิสูจน์ว่าทุจริต ตัวอย่างเช่น ถ้าพิสูจน์ได้ว่ามีการล็อคสเปคก็สามารถที่จะฟ้องหน่วยงานนั้นได้แล้ว แม้จะยังมิได้เกิดความเสียหาย
2.2 ประชาชนจะฟ้องได้เฉพาะหน่วยงานของรัฐที่เป็นนิติบุคคล จะฟ้องข้าราชการมิได้
2.3 เขตอำนาจการฟ้องกระทำได้ทั้ง 2 ศาล คือ ศาลแพ่งและศาลปกครอง ทั้งนี้ โดยหลักจะเป็นศาลแพ่งและใช้ระบบไต่สวน ซึ่งหากเป็นมาตรา 157 หรือมาตรา 420 หรือมาตรา 421 นั้น ในการฟ้องดำเนินคดีจะต้องพิสูจน์ความผิดซึ่งต้องมีการจ้างทนายความทำให้ประชาชนไม่คล่องตัว
2.4 ความผิดตามมาตรา 60 ให้พิจารณาจากอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานที่มีตามกฎหมายเฉพาะและกฎหมายจัด
ตั้งหน่วยงานนั้น

3. ขั้นตอนในการดำเนินการต่อไป ที่ประชุมมีความเห็นร่วมกันให้มีการจัดทำเป็นวาระแห่งชาติโดยเร่งด่วนและควรออกกฎหมายมาช่วยข้าราชการกรณีที่จะต้องถูกไล่เบี้ย รวมทั้งขอให้แต่ละหน่วยงานรวบรวมอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายที่รับผิดชอบในส่วนที่น่าเป็นห่วง(จุดอ่อน)แล้วส่งให้สำนักงาน ก.พ.ร. เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการเตรียมการต่อไป

ประเด็นที่ต้องการให้ทราบ
1. เพื่อให้ทุกหน่วยงานของกรมอนามัยเตรียมความพร้อมในการรองรับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นก่อนที่สำนักงานอัยการสูงสุดจะดำเนินการเผยแพร่ให้ประชาชนได้ทราบถึงสิทธิดังกล่าว  โดยในระยะแรกอธิบดีกรมอนามัยได้มอบหมายให้ 3 หน่วยงาน ได้แก่ กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กองการเจ้าหน้าที่ และศูนย์บริหารกฎหมายสาธารณสุข ดำเนินการรวบรวมอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายที่รับผิดชอบอยู่ และวิเคราะห์ถึงสิ่งที่พึงต้องระมัดระวังหรือจุดอ่อนที่น่าเป็นห่วง ดังนี้
1.1 ภารกิจหน้าที่ของกรมอนามัยตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมอนามัย และพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 (มอบ กพร.)
1.2  อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายเฉพาะ ได้แก่ กฎหมายการสาธารณสุข กฎหมายรักษาความสะอาดฯ และกฎหมายสุสานและฌาปนสถาน ( มอบ ศกม.)
1.3 กฎระเบียบ คำสั่งของกรม หรือส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องกับประชาชนเป็นการทั่วไป เช่น การจัดซื้อจัดจ้าง (มอบ กองจ.)
2. แจ้งผลการวิเคราะห์ให้ทุกหน่วยงานของกรมอนามัยทราบและพิจารณาเพิ่มเติมหรือปรับแก้ไขก่อนที่จะเผยแพร่ทางเว็บไซต์ของกรมอนามัย และส่งให้สำนักงาน ก.พ.ร. เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการเตรียมการรองรับระดับประเทศต่อไป

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน

ติดตามข่าวสารได้ที่

betflix

betflix129