คุณกำลังมองหาอะไร?

ข่า

ข่าวแจก "สธ. รณรงค์เลือกซื้อเนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ ปลอดภัยรับตรุษจีน เน้นคุมเข้มทุกขั้นตอนก่อนบริโภค"

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

20.01.2555
2
0
แชร์
20
มกราคม
2555

ข่าวแจก "สธ. รณรงค์เลือกซื้อเนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ ปลอดภัยรับตรุษจีน เน้นคุมเข้มทุกขั้นตอนก่อนบริโภค"


          กระทรวงสาธารณสุข ลงพื้นที่ย่านเยาวราช รณรงค์การเลือกซื้ออาหารประเภทเนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ สะอาดปลอดภัยในช่วงเทศกาลตรุษจีน พร้อมแนะประชาชนคุมเข้มการปรุงประกอบอาหารก่อนบริโภคเพื่อสุขอนามัยที่ดี 
               วันนี้ (20 มกราคม 2555) นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยภายหลังการ ตรวจเยี่ยมแผงจำหน่ายอาหารในย่านเยาวราชช่วงเทศกาลตรุษจีน ว่า ในช่วงเทศกาลตรุษจีนของทุกปีชาวไทย เชื้อสายจีนต่างจับจ่ายสินค้าเพื่อนำมาเซ่นไหว้บรรพบุรุษที่ถือปฏิบัติสืบทอดกันมานาน ส่งผลให้การจำหน่ายสินค้าภายในตลาดหรือแหล่งเลือกซื้อสินค้าต่างๆ คึกคักเป็นพิเศษ ประชาชนที่เลือกซื้อสินค้าจำเป็นต้องให้ความสำคัญในเรื่องความสะอาด ปลอดภัย ซึ่งในเบื้องต้นกระทรวงสาธารณสุขได้มอบหมายให้กรมอนามัยประสานความร่วมมือกับผู้ประกอบการตลาดสดเพื่อคุมเข้มความสะอาดปลอดภัยภายในตลาด โดยเฉพาะตลาดที่ผ่านการประเมินรับรองเป็นตลาดสด น่าซื้อจากกรมอนามัยซึ่งมีจำนวน 1,302 แห่งทั่วประเทศ ให้ผู้ค้าภายในตลาดมีสุขอนามัยที่ดี อาทิ ล้าง ทำความสะอาดแผง เขียง เป็นประจำทุกวันตามหลักสุขาภิบาล แต่งกายสะอาด โดยใส่ผ้ากันเปื้อนที่สะอาดและ สวมหมวกหรือเน็ตคลุมผม ใช้อุปกรณ์ในการหยิบจับอาหาร เป็นต้น เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนที่เลือกซื้อสินค้าภายในตลาดสด 
            นายวิทยา กล่าวต่อไปว่า ประชาชนเองก็ต้องรู้จักป้องกันตนเองเบื้องต้น ด้วยการเลือกซื้ออาหารสำหรับ เซ่นไหว้ที่ปลอดภัย โดยเฉพาะเป็ด ไก่ ต้องสดใหม่ เนื้อแน่นสะอาด ไม่มีสีคล้ำ ไม่มีจ้ำเลือด ไม่มีการทาสีตามตัว ไม่มีกลิ่นเหม็น สำหรับเนื้อหมูต้องเลือกเนื้อหมูที่มีสีแดงตามธรรมชาติ ไม่มีกลิ่นเหม็น และที่สำคัญต้องไม่มีเม็ดสาคูหรือตัวอ่อนของพยาธิตัวตืด เพื่อความปลอดภัยควรเลือกซื้อจากแหล่งที่ได้รับรองมาตรฐานว่าถูกสุขอนามัย และสำหรับผักและผลไม้สด ควรเลือกซื้อผลไม้ตามฤดูกาลจะได้ผักและผลไม้สดใหม่มีคุณภาพ สังเกตที่เนื้อผักและผลไม้ต้องแน่น สีสด เป็นธรรมชาติ ไม่เหี่ยวเฉา เน่าหรือช้ำ หรือขึ้นรา ไม่มีเศษดินหรือคราบสกปรก รวมทั้งคราบสีขาว ของยาฆ่าแมลง ผักและผลไม้สดก็ต้องเลือกจากแหล่งที่เชื่อถือได้และมีเครื่องหมายรับรอง ส่วนไข่เป็ด ไข่ไก่ ต้องมีลักษณะผิวนวลคล้ายแป้งเคลือบอยู่ที่เปลือกไข่ เปลือกไข่ต้องไม่แตกร้าว ไม่มีคราบมูลสัตว์ หรือคราบสกปรกติดมา วิธีการสังเกตไข่สดใหม่จะมีน้ำหนักมากกว่าไข่เก่า และเมื่อเขย่าจะไม่มีเสียงคลอน 
             ดร.สมยศ ดีรัศมี อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า ก่อนการปรุงอาหารต้องล้างวัตถุดิบทุกครั้ง โดยเฉพาะผักสดต้องล้างด้วยน้ำสะอาด 2-3 ครั้ง สำหรับผักบางชนิด เช่น คะน้า กะหล่ำ ถั่วฝักยาว หากมีคราบขาวจับที่กาบใบหรือฝักมากเกินไปให้ล้างน้ำหลาย ๆ ครั้ง และคลี่ใบถูหรือล้างด้วยการเปิดน้ำไหลผ่านผักสดอย่างน้อย 2 นาที หรือใช้สารละลายอื่น ๆ ในการล้างหรือแช่นานประมาณ 5 นาที อาทิ 1) ใช้น้ำเกลือ (เกลือ 2 ช้อนโต๊ะพูนต่อน้ำ 4 ลิตร) 2) ใช้น้ำปูนคลอรีน ความเข้มข้น 50 พีพีเอ็ม (ผสมผงปูนคลอรีน ½ ช้อนชา ในน้ำ 1 แก้ว คนให้เข้ากัน ทิ้งไว้ให้ตกตะกอน รินเฉพาะส่วนที่เป็นน้ำใสผสมน้ำสะอาด 20 ลิตร) 3) ใช้น้ำส้มสายชู (ผสมน้ำส้มสายชู ½ ถ้วยต่อน้ำ 4 ลิตร) 4) ใช้โซดา (โซเดียมไบคาร์บอเนต 1 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 4 ลิตร) และ 5) ใช้น้ำยาล้างผัก เป็นต้น แล้วจึงนำผักสดมาล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้งก็สามารถลดหรือขจัดพิษภัยต่าง ๆ ในผักสดออกได้
            สำหรับการปรุงประกอบอาหารภายในครอบครัวก็ต้องให้ความสำคัญเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะเนื้อสัตว์ ต้องปรุงให้สุกทั่วทั้งชิ้น ด้วยอุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 70 องศาเซลเซียส เพื่อเป็นการทำลายเชื้อโรคประเภทแบคทีเรีย ไวรัส พยาธิใบไม้ในตับ พยาธิตัวตืดที่อยู่ในเนื้อสัตว์ รวมทั้งโรคไข้หวัดนก และก่อนนำมารับประทานควรอุ่นให้สุก อีกครั้ง สำหรับการเก็บรักษาวัตถุดิบ ประเภท ไก่ ไข่ หมู จะต้องเก็บในภาชนะที่สะอาดแยกเป็นสัดส่วนเฉพาะ และต้องเก็บไว้ในอุณหภูมิต่ำกว่า 5 องศาเซลเซียส ส่วนการปรุงประกอบอาหารในแต่ละมื้อควรเลี่ยงอาหารประเภททอดด้วยน้ำมันมากเกินไป และให้ลดหวาน มัน เค็ม เพิ่มผักผลไม้สดหลังมื้ออาหารทุกครั้ง เลือกใช้เครื่องปรุงรส เช่น ซีอี๊ว น้ำตาล น้ำปลา ที่มีเครื่องหมาย อย. หรือ มอก. รับรอง แต่สำหรับผู้ที่นิยมรับประทานขนมเซ่นไหว้ เช่น ขนมเข่ง ขนมเทียน ซึ่งมีส่วนประกอบหลักเป็นแป้งและน้ำตาลจำเป็นต้องจำกัดปริมาณในการรับประทาน เพื่อไม่ให้ร่างกายได้รับพลังงานมากเกินไปด้วย? อธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด
 
****
กลุ่มสื่อสารองค์กร / 20 มกราคม 2555
กระทรวงสาธารณสุข ลงพื้นที่ย่านเยาวราช รณรงค์การเลือกซื้ออาหารประเภทเนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ สะอาดปลอดภัยในช่วงเทศกาลตรุษจีน พร้อมแนะประชาชนคุมเข้มการปรุงประกอบอาหารก่อนบริโภคเพื่อสุขอนามัยที่ดี วันนี้ (20 มกราคม 2555) นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยภายหลังการ ตรวจเยี่ยมแผงจำหน่ายอาหารในย่านเยาวราชช่วงเทศกาลตรุษจีน ว่า ในช่วงเทศกาลตรุษจีนของทุกปีชาวไทย เชื้อสายจีนต่างจับจ่ายสินค้าเพื่อนำมาเซ่นไหว้บรรพบุรุษที่ถือปฏิบัติสืบทอดกันมานาน ส่งผลให้การจำหน่ายสินค้าภายในตลาดหรือแหล่งเลือกซื้อสินค้าต่างๆ คึกคักเป็นพิเศษ ประชาชนที่เลือกซื้อสินค้าจำเป็นต้องให้ความสำคัญในเรื่องความสะอาด ปลอดภัย ซึ่งในเบื้องต้นกระทรวงสาธารณสุขได้มอบหมายให้กรมอนามัยประสานความร่วมมือกับผู้ประกอบการตลาดสดเพื่อคุมเข้มความสะอาดปลอดภัยภายในตลาด โดยเฉพาะตลาดที่ผ่านการประเมินรับรองเป็นตลาดสด น่าซื้อจากกรมอนามัยซึ่งมีจำนวน 1,302 แห่งทั่วประเทศ ให้ผู้ค้าภายในตลาดมีสุขอนามัยที่ดี อาทิ ล้าง ทำความสะอาดแผง เขียง เป็นประจำทุกวันตามหลักสุขาภิบาล แต่งกายสะอาด โดยใส่ผ้ากันเปื้อนที่สะอาดและ สวมหมวกหรือเน็ตคลุมผม ใช้อุปกรณ์ในการหยิบจับอาหาร เป็นต้น เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนที่เลือกซื้อสินค้าภายในตลาดสด นายวิทยา กล่าวต่อไปว่า ประชาชนเองก็ต้องรู้จักป้องกันตนเองเบื้องต้น ด้วยการเลือกซื้ออาหารสำหรับ เซ่นไหว้ที่ปลอดภัย โดยเฉพาะเป็ด ไก่ ต้องสดใหม่ เนื้อแน่นสะอาด ไม่มีสีคล้ำ ไม่มีจ้ำเลือด ไม่มีการทาสีตามตัว ไม่มีกลิ่นเหม็น สำหรับเนื้อหมูต้องเลือกเนื้อหมูที่มีสีแดงตามธรรมชาติ ไม่มีกลิ่นเหม็น และที่สำคัญต้องไม่มีเม็ดสาคูหรือตัวอ่อนของพยาธิตัวตืด เพื่อความปลอดภัยควรเลือกซื้อจากแหล่งที่ได้รับรองมาตรฐานว่าถูกสุขอนามัย และสำหรับผักและผลไม้สด ควรเลือกซื้อผลไม้ตามฤดูกาลจะได้ผักและผลไม้สดใหม่มีคุณภาพ สังเกตที่เนื้อผักและผลไม้ต้องแน่น สีสด เป็นธรรมชาติ ไม่เหี่ยวเฉา เน่าหรือช้ำ หรือขึ้นรา ไม่มีเศษดินหรือคราบสกปรก รวมทั้งคราบสีขาว ของยาฆ่าแมลง ผักและผลไม้สดก็ต้องเลือกจากแหล่งที่เชื่อถือได้และมีเครื่องหมายรับรอง ส่วนไข่เป็ด ไข่ไก่ ต้องมีลักษณะผิวนวลคล้ายแป้งเคลือบอยู่ที่เปลือกไข่ เปลือกไข่ต้องไม่แตกร้าว ไม่มีคราบมูลสัตว์ หรือคราบสกปรกติดมา วิธีการสังเกตไข่สดใหม่จะมีน้ำหนักมากกว่าไข่เก่า และเมื่อเขย่าจะไม่มีเสียงคลอน ดร.สมยศ ดีรัศมี อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า ก่อนการปรุงอาหารต้องล้างวัตถุดิบทุกครั้ง โดยเฉพาะผักสดต้องล้างด้วยน้ำสะอาด 2-3 ครั้ง สำหรับผักบางชนิด เช่น คะน้า กะหล่ำ ถั่วฝักยาว หากมีคราบขาวจับที่กาบใบหรือฝักมากเกินไปให้ล้างน้ำหลาย ๆ ครั้ง และคลี่ใบถูหรือล้างด้วยการเปิดน้ำไหลผ่านผักสดอย่างน้อย 2 นาที หรือใช้สารละลายอื่น ๆ ในการล้างหรือแช่นานประมาณ 5 นาที อาทิ 1) ใช้น้ำเกลือ (เกลือ 2 ช้อนโต๊ะพูนต่อน้ำ 4 ลิตร) 2) ใช้น้ำปูนคลอรีน ความเข้มข้น 50 พีพีเอ็ม (ผสมผงปูนคลอรีน ฝ ช้อนชา ในน้ำ 1 แก้ว คนให้เข้ากัน ทิ้งไว้ให้ตกตะกอน รินเฉพาะส่วนที่เป็นน้ำใสผสมน้ำสะอาด 20 ลิตร) 3) ใช้น้ำส้มสายชู (ผสมน้ำส้มสายชู ฝ ถ้วยต่อน้ำ 4 ลิตร) 4) ใช้โซดา (โซเดียมไบคาร์บอเนต 1 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 4 ลิตร) และ 5) ใช้น้ำยาล้างผัก เป็นต้น แล้วจึงนำผักสดมาล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้งก็สามารถลดหรือขจัดพิษภัยต่าง ๆ ในผักสดออกได้ \\สำหรับการปรุงประกอบอาหารภายในครอบครัวก็ต้องให้ความสำคัญเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะเนื้อสัตว์ ต้องปรุงให้สุกทั่วทั้งชิ้น ด้วยอุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 70 องศาเซลเซียส เพื่อเป็นการทำลายเชื้อโรคประเภทแบคทีเรีย ไวรัส พยาธิใบไม้ในตับ พยาธิตัวตืดที่อยู่ในเนื้อสัตว์ รวมทั้งโรคไข้หวัดนก และก่อนนำมารับประทานควรอุ่นให้สุก อีกครั้ง สำหรับการเก็บรักษาวัตถุดิบ ประเภท ไก่ ไข่ หมู จะต้องเก็บในภาชนะที่สะอาดแยกเป็นสัดส่วนเฉพาะ และต้องเก็บไว้ในอุณหภูมิต่ำกว่า 5 องศาเซลเซียส ส่วนการปรุงประกอบอาหารในแต่ละมื้อควรเลี่ยงอาหารประเภททอดด้วยน้ำมันมากเกินไป และให้ลดหวาน มัน เค็ม เพิ่มผักผลไม้สดหลังมื้ออาหารทุกครั้ง เลือกใช้เครื่องปรุงรส เช่น ซีอี๊ว น้ำตาล น้ำปลา ที่มีเครื่องหมาย อย. หรือ มอก. รับรอง แต่สำหรับผู้ที่นิยมรับประทานขนมเซ่นไหว้ เช่น ขนมเข่ง ขนมเทียน ซึ่งมีส่วนประกอบหลักเป็นแป้งและน้ำตาลจำเป็นต้องจำกัดปริมาณในการรับประทาน เพื่อไม่ให้ร่างกายได้รับพลังงานมากเกินไปด้วย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด ****กลุ่มสื่อสารองค์กร / 20 มกราคม 2555

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน