คุณกำลังมองหาอะไร?

รมอนามัย เผย 3 ปี หลังแก้ประกาศ กระทรวงงดเติมหวานในนมผง ลดเด็กติดหวานลงเท่าตัว แถมเตือนเด็กหลับคาขวดนมยังเสี่ยงฟันผุ

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

22.10.2551
52
0
แชร์
22
ตุลาคม
2551

กรมอนามัย เผย 3 ปี หลังแก้ประกาศ กระทรวงงดเติมหวานในนมผง ลดเด็กติดหวานลงเท่าตัว แถมเตือนเด็กหลับคาขวดนมยังเสี่ยงฟันผุ

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เผยผลการประเมินผลกระทบต่อการบริโภคน้ำตาลของเด็กวัย 0-3 ปี ภายหลังการแก้ไขประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 156 (พ.ศ. 2537) เป็นฉบับที่ 286 (พ.ศ. 2547) อัตราการบริโภคนมหวานของเด็กวัย 6-12 เดือน ลดลงกว่าเท่าตัว พร้อมแนะพ่อแม่ อย่าให้เด็กหลับคาขวดนม จะมีผล ทำให้เสี่ยงต่อฟันผุ นายแพทย์ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา อธิบดีกรมนามัย เปิดเผยถึงการบริโภคน้ำตาลของเด็กวัย 0-3 ปี หลังมีการแก้ไขประกาศกระทรวงสาธารณสุข ว่า หลังจากที่กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพและสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้เห็นชอบให้มีการแก้ไขประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 156 (พ.ศ. 2537) เป็นฉบับที่ 286 (พ.ศ. 2547) เพื่อไม่ให้มีการเติมน้ำตาล น้ำผึ้ง หรือวัสดุที่ให้ความหวานอื่นใดในนมผงสูตรดัดแปลงต่อเนื่องสำหรับเด็กอายุ 6 เดือน ถึง 3 ปี นั้น ปรากฎว่าผลการประเมินผลกระทบต่อการบริโภคน้ำตาลของเด็กวัย 0-3 ปี ภายหลังการแก้ไขประกาศกระทรวงฯ ในกลุ่มผู้ปกครองเด็กอายุ 6-36 เดือน จำนวน 3,602 คน ที่มาใช้บริการคลินิกเด็กดี ในโรงพยาบาล 25 แห่ง พบว่า ร้อยละ 40.4 เด็กในวัย 6-12 เดือน ยังคงกินนมแม่ ร้อยละ 79.9 ของนมผงที่เด็กกินจะเป็นนมปราศจากการเติมน้ำตาล และเมื่อเปรียบเทียบกับผลการสำรวจในปี 2547 พบว่า การบริโภคนมผงที่เติมน้ำตาลมีปริมาณลดลง โดยร้อยละ 58 เคยเห็นคำเตือนว่าไม่ควรเติมน้ำตาลเพิ่มในนมที่ฉลากข้างกระป๋อง แม่ร้อยละ 98.9 ไม่เติมน้ำตาลเพิ่มในนม และร้อยละ 78.4 ทราบว่านมที่เติมน้ำตาลมีผลเสียต่อสุขภาพฟันของลูก ทำให้อัตราการบริโภค นมหวานของเด็กวัย 6-12 เดือน ลดลงจากร้อยละ 40 เป็นร้อยละ 20.3 นายแพทย์ณรงค์ศักดิ์ กล่าวต่อไปว่า การแก้ไขประกาศกฎกระทรวงฉบับที่ 156 (พ.ศ. 2537) เป็นฉบับที่ 286 (พ.ศ. 2547) โดยไม่อนุญาตให้มีการเติมน้ำตาลในนมสูตรต่อเนื่อง ทำให้เด็กบริโภคนมที่มีการเติมน้ำตาล ลดน้อยลงกว่าเท่าตัว ซึ่งการมีมาตรการด้านกฎระเบียบ มีส่วนช่วยให้ประชาชนมีพฤติกรรมสุขภาพดีได้ง่ายขึ้น และผู้ปกครองส่วนใหญ่ก็ไม่ได้มีพฤติกรรมการเติมน้ำตาลเพิ่มขึ้น ดังนั้น หากนมที่จำหน่ายไม่เติมน้ำตาล ก็จะลดความเสี่ยงต่อการบริโภคนมหวานของเด็กลงได้ จึงน่าจะส่งผลต่อการลดฟันผุและโรคอ้วนในที่สุดทั้งนี้ สิ่งหนึ่งที่พ่อแม่ ผู้ปกครองต้องให้ความสนใจในขณะที่เลี้ยงลูกด้วยนมขวดที่มีรสหวาน คือ ปัญหาฟันผุบริเวณฟันหน้าบน อันเป็นผลมาจากการที่เด็กดูดนมขวดและหลับคาขวดนม รวมทั้งความถี่และระยะเวลา ที่เด็กดูดนม อันอาจส่งผลไปยังฟันซี่อื่น ๆ ในปากผุตามไปด้วย ซึ่งการป้องกันฟันผุจากการดื่มนมจากขวดสามารถทำได้ โดยทุกครั้งหลังการให้นมเด็กให้ใช้ผ้าหรือผ้าก๊อซที่สะอาดชุบน้ำหมาด ๆ แล้วเช็ดบริเวณเหงือกของเด็กให้ทั่วทั้งปาก และควรเริ่มแปรงฟันให้เด็กทันทีที่ ฟันน้ำนมซี่แรกขึ้นมาในช่องปากอายุประมาณ 6 เดือน ด้วยยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์และจำกัดปริมาณของยาสีฟัน โดยแตะขนแปรงเป็นจุดเท่านั้น รวมทั้งให้ใช้ไหมขัดฟันให้เด็กเมื่อเด็กมีฟันน้ำนมขึ้นครบทั้ง 20 ซี่แล้วประมาณ 2 ? - 3 ขวบ และที่สำคัญผู้ปกครองหรือผู้เลี้ยงดูเด็กควรให้ความเอาใจใส่ในการทำความสะอาดฟันให้เด็กทุกวัย รวมทั้งการแปรงฟันก่อนนอนและปลูกฝังพฤติกรรมการกินที่ถูกต้องให้แก่เด็ก เพื่อการมีสุขภาพในช่องปากที่ดีของเด็กไปอีกยาวนาน อธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน