คุณกำลังมองหาอะไร?

ระชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างภาคีเครือข่ายในการพัฒนาสุขภาพเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร โดยใช้แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

31.01.2555
1
0
แชร์
31
มกราคม
2555

ประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างภาคีเครือข่ายในการพัฒนาสุขภาพเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร โดยใช้แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์

สรุปผลการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างภาคีเครือข่าย ในการพัฒนาสุขภาพเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร โดยใช้แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์(Strategic Route Map : SRM) เมื่อวันที่ 25-27 มกราคม 2555 ณ โรงแรมแม่น้ำ รามาดาพลาซา กรุงเทพมหานคร
 
          สำนักส่งเสริมสุขภาพโดยกลุ่มอนามัยเด็กวัยเรียนและเยาวชน ได้จัดให้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการดังกล่าวโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างทีมกลไกการขับเคลื่อนแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ ถ่ายระดับการพัฒนาแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติ และพัฒนาโรงเรียนในพื้นที่เป้าหมายให้เกิดผลในทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมภายใต้การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายอย่างเข้มแข็ง โดยมีนายแพทย์เอกชัย เพียรศรีวัชรา หัวหน้ากลุ่มอนามัยเด็กวัยเรียนและเยาวชน สำนักส่งเสริมสุขภาพ เป็นประธานเปิดการประชุม นายสุทธิพงษ์ วสุโสภาพล ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.) ให้เกียรติเป็นวิทยากรกระบวนการตลอดการประชุม และได้รับเกียรติจากนายแพทย์สมพงษ์ สกุลอิสริยาภรณ์ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมสุขภาพ และรักษาราชการแทนรองอธิบดีกรมอนามัย เป็นประธานกล่าวปิดการประชุมและให้ข้อเสนอแนะ มีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวนทั้งสิ้น 112 คน ประกอบด้วย บุคลากรจากทีมจังหวัดต้นแบบอาสานำร่อง 6 จังหวัด : กาญจนบุรี สุรินทร์ สกลนคร ปัตตานี แพร่ และตาก ได้แก่ ผู้รับผิดชอบงานด้านสุขภาพเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด หน่วยงานสาธารณสุขระดับอำเภอและระดับตำบล ผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.) ผู้บริหารและครูโรงเรียนในพื้นที่เป้าหมายตามพระราชดำริ แกนนำชุมชน หน่วยงาน/องค์กรสนับสนุน อาสาสมัครทั้งนอกและในพื้นที่ บุคลากรจากกรมอนามัยส่วนกลาง ศูนย์อนามัย และศูนย์พัฒนาอนามัยพื้นที่สูง หน่วยงานต้นสังกัดของโรงเรียน และผู้เกี่ยวข้อง ทั้งนี้มีการบรรยาย ประชุมกลุ่มระดมความคิด นำเสนอผลการประชุมกลุ่ม และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามบทบาทและประสบการณ์การดำเนินงาน โดยสรุปประเด็นสาระสำคัญ ดังนี้
  1. ทบทวนการสร้างและใช้แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์
  2. บรรยาย เรื่อง ก้าวใหม่การจัดการสุขภาพโดยใช้แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ : การพัฒนาแผนงาน/โครงการ(Program/Project Theory) การพัฒนาแผนงาน/โครงการ(Program/Project Theory) และการกำหนดเกณฑ์ชี้วัด 3 ระดับ และการจัดทำแผนปฏิบัติการ (Plan of Action) รายพื้นที่
  3. ประชุมกลุ่ม เรื่อง
    • การถ่ายระดับแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ฯ สู่การปฏิบัติ โดยใช้ตาราง Logic Model :
      • การวิเคราะห์บริบทและกลุ่มเป้าหมาย (Goals as Impacts)
      • การวิเคราะห์ภาคียุทธศาสตร์(Strategic Partner)/ภาคีปฏิบัติการ Strategic Boundary Partner)
      • การวิเคราะห์การตอบสนองกับยุทธศาสตร์ตามกลุ่มเป้าหมายและภาคี
      • การวิเคราะห์แรงเสริม-แรงต้านการพัฒนาของแต่ละพื้นที่
    • การถ่ายทอดแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ฯสู่การปฏิบัติ โดยใช้ตาราง Logic Model :
      • การพัฒนาแผนงาน/โครงการ (Program/Project) เพื่อตอบสนองการพัฒนาในพื้นที่(กลุ่มเป้าหมาย/ภาคีการพัฒนา และเสริมแรง-ลดแรงต้าน)
      • การกำหนดเกณฑ์ชี้วัด 3 ระดับ : ก) ระดับผลผลิต(Performance/Output) หรือสิ่งที่จำเป็นต้องเกิดขึ้น(Expected to see) จากแผนงาน/โครงการ ข) ระดับผลสำเร็จ(Key Performance) หรือสิ่งที่สำคัญที่จะต้องทำให้เกิดขึ้นระหว่างดำเนินการ(Like to see) ค) ระดับผลลัพธ์สำคัญ(Key Result) หรือสิ่งที่ทำให้เกิดผลได้จะดีมาก(Love to see)
      • การจัดวาง Logic Model
          ผลที่ได้จากการประชุมกลุ่ม ทั้ง 6 กลุ่ม คือ ผลการวิเคราะห์โดยใช้ Logic Model (Program Theory) สร้างแผนงาน/โครงการ และแผนปฏิบัติการจากแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์
          จากการประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าประชุมที่มีต่อการประชุมเชิงปฏิบัติการ พบว่า ความพึงพอใจต่อเนื้อหาความรู้ การถ่ายทอด และการบริหารจัดการ โดยภาพรวมมีความพึงพอใจระดับมากถึงมากที่สุด ค่าเฉลี่ยของความพึงพอใจมากที่สุด คือ รูปแบบและการจัดกิจกรรม และมีข้อเสนอแนะด้านการขอรับสนับสนุน ได้แก่ สื่อ/อุปกรณ์/เอกสารวิชาการ งบประมาณดำเนินการพัฒนา อบรมให้ความรู้โรคติดต่อใหม่ จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ศึกษาดูงาน ตรวจเยี่ยมพื้นที่ ทัศนศึกษาในถิ่นทุรกันดาร จัดประชุมติดตามความก้าวหน้า ปีละ 1 ครั้ง และควรจัดระดับภาค
สรุปผลการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างภาคีเครือข่าย ในการพัฒนาสุขภาพเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร โดยใช้แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์(Strategic Route Map : SRM) เมื่อวันที่ 25-27 มกราคม 2555 ณ โรงแรมแม่น้ำ รามาดาพลาซา กรุงเทพมหานคร สำนักส่งเสริมสุขภาพโดยกลุ่มอนามัยเด็กวัยเรียนและเยาวชน ได้จัดให้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการดังกล่าวโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างทีมกลไกการขับเคลื่อนแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ ถ่ายระดับการพัฒนาแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติ และพัฒนาโรงเรียนในพื้นที่เป้าหมายให้เกิดผลในทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมภายใต้การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายอย่างเข้มแข็ง โดยมีนายแพทย์เอกชัย เพียรศรีวัชรา หัวหน้ากลุ่มอนามัยเด็กวัยเรียนและเยาวชน สำนักส่งเสริมสุขภาพ เป็นประธานเปิดการประชุม นายสุทธิพงษ์ วสุโสภาพล ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.) ให้เกียรติเป็นวิทยากรกระบวนการตลอดการประชุม และได้รับเกียรติจากนายแพทย์สมพงษ์ สกุลอิสริยาภรณ์ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมสุขภาพ และรักษาราชการแทนรองอธิบดีกรมอนามัย เป็นประธานกล่าวปิดการประชุมและให้ข้อเสนอแนะ มีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวนทั้งสิ้น 112 คน ประกอบด้วย บุคลากรจากทีมจังหวัดต้นแบบอาสานำร่อง 6 จังหวัด : กาญจนบุรี สุรินทร์ สกลนคร ปัตตานี แพร่ และตาก ได้แก่ ผู้รับผิดชอบงานด้านสุขภาพเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด หน่วยงานสาธารณสุขระดับอำเภอและระดับตำบล ผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.) ผู้บริหารและครูโรงเรียนในพื้นที่เป้าหมายตามพระราชดำริ แกนนำชุมชน หน่วยงาน/องค์กรสนับสนุน อาสาสมัครทั้งนอกและในพื้นที่ บุคลากรจากกรมอนามัยส่วนกลาง ศูนย์อนามัย และศูนย์พัฒนาอนามัยพื้นที่สูง หน่วยงานต้นสังกัดของโรงเรียน และผู้เกี่ยวข้อง ทั้งนี้มีการบรรยาย ประชุมกลุ่มระดมความคิด นำเสนอผลการประชุมกลุ่ม และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามบทบาทและประสบการณ์การดำเนินงาน โดยสรุปประเด็นสาระสำคัญ ดังนี้ทบทวนการสร้างและใช้แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์บรรยาย เรื่อง ก้าวใหม่การจัดการสุขภาพโดยใช้แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ : การพัฒนาแผนงาน/โครงการ(Program/Project Theory) การพัฒนาแผนงาน/โครงการ(Program/Project Theory) และการกำหนดเกณฑ์ชี้วัด 3 ระดับ และการจัดทำแผนปฏิบัติการ (Plan of Action) รายพื้นที่ประชุมกลุ่ม เรื่องการถ่ายระดับแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ฯ สู่การปฏิบัติ โดยใช้ตาราง Logic Model :การวิเคราะห์บริบทและกลุ่มเป้าหมาย (Goals as Impacts)การวิเคราะห์ภาคียุทธศาสตร์(Strategic Partner)/ภาคีปฏิบัติการ Strategic Boundary Partner)การวิเคราะห์การตอบสนองกับยุทธศาสตร์ตามกลุ่มเป้าหมายและภาคีการวิเคราะห์แรงเสริม-แรงต้านการพัฒนาของแต่ละพื้นที่การถ่ายทอดแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ฯสู่การปฏิบัติ โดยใช้ตาราง Logic Model :การพัฒนาแผนงาน/โครงการ (Program/Project) เพื่อตอบสนองการพัฒนาในพื้นที่(กลุ่มเป้าหมาย/ภาคีการพัฒนา และเสริมแรง-ลดแรงต้าน)การกำหนดเกณฑ์ชี้วัด 3 ระดับ : ก) ระดับผลผลิต(Performance/Output) หรือสิ่งที่จำเป็นต้องเกิดขึ้น(Expected to see) จากแผนงาน/โครงการ ข) ระดับผลสำเร็จ(Key Performance) หรือสิ่งที่สำคัญที่จะต้องทำให้เกิดขึ้นระหว่างดำเนินการ(Like to see) ค) ระดับผลลัพธ์สำคัญ(Key Result) หรือสิ่งที่ทำให้เกิดผลได้จะดีมาก(Love to see)การจัดวาง Logic Model ผลที่ได้จากการประชุมกลุ่ม ทั้ง 6 กลุ่ม คือ ผลการวิเคราะห์โดยใช้ Logic Model (Program Theory) สร้างแผนงาน/โครงการ และแผนปฏิบัติการจากแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ จากการประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าประชุมที่มีต่อการประชุมเชิงปฏิบัติการ พบว่า ความพึงพอใจต่อเนื้อหาความรู้ การถ่ายทอด และการบริหารจัดการ โดยภาพรวมมีความพึงพอใจระดับมากถึงมากที่สุด ค่าเฉลี่ยของความพึงพอใจมากที่สุด คือ รูปแบบและการจัดกิจกรรม และมีข้อเสนอแนะด้านการขอรับสนับสนุน ได้แก่ สื่อ/อุปกรณ์/เอกสารวิชาการ งบประมาณดำเนินการพัฒนา อบรมให้ความรู้โรคติดต่อใหม่ จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ศึกษาดูงาน ตรวจเยี่ยมพื้นที่ ทัศนศึกษาในถิ่นทุรกันดาร จัดประชุมติดตามความก้าวหน้า ปีละ 1 ครั้ง และควรจัดระดับภาค

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน