คุณกำลังมองหาอะไร?

ข่า

ข่าวแจก "สธ. เตือนข้าวกล่องเก็บนานเสี่ยงบูด แนะข้าวเหนียวหมูทอด-ไก่ทอด เมนูอาหารทัวร์เด็ก"

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

13.01.2555
0
0
แชร์
13
มกราคม
2555

ข่าวแจก "สธ. เตือนข้าวกล่องเก็บนานเสี่ยงบูด แนะข้าวเหนียวหมูทอด-ไก่ทอด เมนูอาหารทัวร์เด็ก"

              กระทรวงสาธารณสุข วอนครู ผู้ปกครอง เลี้ยงอาหารวันเด็กต้องคำนึงถึงความสะอาด ปลอดภัย ห่วงกรณีทัศนาจรนอกสถานที่และมีการสั่งข้าวกล่องจำนวนมาก อาจเสี่ยงบูดเสียง่าย แนะเมนูข้าวเหนียวหมูทอด ข้าวเหนียวไก่ทอด เป็นทางเลือก
             นายต่อพงษ์ ไชยสาส์น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยถึงการบริโภคอาหารปลอดภัยในวันเด็ก ว่า เทศกาลวันเด็กนอกจากจะมีการจัดงานเลี้ยงสังสรรค์สำหรับเด็กแล้ว การทัศนาจรนอกสถานที่ยังเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่หลาย ๆ โรงเรียนมักจัดขึ้นในช่วงวันเด็กเช่นเดียวกัน เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้สำหรับเด็ก ซึ่งการทัศนาจรแต่ละครั้งจะมีเตรียมอาหารหรือข้าวกล่องสำหรับบริโภคในช่วงมื้ออาหาร สิ่งที่ต้องเฝ้าระวังคือความสะอาด ปลอดภัยของอาหารกล่อง เพราะส่วนใหญ่จะมีการปรุงไว้ก่อนล่วงหน้า และหากเก็บไว้นาน ๆ อาหารที่บรรจุในกล่องอาจบูดเสียได้ ดังนั้น การสั่งอาหารกล่องจึงควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ใช้กะทิเป็นส่วนประกอบหลัก อาหารมีไขมันสูงหรืออาหารสุก ๆ ดิบ ๆ ให้เลือกเป็นอาหารที่ไม่บูดเสียง่ายแทน เช่น ข้าวเหนียวหมูทอด ข้าวเหนียวไก่ทอด และเพิ่มผลไม้ประเภทส้ม กล้วย หรือชมพู่ด้วย นอกจากนี้การบรรจุอาหารในกล่องควรแยกกับข้าวใส่ถุงพลาสติกไว้ต่างหาก ไม่วางข้าวกล่องที่บรรจุเสร็จบนพื้นเพราะอาจทำให้ปนเปื้อนเชื้อโรคได้ ที่สำคัญบนกล่องอาหารควรแสดงวันเวลาที่ผลิตและระยะเวลาในการบริโภคเพื่อความปลอดภัย
              ดร.นพ.สมยศ ดีรัศมี อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเมื่อต้องมีการปรุงอาหารครั้งละ มาก ๆ คือ ความสะอาดและสุขอนามัยของผู้ปรุงประกอบอาหาร ซึ่งก่อนปรุงควรมีการล้างวัตถุดิบที่จะนำมาปรุงให้สะอาดทุกครั้ง โดยเฉพาะผักต้องล้างด้วยน้ำสะอาด 2-3 ครั้ง ส่วนผักบางอย่าง เช่น คะน้า กะหล่ำ ถั่วฝักยาว หากมีคราบขาวจับที่กาบใบหรือฝักมากเกินไปให้ล้างน้ำหลาย ๆ ครั้งหรือแช่น้ำผสมโซเดียมไบคาร์บอเนต (เบ๊กกิ้งโซดา) ประมาณ 10 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด และต้องล้างมือด้วยน้ำสะอาดและสบู่ทุกครั้งก่อนสัมผัสอาหาร หากมือมีแผลต้องปิดพลาสเตอร์และหลีกเลี่ยงการสัมผัสอาหารโดยตรง แยกมีดและเขียงระหว่างอาหารดิบและสุก เพื่อป้องกันการปนเปื้อนข้ามระหว่างอาหารดิบกับอาหารปรุงสุก รวมทั้งระมัดระวังไม่นำสารเคมีอันตรายมาไว้บริเวณปรุงอาหารเด็ดขาด เพราะอาจปนลงในอาหารได้
           ทั้งนี้ ครูและผู้ปกครองเป็นผู้มีส่วนสำคัญที่ทำให้เด็กได้กินอาหารที่ถูกสุขลักษณะ เช่น กินอาหารปรุง สุกใหม่ทันทีภายใน 4 ชั่วโมง สังเกตอาหาร สี กลิ่น ต้องไม่มีกลิ่นเหม็นบูดและสีไม่เปลี่ยนเป็นสีเขียว สำหรับน้ำดื่มควรสังเกตฉลากบนขวด เช่น วันหมดอายุ เครื่องหมาย อย. ก่อนและหลังกินอาหารต้องล้างมือด้วยสบู่และน้ำ ทุกครั้ง และทิ้งกล่องอาหารและเศษอาหารลงในถังขยะที่จัดไว้เท่านั้น? อธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด
 
 ***
 
กลุ่มสื่อสารองค์กร / 13 มกราคม 2555
กระทรวงสาธารณสุข วอนครู ผู้ปกครอง เลี้ยงอาหารวันเด็กต้องคำนึงถึงความสะอาด ปลอดภัย ห่วงกรณีทัศนาจรนอกสถานที่และมีการสั่งข้าวกล่องจำนวนมาก อาจเสี่ยงบูดเสียง่าย แนะเมนูข้าวเหนียวหมูทอด ข้าวเหนียวไก่ทอด เป็นทางเลือก นายต่อพงษ์ ไชยสาส์น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยถึงการบริโภคอาหารปลอดภัยในวันเด็ก ว่า เทศกาลวันเด็กนอกจากจะมีการจัดงานเลี้ยงสังสรรค์สำหรับเด็กแล้ว การทัศนาจรนอกสถานที่ยังเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่หลาย ๆ โรงเรียนมักจัดขึ้นในช่วงวันเด็กเช่นเดียวกัน เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้สำหรับเด็ก ซึ่งการทัศนาจรแต่ละครั้งจะมีเตรียมอาหารหรือข้าวกล่องสำหรับบริโภคในช่วงมื้ออาหาร สิ่งที่ต้องเฝ้าระวังคือความสะอาด ปลอดภัยของอาหารกล่อง เพราะส่วนใหญ่จะมีการปรุงไว้ก่อนล่วงหน้า และหากเก็บไว้นาน ๆ อาหารที่บรรจุในกล่องอาจบูดเสียได้ ดังนั้น การสั่งอาหารกล่องจึงควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ใช้กะทิเป็นส่วนประกอบหลัก อาหารมีไขมันสูงหรืออาหารสุก ๆ ดิบ ๆ ให้เลือกเป็นอาหารที่ไม่บูดเสียง่ายแทน เช่น ข้าวเหนียวหมูทอด ข้าวเหนียวไก่ทอด และเพิ่มผลไม้ประเภทส้ม กล้วย หรือชมพู่ด้วย นอกจากนี้การบรรจุอาหารในกล่องควรแยกกับข้าวใส่ถุงพลาสติกไว้ต่างหาก ไม่วางข้าวกล่องที่บรรจุเสร็จบนพื้นเพราะอาจทำให้ปนเปื้อนเชื้อโรคได้ ที่สำคัญบนกล่องอาหารควรแสดงวันเวลาที่ผลิตและระยะเวลาในการบริโภคเพื่อความปลอดภัย ดร.นพ.สมยศ ดีรัศมี อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเมื่อต้องมีการปรุงอาหารครั้งละ มาก ๆ คือ ความสะอาดและสุขอนามัยของผู้ปรุงประกอบอาหาร ซึ่งก่อนปรุงควรมีการล้างวัตถุดิบที่จะนำมาปรุงให้สะอาดทุกครั้ง โดยเฉพาะผักต้องล้างด้วยน้ำสะอาด 2-3 ครั้ง ส่วนผักบางอย่าง เช่น คะน้า กะหล่ำ ถั่วฝักยาว หากมีคราบขาวจับที่กาบใบหรือฝักมากเกินไปให้ล้างน้ำหลาย ๆ ครั้งหรือแช่น้ำผสมโซเดียมไบคาร์บอเนต (เบ๊กกิ้งโซดา) ประมาณ 10 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด และต้องล้างมือด้วยน้ำสะอาดและสบู่ทุกครั้งก่อนสัมผัสอาหาร หากมือมีแผลต้องปิดพลาสเตอร์และหลีกเลี่ยงการสัมผัสอาหารโดยตรง แยกมีดและเขียงระหว่างอาหารดิบและสุก เพื่อป้องกันการปนเปื้อนข้ามระหว่างอาหารดิบกับอาหารปรุงสุก รวมทั้งระมัดระวังไม่นำสารเคมีอันตรายมาไว้บริเวณปรุงอาหารเด็ดขาด เพราะอาจปนลงในอาหารได้ \\ทั้งนี้ ครูและผู้ปกครองเป็นผู้มีส่วนสำคัญที่ทำให้เด็กได้กินอาหารที่ถูกสุขลักษณะ เช่น กินอาหารปรุง สุกใหม่ทันทีภายใน 4 ชั่วโมง สังเกตอาหาร สี กลิ่น ต้องไม่มีกลิ่นเหม็นบูดและสีไม่เปลี่ยนเป็นสีเขียว สำหรับน้ำดื่มควรสังเกตฉลากบนขวด เช่น วันหมดอายุ เครื่องหมาย อย. ก่อนและหลังกินอาหารต้องล้างมือด้วยสบู่และน้ำ ทุกครั้ง และทิ้งกล่องอาหารและเศษอาหารลงในถังขยะที่จัดไว้เท่านั้น อธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด *** กลุ่มสื่อสารองค์กร / 13 มกราคม 2555

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน