คุณกำลังมองหาอะไร?

ข่า

ข่าวแจก "สธ. เผยคนไทยกว่า 13 ล้านคน ป่วยเบาหวาน-ความดัน เหตุน้ำหนักเกิน หนุนออกกำลังกายช่วย"

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

12.01.2555
4
0
แชร์
12
มกราคม
2555

ข่าวแจก "สธ. เผยคนไทยกว่า 13 ล้านคน ป่วยเบาหวาน-ความดัน เหตุน้ำหนักเกิน หนุนออกกำลังกายช่วย"

               กระทรวงสาธารณสุข รณรงค์คนไทยออกกำลังกายหลังพบว่าร้อยละ 30 มีน้ำหนักเกินกว่าปกติและอ้วน และกว่า 13 ล้านคน เป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง รณรงค์เคลื่อนไหวออกแรง/ออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 5 วัน ๆ ละ 30 นาที หวังลดโรค
               วันนี้ (12 มกราคม 2555) นายต่อพงษ์ ไชยสาส์น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดงานมหกรรมคนอุดรรวมใจไร้พุง มุ่งสู่สุขภาพดี ณ สวนสาธารณะหนองประจักษ์ จังหวัดอุดรธานี ว่า ปัจจุบันพบว่าประชาชนมีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลง และสนใจออกกำลังกายในเวลาว่างค่อนข้างน้อย เป็นผลให้มีปัจจัยเสี่ยงและเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังสูงขึ้น โดยพบคนไทยมีน้ำหนักเกินและอ้วนเกือบร้อยละ 30 ป่วยเป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมากกว่า 13 ล้านคน และเสียชีวิตด้วยกลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน และโรคทางสมอง มากกว่าปีละ 65,000 ราย และจากการสำรวจสถานการณ์การเคลื่อนไหวออกแรง/ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพของคนไทยโดยกรมอนามัยพบว่าประชากรไทยที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ร้อยละ 20 มีกิจกรรมทางกายต่ำ และหากพิจารณาเฉพาะการออกกำลังกายพบว่า ผู้ใหญ่ออกกำลังกายสัปดาห์ละ 3 วัน ๆ ละ 30 นาที ร้อยละ 22-24 และมีเพียงร้อยละ 10 เท่านั้น ที่ออกกำลังกายเพียงพอต่อการป้องกันและลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมคนไทยให้หันมาใส่ใจการออกกำลังกายเพิ่มมากขึ้นจึงเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะกลุ่มวัยทำงาน ซึ่งเป็นวัยที่มักมีข้ออ้างว่าไม่มีเวลาว่าง ทั้ง ๆ ที่ความจริงแล้วการออกกำลังกายในวัยนี้นับว่ามีความจำเป็นมาก และควรหันมาออกกำลังกายให้มากขึ้นเพื่อให้ร่างกายได้รับการรักษาและฟื้นฟูในส่วนที่สึกหรอไปจากการทำงาน
              ดร.นพ.สมยศ ดีรัศมี อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานของคนทำงานในสถานประกอบการพบว่า ต้องทำงานสัปดาห์ละ 6 วัน วันละ 8-9 ชั่วโมง โดยขณะที่กำลังปฏิบัติงานนั้นจะอยู่ในอิริยาบถเดียวนานมากกว่า 2-3 ชั่วโมง เวลาพักในแต่ละวันน้อยกว่า 1 ชั่วโมง และขณะปฏิบัติงานที่จะต้องใช้กล้ามเนื้อและ ข้อต่อเดิมออกแรงซ้ำ ๆ ทำให้มีอาการปวดเมื่อยบริเวณนั้น กล้ามเนื้อจะล้าและประสิทธิภาพลดลงเรื่อย ๆ และถ้าเกิน 3 ชั่วโมงติดต่อกัน ข้อต่อ กระดูกและเส้นเอ็นจะเกิดการยึดติดส่งผลให้มีแคลเซียมยึดเกาะในข้อต่อ หากอยู่ในท่าเดียวนาน ๆ จะทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยได้ เช่น บริเวณขมับ คอ ไหล่ หลัง ศอก ข้อมือ ข้อนิ้ว สะโพก เอว น่อง ข้อเท้า ฝ่าเท้า เป็นต้น ซึ่งบางครั้งจะมีการกดทับเส้นประสาท มีอาการชา ปวดร้าว หน้ามืด มีผลทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง อาจเกิดอุบัติเหตุและข้อผิดพลาดในการทำงานได้
             ดร.นพ.สมยศ กล่าวต่อว่า การออกกำลังกายสำหรับวัยทำงานสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบให้เหมาะสมตามเวลาและสถานที่ อาทิ การฝึกกายบริหารแบบง่าย ๆ เช่น การยกแขนขึ้นลง การบิดลำตัว การก้ม การเงย จะช่วยให้การทำงานของปอด หัวใจ กล้ามเนื้อแข็งแรง ทั้งยังช่วยให้ระบบการไหลเวียนของเลือดมีประสิทธิภาพมากขึ้น หรือเลือกออกกำลังกายด้วยแอโรบิคก็ทำได้ง่ายเช่นกัน เพราะไม่มีอุปกรณ์ที่ยุ่งยาก ท่าเต้นก็สามารถประยุกต์ได้จากวัฒนธรรมของพื้นที่ เช่น ท่าแม่ไม้มวยไทย ท่าร่ายรำ 4 ภาค เป็นต้น สถานที่ออกกำลังกายก็สามารถใช้ที่โล่งแจ้ง และเพิ่มความสนุกสนานด้วยจังหวะดนตรีและการเต้นเป็นหมู่คณะ ส่งผลให้ผู้ออกกำลังกายมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงและมีสุขภาพจิตที่ด้วย ทั้งนี้ กลุ่มวัยทำงานควรเคลื่อนไหวออกกำลังระดับปานกลางอย่างสัปดาห์ละ 5 วัน ๆ ละ 30 นาที ซึ่งมีการศึกษาจำนวนมากชี้ให้เห็นว่า การออกกำลังกายที่หนักปานกลางหรือออกกำลังปานกลางสะสมให้ได้อย่างน้อยวันละ 30 นาที ทุกวันหรือเกือบทุกวัน ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน และ โรคทางสมองลงได้ประมาณร้อยละ 50 และโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ประมาณร้อยละ 30
            สำหรับการจัดงานมหกรรมคนอุดรรวมใจไร้พุง มุ่งสู่สุขภาพดี ในครั้งนี้ จึงเป็นการกระตุ้นให้ทุกคนหันมาให้ความสำคัญต่อการออกกำลังกายสร้างสุขภาพดีให้กับตนเอง พร้อมทั้งใส่ใจในเรื่องการบริโภคอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ลดหวาน มัน เค็ม เพิ่มผักผลไม้ให้มากขึ้น เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังต่าง ๆ อาทิ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน และโรคอ้วนลงพุง ซึ่งเป็นนโยบายคนไทยไร้พุงที่เป็นยุทธศาสตร์สำคัญของกรมอนามัย? อธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด
 
***
 
กลุ่มสื่อสารองค์กร / 12 มกราคม 2555
กระทรวงสาธารณสุข รณรงค์คนไทยออกกำลังกายหลังพบว่าร้อยละ 30 มีน้ำหนักเกินกว่าปกติและอ้วน และกว่า 13 ล้านคน เป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง รณรงค์เคลื่อนไหวออกแรง/ออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 5 วัน ๆ ละ 30 นาที หวังลดโรค วันนี้ (12 มกราคม 2555) นายต่อพงษ์ ไชยสาส์น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดงานมหกรรมคนอุดรรวมใจไร้พุง มุ่งสู่สุขภาพดี ณ สวนสาธารณะหนองประจักษ์ จังหวัดอุดรธานี ว่า ปัจจุบันพบว่าประชาชนมีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลง และสนใจออกกำลังกายในเวลาว่างค่อนข้างน้อย เป็นผลให้มีปัจจัยเสี่ยงและเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังสูงขึ้น โดยพบคนไทยมีน้ำหนักเกินและอ้วนเกือบร้อยละ 30 ป่วยเป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมากกว่า 13 ล้านคน และเสียชีวิตด้วยกลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน และโรคทางสมอง มากกว่าปีละ 65,000 ราย และจากการสำรวจสถานการณ์การเคลื่อนไหวออกแรง/ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพของคนไทยโดยกรมอนามัยพบว่าประชากรไทยที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ร้อยละ 20 มีกิจกรรมทางกายต่ำ และหากพิจารณาเฉพาะการออกกำลังกายพบว่า ผู้ใหญ่ออกกำลังกายสัปดาห์ละ 3 วัน ๆ ละ 30 นาที ร้อยละ 22-24 และมีเพียงร้อยละ 10 เท่านั้น ที่ออกกำลังกายเพียงพอต่อการป้องกันและลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมคนไทยให้หันมาใส่ใจการออกกำลังกายเพิ่มมากขึ้นจึงเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะกลุ่มวัยทำงาน ซึ่งเป็นวัยที่มักมีข้ออ้างว่าไม่มีเวลาว่าง ทั้ง ๆ ที่ความจริงแล้วการออกกำลังกายในวัยนี้นับว่ามีความจำเป็นมาก และควรหันมาออกกำลังกายให้มากขึ้นเพื่อให้ร่างกายได้รับการรักษาและฟื้นฟูในส่วนที่สึกหรอไปจากการทำงาน ดร.นพ.สมยศ ดีรัศมี อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานของคนทำงานในสถานประกอบการพบว่า ต้องทำงานสัปดาห์ละ 6 วัน วันละ 8-9 ชั่วโมง โดยขณะที่กำลังปฏิบัติงานนั้นจะอยู่ในอิริยาบถเดียวนานมากกว่า 2-3 ชั่วโมง เวลาพักในแต่ละวันน้อยกว่า 1 ชั่วโมง และขณะปฏิบัติงานที่จะต้องใช้กล้ามเนื้อและ ข้อต่อเดิมออกแรงซ้ำ ๆ ทำให้มีอาการปวดเมื่อยบริเวณนั้น กล้ามเนื้อจะล้าและประสิทธิภาพลดลงเรื่อย ๆ และถ้าเกิน 3 ชั่วโมงติดต่อกัน ข้อต่อ กระดูกและเส้นเอ็นจะเกิดการยึดติดส่งผลให้มีแคลเซียมยึดเกาะในข้อต่อ หากอยู่ในท่าเดียวนาน ๆ จะทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยได้ เช่น บริเวณขมับ คอ ไหล่ หลัง ศอก ข้อมือ ข้อนิ้ว สะโพก เอว น่อง ข้อเท้า ฝ่าเท้า เป็นต้น ซึ่งบางครั้งจะมีการกดทับเส้นประสาท มีอาการชา ปวดร้าว หน้ามืด มีผลทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง อาจเกิดอุบัติเหตุและข้อผิดพลาดในการทำงานได้ ดร.นพ.สมยศ กล่าวต่อว่า การออกกำลังกายสำหรับวัยทำงานสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบให้เหมาะสมตามเวลาและสถานที่ อาทิ การฝึกกายบริหารแบบง่าย ๆ เช่น การยกแขนขึ้นลง การบิดลำตัว การก้ม การเงย จะช่วยให้การทำงานของปอด หัวใจ กล้ามเนื้อแข็งแรง ทั้งยังช่วยให้ระบบการไหลเวียนของเลือดมีประสิทธิภาพมากขึ้น หรือเลือกออกกำลังกายด้วยแอโรบิคก็ทำได้ง่ายเช่นกัน เพราะไม่มีอุปกรณ์ที่ยุ่งยาก ท่าเต้นก็สามารถประยุกต์ได้จากวัฒนธรรมของพื้นที่ เช่น ท่าแม่ไม้มวยไทย ท่าร่ายรำ 4 ภาค เป็นต้น สถานที่ออกกำลังกายก็สามารถใช้ที่โล่งแจ้ง และเพิ่มความสนุกสนานด้วยจังหวะดนตรีและการเต้นเป็นหมู่คณะ ส่งผลให้ผู้ออกกำลังกายมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงและมีสุขภาพจิตที่ด้วย ทั้งนี้ กลุ่มวัยทำงานควรเคลื่อนไหวออกกำลังระดับปานกลางอย่างสัปดาห์ละ 5 วัน ๆ ละ 30 นาที ซึ่งมีการศึกษาจำนวนมากชี้ให้เห็นว่า การออกกำลังกายที่หนักปานกลางหรือออกกำลังปานกลางสะสมให้ได้อย่างน้อยวันละ 30 นาที ทุกวันหรือเกือบทุกวัน ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน และ โรคทางสมองลงได้ประมาณร้อยละ 50 และโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ประมาณร้อยละ 30 \\สำหรับการจัดงานมหกรรมคนอุดรรวมใจไร้พุง มุ่งสู่สุขภาพดี ในครั้งนี้ จึงเป็นการกระตุ้นให้ทุกคนหันมาให้ความสำคัญต่อการออกกำลังกายสร้างสุขภาพดีให้กับตนเอง พร้อมทั้งใส่ใจในเรื่องการบริโภคอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ลดหวาน มัน เค็ม เพิ่มผักผลไม้ให้มากขึ้น เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังต่าง ๆ อาทิ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน และโรคอ้วนลงพุง ซึ่งเป็นนโยบายคนไทยไร้พุงที่เป็นยุทธศาสตร์สำคัญของกรมอนามัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด *** กลุ่มสื่อสารองค์กร / 12 มกราคม 2555

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน