คุณกำลังมองหาอะไร?

ข่า

ข่าวแจก "กรมอนามัยเผยเด็กหญิงกว่าร้อยละ 50 พลาดอาหารเช้า ย้ำพ่อแม่เตรียมมื้อสำคัญ"

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

19.05.2557
88
0
แชร์
19
พ.ค.
2557

ข่าวแจก "กรมอนามัยเผยเด็กหญิงกว่าร้อยละ 50 พลาดอาหารเช้า ย้ำพ่อแม่เตรียมมื้อสำคัญ"

 
 
        กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เผยเด็กไทยยังพลาดอาหารเช้าโดยเฉพาะเด็กนักเรียนหญิงอายุ 12-14 ปี ไม่กินอาหารเช้าถึงร้อยละ 52 หวั่นกระทบต่อการเรียน เน้นย้ำพ่อแม่เตรียมอาหารเช้าด้วยเมนูง่าย ๆ ข้าวต้ม โจ๊ก ขนมปัง 1 คู่ ไข่ดาว 1 ฟอง พร้อมนมหรือน้ำส้ม พร้อมหนุนทุกกลุ่มวัยกินอาหารเช้า เพื่อช่วยควบคุมน้ำหนัก
        ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า เผยผลการสำรวจพฤติกรรมไม่กินอาหารเช้าของเด็กวัยเรียนอายุ 6-11 ปี พบว่า ไม่กินอาหารเช้า ร้อยละ 30 และเด็กนักเรียนหญิงอายุ 12-14 ปี ไม่กินอาหารเช้า ถึงร้อยละ 52 ทำให้การขาดสารอาหารในตอนเช้า โดยเด็กที่อดอาหารเช้าเป็นประจำ อาจทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ส่งผลให้ร่างกายไม่แข็งแรง การเจริญเติบโตไม่เป็นไปตามเกณฑ์ และยังส่งผลต่อสติปัญญา ทำให้ขาดสมาธิ ส่งผลกระทบต่อการเรียน พ่อแม่ ผู้ปกครองจึงต้องให้ความสำคัญกับอาหารเช้าสำหรับวัยเรียน เนื่องจากมื้อเช้าเป็นมื้อที่สำคัญที่สุดที่จะช่วยเติมพลังงานให้กับร่างกายในการเริ่มต้นทำกิจกรรมต่าง ๆ ในแต่ละวันอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะพลังสมองที่เกี่ยวข้องกับความจำ การเรียนรู้ ความกระตือรือร้น
        ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ กล่าวต่อไปว่า การงดกินอาหารมื้อเช้า อาจทำให้ร่างกายได้รับพลังงานและสารอาหารไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย โดยเฉพาะในเด็กวัยเรียนมีความต้องการพลังงานและสารอาหารต่อหน่วยน้ำหนักมากกกว่าผู้ใหญ่ เนื่องจากเป็นวัยที่ยังเจริญเติบโต ดังนั้นเด็ก ๆ จึงจำเป็นต้องกินอาหารให้ครบ 3 มื้อทุกวัน เพื่อร่างกายจะได้รับสารอาหารที่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
        "ทั้งนี้ หลักโภชนาการที่ถูกต้องควรกินอาหารให้ครบทั้ง 3 มื้อ โดยเฉพาะอาหารเช้า ผู้ปกครองต้องสร้างนิสัย การกินอาหารเช้าของเด็ก โดยกินร่วมกับเด็ก และไม่ควรเร่งรีบกดดันลูก เวลากินข้าวเช้า ผู้ปกครองควรหัดบุตรหลานตั้งแต่ แรก ๆ ให้การกินอาหารเช้าเป็นกิจวัตรประจำวันที่ต้องทำทุกเช้า และผู้ปกครองควรทำอาหารเช้าที่ถูกหลักโภชนาการ เช่น ข้าวต้ม โจ๊กขนมปัง 1 คู่ ไข่ดาว 1 ฟอง พร้อมนมหรือน้ำส้ม แซนวิชชนิดต่าง ๆ ข้าวไข่เจียว และซีเรียลใส่นมเติมจมูกข้าวกับกล้วยน้ำว้า 1 ผล? ดร.นพ.พรเทพ กล่าว
        อธิบดีกรมอนามัย กล่าวในตอนท้ายว่า สำหรับกลุ่มวัยอื่น ๆ การกินอาหารเช้าจะช่วยควบคุมน้ำหนักได้เพราะหลังจากกินมื้อเย็นจนถึงเช้าวันใหม่ ร่างกายอดอาหารมานานเกือบ 12 ชั่วโมง หากไม่กินอาหารเช้าจะทำให้ระบบ เผาผลาญเริ่มต้นช้าลง ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำลง ร่างกายรู้สึกหิวอยู่ตลอดเวลาทำให้การบริโภคในมื้อถัดไปมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้เป็นโรคอ้วน ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเส้นเลือดสมองและโรคหัวใจ เพราะในตอนเช้าเลือดมีความเข้มข้นสูง และทำให้เส้นเลือดที่ส่งไปเลี้ยงสมองหรือหัวใจอุดตันได้ แต่ถ้ากินอาหารเช้าทุกวันจะช่วยให้ระดับความเข้มข้นในเลือด เจือจางลง ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานได้ โดยคนที่รับประทานอาหารเช้าจะมีภาวะผิดปกติของฮอร์โมนอินซูลินหรือที่เรียกว่าภาวะดื้อต่ออินซูลิน ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคเบาหวานลดลงถึงร้อยละ 35-50 นอกจากนี้ยังลดโอกาสเกิดโรคนิ่ว การไม่กินอาหารนานกว่า 14 ชั่วโมง จะทำให้คอเรสเตอรอลในถุงน้ำดีจับตัวกันนาน หากนาน ๆ ไปสิ่งที่จับตัวกันนั้นกลายเป็นก้อนนิ่ว แต่หากเรากินอาหารเช้าเข้าไปมันจะกระตุ้นให้ตับปล่อยน้ำดีออกมาละลายคอเลสเตอรอลที่จับตัวกันด้วย
 
***
สำนักสื่อสารและตอบโต้ความเสี่ยง / 16 พฤษภาคม 2557
 

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน

ติดตามข่าวสารได้ที่

แทงบอลออนไลน์ || ดูบอลสด