คุณกำลังมองหาอะไร?

รมอนามัย หนุนนมแม่รีเทิร์น ลดเสี่ยงจากนมผสม ย้ำชัด นมแม่ดีที่สุด

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

10.10.2551
96
0
แชร์
10
ตุลาคม
2551

กรมอนามัย หนุนนมแม่รีเทิร์น ลดเสี่ยงจากนมผสม ย้ำชัด นมแม่ดีที่สุด

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เผย แม่ที่ไม่สามารถให้นมลูกได้ในช่วงน้อยกว่า 3 เดือนหลังคลอด สามารถหันมาให้นมลูกได้อีกครั้ง หากอายุลูกไม่เกิน 6 เดือน เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงการปนเปื้อนของนมผสม เน้นย้ำนมแม่ดีที่สุด พร้อมแนะควรเลี้ยงควบคู่กับอาหารตามวัยจนเด็กอายุ 2 ปี เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการทางด้านร่างกายให้แต่เด็กตั้งแต่เริ่มต้น
 
 
     กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เผย แม่ที่ไม่สามารถให้นมลูกได้ในช่วงน้อยกว่า 3 เดือนหลังคลอด สามารถหันมาให้นมลูกได้อีกครั้ง หากอายุลูกไม่เกิน 6 เดือน เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงการปนเปื้อนของนมผสม  เน้นย้ำนมแม่ดีที่สุด  พร้อมแนะควรเลี้ยงควบคู่กับอาหารตามวัยจนเด็กอายุ 2 ปี เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการทางด้านร่างกายให้แต่เด็กตั้งแต่เริ่มต้น

     นายแพทย์ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยถึงการกลับมาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อีกครั้ง สำหรับแม่ที่ไม่มีโอกาสให้นมลูกหรือมีเหตุจำเป็นที่ต้องหยุดให้นมลูกโดยให้กินนมผสมแทน ว่า กรณีที่มีข่าวพบสารเมลามีนปนเปื้อนในนมผงที่นำเข้าจากจีนเกินกว่าปริมาณปลอดภัย ซึ่งทำให้กลุ่มกลุ่มลูกค้าหลักคือ  แม่ที่มีลูกอยู่ในวัยทารก และมีความจำเป็นต้องเลี้ยงนมผสมแทนนมแม่ สูญเสียความมั่นใจต่อกระบวนการผลิตและความปลอดภัยนั้น  วิธีการที่ดีที่สุดคือ แม่ที่ให้นมลูกกินนมตัวเอง ก็ยังคงให้ลูกกินนมแม่อย่างน้อย 6 เดือน หรือนานที่สุดเท่าที่จะนานได้  แต่สำหรับแม่บางรายที่จำเป็นต้องหยุดให้นมลูกเนื่องจากมีสาเหตุจากหลายปัจจัย เช่น แม่หยุดให้นมแม่เพราะลูกป่วยแล้วให้นมผสมแทน หรือ ลูกที่มีน้ำหนักตัวแรกเกิดต่ำกว่าเกณฑ์และไม่สามารถดูดนมได้อย่างมีประสิทธิภาพในสัปดาห์แรกของชีวิตและหันมาให้นมผสมแทนนั้น สามารถที่จะหันมาให้ลูกกินนมตัวเองได้อีกครั้งหรือเรียกว่า Relactation ซึ่งการทำ Relactation นั้น ต้องใช้ความพยายามและความอดทนพอสมควร แม่ต้องมีความเชื่อมั่นว่าสามารถทำได้สำเร็จ  ซึ่งจากงานวิจัยพบว่าถ้าแม่มีความมุ่งมั่นและเห็นประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แล้วร้อยละ 75 พบว่า เป็นไปในทางบวก โดยเฉพาะหากทารกมีอายุน้อยกว่า 3 เดือน  ส่วนใหญ่พบว่าประสบความสำเร็จ ยิ่งเด็กที่เคยกินนมแม่มาก่อนโอกาสที่จะกินนมแม่ได้นั้นมีมากกว่าเด็กที่ไม่เคยได้กินนมแม่ด้วย  แต่หากลูกมีอายุมากกว่า 6 เดือน โอกาสที่ลูกจะกิน  นมแม่ได้นั้นก็จะยากมากขึ้น
 
     นายแพทย์ณรงค์ศักดิ์ กล่าวต่อไปว่า วิธีดังกล่าวจะใช้ระยะเวลาภายใน 2 สัปดาห์ก็จะเห็นผล         โดยระยะเวลาที่นมแม่กลับมาจะเท่ากับระยะเวลาที่หยุดนมแม่ไป  ซึ่งพบว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนแม่ที่หันมาให้นมลูกจะสำเร็จจนได้ปริมาณน้ำนมเต็มที่ภายในหนึ่งเดือน  เริ่มจากเอาลูกมาดูดนมช่วงละ 20-30 นาที ทุก ๆ  2-3 ชั่วโมง และให้ดูดทั้งสองเต้า ถ้าลูกไม่ยอมดูด หรือร้องเนื่องจากติดขวดนม แม่สามารถบีบน้ำนมใส่ขวดให้กินได้ในระยะแรก  อย่างไรก็ตาม ควรให้ลูกดูดนมแม่จากเต้านมจะดีที่สุด เพราะจะช่วยกระตุ้นให้น้ำนม  มาเร็วและมาก ซึ่งช่วงเวลาที่เหมาะสำหรับกระตุ้นการดูดนมแม่อีกครั้งควรเป็นตอนที่ไม่หิวมากและไม่ง่วงจัด กำลังผ่อนคลาย บรรยากาศสบาย มีเสียงดนตรีเบา ๆ แม่ลูกนอนกอดกันเพื่อลูกดูดนมจากเต้าได้สะดวก
    
     ?ทั้งนี้ น้ำนมแม่ถือเป็นสารอาหารที่บริสุทธิ์ปราศจากการปนเปื้อนของเชื้อโรคที่จะทำให้เกิดภูมิแพ้ในตัวเด็ก อีกทั้งนมแม่ยังมีสารอาหารที่ช่วยสร้างพัฒนาทางด้านสมองและต่อต้านเชื้อโรคทำให้เกิดภูมิต้านทานโรคซึ่งในนมผสมจะไม่มี และการที่แม่เลี้ยงลูกด้วยนมตนเองนอกจากจะส่งผลดีต่อการเสริมสร้างพัฒนาการทุกด้านให้แก่เด็กแล้ว ยังจะส่งผลต่อสุขภาพของผู้เป็นแม่ด้วย คือ ช่วยป้องกันการเป็นมะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ และที่สำคัญช่วงเวลาที่ลูกกินนมแม่ ฮอร์โมน Oxytocin ในตัวแม่ที่สูงขึ้นจะกระตุ้นให้แม่เกิดความรัก ห่วงใย และอ่อนโยนยิ่งขึ้น ส่งผลให้ลูกรับรู้ได้ถึงความอบอุ่นและพร้อมที่จะให้ความรักแก่คนอื่นได้เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่?   อธิบดีกรมอนามัย  กล่าวในที่สุด                        
 
 
 
 
 
     

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน

ติดตามข่าวสารได้ที่

betflix

betflix129