คุณกำลังมองหาอะไร?

ข่า

ข่าวแจก "สธ. ประชุมประเมินความคุ้มค่าวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก ก่อนใช้ลดหญิงไทยเสี่ยงป่วยเฉียดหมื่นต่อปี"

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

16.05.2555
1
0
แชร์
16
พ.ค.
2555

ข่าวแจก "สธ. ประชุมประเมินความคุ้มค่าวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก ก่อนใช้ลดหญิงไทยเสี่ยงป่วยเฉียดหมื่นต่อปี"

 
               กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประชุมป้องกันมะเร็งปากมดลูกโดยการใช้วัคซีน เพื่อลดอัตราเสี่ยงป่วยในสตรีไทยที่มีจำนวนเกือบ 10,000 รายต่อปี และร้อยละ 52 ในจำนวนนี้เสียชีวิต ด้วยการประเมินความคุ้มค่าการใช้วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกที่ถือเป็นโปรแกรมระดับชาติ ในราคาที่เหมาะสม พร้อมเล็งกลุ่ม เด็กนักเรียนหญิงในโรงเรียนได้รับวัคซีน
 
               วันนี้ (16 พฤษภาคม 2555) นายแพทย์สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยในการเป็นประธานการประชุมป้องกันมะเร็งปากมดลูกโดยการใช้วัคซีน ณ ห้องประชุมสมบูรณ์ วัชโรทัย อาคาร 1 ชั้น 2 กรมอนามัย ว่า มะเร็งปากมดลูกเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ โดยพบเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งเต้านม จากรายงานในปี 2551 มีผู้ป่วยเป็นมะเร็งปากมดลูกรายใหม่ในประเทศไทยเกือบ 10,000 คนต่อปี เสียชีวิต 5,216 คน หรือประมาณร้อยละ 52 โดยส่วนใหญ่มักจะพบในช่วงอายุ 45-50 ปี ถือเป็นอุบัติการณ์สูงในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปากมดลูกคือการมีคู่นอนหลายคน มีเพศสัมพันธ์เมื่ออายุน้อย การสูบบุหรี่ และภาวะภูมิต้านทานต่ำ ที่สำคัญคือปัญหาความไม่ครอบคลุมของระบบสาธารณสุขในการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ทั้งวิธีแพปสเมียร์ (Pap Smear) และ VIA (Visual Inspection with Acetic acid) ที่มีส่วนทำให้การเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกยังไม่ลดลงในสตรีไทย แต่มะเร็งปากมดลูกเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ ถ้าตรวจพบและได้รับการรักษาตั้งแต่เยื่อบุปากมดลูกเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง
 
              นายแพทย์สุรวิทย์ กล่าวต่อไปว่า ที่ผ่านมากระทรวงสาธารณสุขได้แนะนำให้สตรีไทยตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกทุก 5 ปี โดยไม่จำเป็นต้องตรวจทุกปี แต่จะต้องคัดกรองให้ครอบคลุมสตรีกลุ่มเป้าหมายอย่างน้อย ร้อยละ 80 จึงจะส่งผลในการลดอัตราสะสมของโรคได้ ประกอบกับข้อเสนอขององค์การอนามัยโลก (WHO) ที่เห็นความสำคัญของมะเร็งปากมดลูกที่เกิดจากการติดเชื้อ HPV และเป็นปัญหาสาธารณสุขของหลายประเทศ จึงได้กำหนดแนวทางการป้องกันมะเร็งปากมดลูกไว้ 3 ระดับคือ ระดับปฐมภูมิ ระดับทุติยภูมิ และระดับตติยภูมิ
 
              ระดับปฐมภูมิ คือการป้องกันไม่ให้มีการติดเชื้อไวรัส HPV โดยการลดปัจจัยเสี่ยงและฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัส HPV ซึ่งปัจจุบันการให้วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้ผลดีมาก และสามารถป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้ร้อยละ 70-80 สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ 100 เปอร์เซ็นต์ และมีระดับภูมิคุ้มกันสูงมาก โดยควรให้ในช่วงเวลาก่อนมีเพศสัมพันธ์คืออายุ 9-13 ปี และในผู้หญิงที่ไม่เคยติดเชื้อไวรัส HPV มาก่อน ระดับทุติยภูมิ เป็นการตรวจค้นหามะเร็งในระยะเริ่มแรก เช่น การตรวจแพปสเมียร์ (Pap Smear) และ VIA (Visual Inspection with Acetic acid) ซึ่งการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกทั้ง 2 วิธี อยู่ในระบบหลักประกันสุขภาพ และ ระดับตติยภูมิ เป็นการรักษาและการประคับประคอง? นายแพทย์สุรวิทย์ กล่าว
 
              นายแพทย์สุรวิทย์ กล่าวในตอนท้ายว่า การป้องกันและควบคุมมะเร็งปากมดลูกในระยะก่อนเป็นมะเร็ง ด้วยการตรวจคัดกรองกลุ่มเป้าหมายให้มีความครอบคลุมมากพอ เป็นแนวทางปฏิบัติที่กระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง และขณะเดียวกันได้พยายามที่จะผลักดันให้การใช้วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกเป็นโปรแกรมระดับชาติต่อไป ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องประชุมร่วมกันในครั้งนี้ เพื่อประเมินความเป็นไปได้และความคุ้มค่าของการใช้วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกในประเทศไทย เพราะหากทุกหน่วยงานเห็นตรงกันกับความคุ้มค่าในการใช้วัคซีนก็จะช่วยลดปัญหาโรคมะเร็งปากมดลูกที่เกิดแก่สตรี โดยใช้วัคซีนกับกลุ่มเป้าหมายที่ยังไม่มีเพศสัมพันธ์และสามารถเข้าถึงบริการ เช่น เด็กนักเรียนหญิงในโรงเรียน ช่วงอายุ 9-13 ปี ควบคู่กับการคัดกรองในอายุที่เหมาะสม อย่างไรก็ตาม คงต้องพิจารณาอย่างรอบคอบถึงประโยชน์ของประชาชนให้มากที่สุด ซึ่งต้องมีการประชุมร่วมกันระหว่างนักวิชาการเพื่อหาข้อสรุปที่ชัดเจนต่อไป
 
กลุ่มสื่อสารองค์กร / 16 พฤษภาคม 2555
กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประชุมป้องกันมะเร็งปากมดลูกโดยการใช้วัคซีน เพื่อลดอัตราเสี่ยงป่วยในสตรีไทยที่มีจำนวนเกือบ 10,000 รายต่อปี และร้อยละ 52 ในจำนวนนี้เสียชีวิต ด้วยการประเมินความคุ้มค่าการใช้วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกที่ถือเป็นโปรแกรมระดับชาติ ในราคาที่เหมาะสม พร้อมเล็งกลุ่ม เด็กนักเรียนหญิงในโรงเรียนได้รับวัคซีน วันนี้ (16 พฤษภาคม 2555) นายแพทย์สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยในการเป็นประธานการประชุมป้องกันมะเร็งปากมดลูกโดยการใช้วัคซีน ณ ห้องประชุมสมบูรณ์ วัชโรทัย อาคาร 1 ชั้น 2 กรมอนามัย ว่า มะเร็งปากมดลูกเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ โดยพบเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งเต้านม จากรายงานในปี 2551 มีผู้ป่วยเป็นมะเร็งปากมดลูกรายใหม่ในประเทศไทยเกือบ 10,000 คนต่อปี เสียชีวิต 5,216 คน หรือประมาณร้อยละ 52 โดยส่วนใหญ่มักจะพบในช่วงอายุ 45-50 ปี ถือเป็นอุบัติการณ์สูงในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปากมดลูกคือการมีคู่นอนหลายคน มีเพศสัมพันธ์เมื่ออายุน้อย การสูบบุหรี่ และภาวะภูมิต้านทานต่ำ ที่สำคัญคือปัญหาความไม่ครอบคลุมของระบบสาธารณสุขในการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ทั้งวิธีแพปสเมียร์ (Pap Smear) และ VIA (Visual Inspection with Acetic acid) ที่มีส่วนทำให้การเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกยังไม่ลดลงในสตรีไทย แต่มะเร็งปากมดลูกเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ ถ้าตรวจพบและได้รับการรักษาตั้งแต่เยื่อบุปากมดลูกเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง นายแพทย์สุรวิทย์ กล่าวต่อไปว่า ที่ผ่านมากระทรวงสาธารณสุขได้แนะนำให้สตรีไทยตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกทุก 5 ปี โดยไม่จำเป็นต้องตรวจทุกปี แต่จะต้องคัดกรองให้ครอบคลุมสตรีกลุ่มเป้าหมายอย่างน้อย ร้อยละ 80 จึงจะส่งผลในการลดอัตราสะสมของโรคได้ ประกอบกับข้อเสนอขององค์การอนามัยโลก (WHO) ที่เห็นความสำคัญของมะเร็งปากมดลูกที่เกิดจากการติดเชื้อ HPV และเป็นปัญหาสาธารณสุขของหลายประเทศ จึงได้กำหนดแนวทางการป้องกันมะเร็งปากมดลูกไว้ 3 ระดับคือ ระดับปฐมภูมิ ระดับทุติยภูมิ และระดับตติยภูมิ \\ระดับปฐมภูมิ คือการป้องกันไม่ให้มีการติดเชื้อไวรัส HPV โดยการลดปัจจัยเสี่ยงและฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัส HPV ซึ่งปัจจุบันการให้วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้ผลดีมาก และสามารถป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้ร้อยละ 70-80 สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ 100 เปอร์เซ็นต์ และมีระดับภูมิคุ้มกันสูงมาก โดยควรให้ในช่วงเวลาก่อนมีเพศสัมพันธ์คืออายุ 9-13 ปี และในผู้หญิงที่ไม่เคยติดเชื้อไวรัส HPV มาก่อน ระดับทุติยภูมิ เป็นการตรวจค้นหามะเร็งในระยะเริ่มแรก เช่น การตรวจแพปสเมียร์ (Pap Smear) และ VIA (Visual Inspection with Acetic acid) ซึ่งการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกทั้ง 2 วิธี อยู่ในระบบหลักประกันสุขภาพ และ ระดับตติยภูมิ เป็นการรักษาและการประคับประคอง นายแพทย์สุรวิทย์ กล่าว นายแพทย์สุรวิทย์ กล่าวในตอนท้ายว่า การป้องกันและควบคุมมะเร็งปากมดลูกในระยะก่อนเป็นมะเร็ง ด้วยการตรวจคัดกรองกลุ่มเป้าหมายให้มีความครอบคลุมมากพอ เป็นแนวทางปฏิบัติที่กระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง และขณะเดียวกันได้พยายามที่จะผลักดันให้การใช้วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกเป็นโปรแกรมระดับชาติต่อไป ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องประชุมร่วมกันในครั้งนี้ เพื่อประเมินความเป็นไปได้และความคุ้มค่าของการใช้วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกในประเทศไทย เพราะหากทุกหน่วยงานเห็นตรงกันกับความคุ้มค่าในการใช้วัคซีนก็จะช่วยลดปัญหาโรคมะเร็งปากมดลูกที่เกิดแก่สตรี โดยใช้วัคซีนกับกลุ่มเป้าหมายที่ยังไม่มีเพศสัมพันธ์และสามารถเข้าถึงบริการ เช่น เด็กนักเรียนหญิงในโรงเรียน ช่วงอายุ 9-13 ปี ควบคู่กับการคัดกรองในอายุที่เหมาะสม อย่างไรก็ตาม คงต้องพิจารณาอย่างรอบคอบถึงประโยชน์ของประชาชนให้มากที่สุด ซึ่งต้องมีการประชุมร่วมกันระหว่างนักวิชาการเพื่อหาข้อสรุปที่ชัดเจนต่อไป กลุ่มสื่อสารองค์กร / 16 พฤษภาคม 2555

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน