คุณกำลังมองหาอะไร?

ข่า

ข่าวแจก "สธ. เผย 7 ปี ใส่ฟันเทียมพระราชทานผู้สูงวัย 230,000 ราย ปักธงปี55 ลุยเพิ่ม 30,000 ราย"

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

11.01.2555
0
0
แชร์
11
มกราคม
2555

ข่าวแจก "สธ. เผย 7 ปี ใส่ฟันเทียมพระราชทานผู้สูงวัย 230,000 ราย ปักธงปี55 ลุยเพิ่ม 30,000 ราย"

                  กระทรวงสาธารณสุข เผยผลดำเนินงานโครงการฟันเทียมพระราชทานตั้งแต่ปี 2548-ปัจจุบัน ใส่ฟันเทียมให้ผู้สูงอายุแล้ว 230,000 ราย เตรียมลุยต่อในปี 2555 ตั้งเป้าเพิ่มอีก 30,000 ราย เพื่อสร้างสุขภาพ ช่องปากที่ดี พร้อมจัดประชุมวิชาการในโครงการฟันเทียมพระราชทานฯ เพื่อพัฒนาวิชาการและเทคโนโลยีสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ
                  วันนี้ (11 มกราคม 2555) นายต่อพงษ์ ไชยสาส์น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดงานมหกรรมการประชุมวิชาการในโครงการฟันเทียมพระราชทานและการส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ครั้งที่ 2 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 ณ ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรี ว่า นับตั้งแต่ปี 2548 จนถึงปัจจุบัน กระทรวงสาธารณสุขโดยกรมอนามัยและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการโครงการฟันเทียมพระราชทานอย่างต่อเนื่อง ด้วยการจัดบริการใส่ฟันเทียมแก่ผู้สูงอายุทำให้เข้าถึงบริการได้ มากขึ้น ขณะนี้มีจำนวนผู้สูงอายุทั่วประเทศที่เข้ารับบริการใส่ฟันเทียม 230,000 ราย พัฒนาศักยภาพชมรมผู้สูงอายุให้สามารถจัดกิจกรรมเพื่อการดูแลสุขภาพช่องปากตนเอง 1,782 ชมรม และพัฒนารูปแบบบริการครอบคลุมการส่งเสริมป้องกันโรคในช่องปากในหน่วยบริการสุขภาพ 219 แห่ง โดยในปี 2555 กระทรวงสาธารณสุขยังคงให้ความสำคัญกับสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ โดยกำหนดให้เป็น 1 ในโครงการสำคัญตามนโยบายของกระทรวง และกำหนดเป้าหมายจัดบริการใส่ฟันเทียมทั้งปากแก่ผู้สูงอายุทั่วประเทศอีก 30,000 ราย จัดบริการรากฟันเทียม 2,800 ราย และจัดให้มีชมรมผู้สูงอายุด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปากเพิ่มขึ้นอีก 250 ชมรม เพื่อแก้ปัญหาการสูญเสียฟันแก่ผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง ซึ่งล่าสุดกระทรวงสาธารณสุขโดยกรมอนามัยได้ร่วมกับหน่วยทันตกรรมพระราชทาน คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาสงขลานครินทร์ และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสตูล จัดงานรณรงค์คืนรอยยิ้มแก่ผู้สูงวัยภาคใต้ เมื่อ 22 ธันวาคมที่ผ่านมา ซึ่งมีผู้สูงอายุ ใส่ฟันเทียมพระราชทานจำนวน 100 ราย และประชาชนทั่วไปได้รับบริการรักษาทางทันตกรรม 400 ราย
                 ดร.นพ.สมยศ ดีรัศมี อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า ผลสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากของคนไทยล่าสุด ปี 2550 พบว่า ส่วนใหญ่มีปัญหาทั้งโรคเหงือกอักเสบและฟันผุตั้งแต่วัยเด็ก ส่งผลให้สูญเสียฟันตั้งแต่วัยเด็กและสะสมจนกลายเป็นการสูญเสียฟันทั้งปาก ทำให้เกิดปัญหาในวัยสูงอายุ โดยพบว่าผู้สูงอายุร้อยละ 92 หรือเกือบทุกคนมีการสูญเสียฟัน 1 ซี่ และร้อยละ 10 หรือประมาณ 700,000 คน มีการสูญเสียฟันทั้งปาก ส่วนผู้ที่มีอายุ 80 ปีขึ้นไปมีฟันเฉลี่ยเพียง 10.5 ซี่ต่อคน สาเหตุมาจากการไม่ใส่ใจทำความสะอาดช่องปากอย่างต่อเนื่อง มาตั้งแต่เด็ก ซึ่งการสูญเสียฟันนอกจากจะส่งผลกระทบโดยตรงทำให้ผู้สูงอายุมีปัญหาการเคี้ยว การกัด การกลืนอาหารแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิต เช่น ภาวะโภชนาการ ระบบทางเดินอาหาร รวมถึง ด้านจิตใจที่ขาดความเชื่อมั่นในตนเองด้วย โครงการฟันเทียมพระราชทานจึงเป็นการส่งเสริมและฟื้นฟูสุขภาพช่องปากให้มีฟันสำหรับใช้เคี้ยวอาหารและคืนรอยยิ้มให้กับผู้สูงวัย ซึ่งจากการติดตามผู้สูงอายุที่รับบริการใส่ ฟันเทียมพระราชทานพบว่า ร้อยละ 97 พึงพอใจที่ได้ใส่ฟันเทียมพระราชทาน และกินอาหารได้มากขึ้นร้อยละ 83 พูดชัดขึ้นร้อยละ 66 พอใจในความสวยงามมากขึ้นร้อยละ 71 มีความสุขมากขึ้นร้อยละ 69 และมั่นใจในการเข้าสังคมมากขึ้นร้อยละ 49
              ทั้งนี้ สำหรับการประชุมวิชาการในโครงการฟันเทียมพระราชทานและการส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ครั้งที่ 2ในครั้งนี้ ถือเป็นเวทีเพื่อพัฒนาวิชาการทั้งด้านองค์ความรู้ เทคโนโลยี รูปแบบและแนวทาง การสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุให้กับบุคลากรที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคประชาชน ภายใต้กรอบแนวคิดวิชาการสร้างสรรค์ จุดประกายการทำงานเพื่อสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ โดยมีกิจกรรมและนิทรรศการ ที่น่าสนใจ อาทิ นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและนวัตกรรมเพื่อสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ นิทรรศการหน่วยงานดีเด่นรวมทั้งชมรมผู้สูงอายุด้านการสร้างเสริมสุขภาพช่องปาก พร้อมทั้งพิธีมอบฟันเทียมพระราชทานแก่ผู้สูงอายุ มอบโล่และเกียรติบัตรประกาศเกียรติคุณแก่หน่วยงานสนับสนุนโครงการ หน่วยงานดีเด่นด้านการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ และมอบรางวัลผู้ชนะเลิศและรองชนะเลิศการประกวด 10 ยอดฟันดี วัย 80 ปี? อธิบดีกรมอนามัย กล่าว
***
 
กลุ่มสื่อสารองค์กร / 11 มค. 2555
กระทรวงสาธารณสุข เผยผลดำเนินงานโครงการฟันเทียมพระราชทานตั้งแต่ปี 2548-ปัจจุบัน ใส่ฟันเทียมให้ผู้สูงอายุแล้ว 230,000 ราย เตรียมลุยต่อในปี 2555 ตั้งเป้าเพิ่มอีก 30,000 ราย เพื่อสร้างสุขภาพ ช่องปากที่ดี พร้อมจัดประชุมวิชาการในโครงการฟันเทียมพระราชทานฯ เพื่อพัฒนาวิชาการและเทคโนโลยีสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ วันนี้ (11 มกราคม 2555) นายต่อพงษ์ ไชยสาส์น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดงานมหกรรมการประชุมวิชาการในโครงการฟันเทียมพระราชทานและการส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ครั้งที่ 2 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 ณ ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรี ว่า นับตั้งแต่ปี 2548 จนถึงปัจจุบัน กระทรวงสาธารณสุขโดยกรมอนามัยและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการโครงการฟันเทียมพระราชทานอย่างต่อเนื่อง ด้วยการจัดบริการใส่ฟันเทียมแก่ผู้สูงอายุทำให้เข้าถึงบริการได้ มากขึ้น ขณะนี้มีจำนวนผู้สูงอายุทั่วประเทศที่เข้ารับบริการใส่ฟันเทียม 230,000 ราย พัฒนาศักยภาพชมรมผู้สูงอายุให้สามารถจัดกิจกรรมเพื่อการดูแลสุขภาพช่องปากตนเอง 1,782 ชมรม และพัฒนารูปแบบบริการครอบคลุมการส่งเสริมป้องกันโรคในช่องปากในหน่วยบริการสุขภาพ 219 แห่ง โดยในปี 2555 กระทรวงสาธารณสุขยังคงให้ความสำคัญกับสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ โดยกำหนดให้เป็น 1 ในโครงการสำคัญตามนโยบายของกระทรวง และกำหนดเป้าหมายจัดบริการใส่ฟันเทียมทั้งปากแก่ผู้สูงอายุทั่วประเทศอีก 30,000 ราย จัดบริการรากฟันเทียม 2,800 ราย และจัดให้มีชมรมผู้สูงอายุด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปากเพิ่มขึ้นอีก 250 ชมรม เพื่อแก้ปัญหาการสูญเสียฟันแก่ผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง ซึ่งล่าสุดกระทรวงสาธารณสุขโดยกรมอนามัยได้ร่วมกับหน่วยทันตกรรมพระราชทาน คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาสงขลานครินทร์ และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสตูล จัดงานรณรงค์คืนรอยยิ้มแก่ผู้สูงวัยภาคใต้ เมื่อ 22 ธันวาคมที่ผ่านมา ซึ่งมีผู้สูงอายุ ใส่ฟันเทียมพระราชทานจำนวน 100 ราย และประชาชนทั่วไปได้รับบริการรักษาทางทันตกรรม 400 ราย ดร.นพ.สมยศ ดีรัศมี อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า ผลสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากของคนไทยล่าสุด ปี 2550 พบว่า ส่วนใหญ่มีปัญหาทั้งโรคเหงือกอักเสบและฟันผุตั้งแต่วัยเด็ก ส่งผลให้สูญเสียฟันตั้งแต่วัยเด็กและสะสมจนกลายเป็นการสูญเสียฟันทั้งปาก ทำให้เกิดปัญหาในวัยสูงอายุ โดยพบว่าผู้สูงอายุร้อยละ 92 หรือเกือบทุกคนมีการสูญเสียฟัน 1 ซี่ และร้อยละ 10 หรือประมาณ 700,000 คน มีการสูญเสียฟันทั้งปาก ส่วนผู้ที่มีอายุ 80 ปีขึ้นไปมีฟันเฉลี่ยเพียง 10.5 ซี่ต่อคน สาเหตุมาจากการไม่ใส่ใจทำความสะอาดช่องปากอย่างต่อเนื่อง มาตั้งแต่เด็ก ซึ่งการสูญเสียฟันนอกจากจะส่งผลกระทบโดยตรงทำให้ผู้สูงอายุมีปัญหาการเคี้ยว การกัด การกลืนอาหารแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิต เช่น ภาวะโภชนาการ ระบบทางเดินอาหาร รวมถึง ด้านจิตใจที่ขาดความเชื่อมั่นในตนเองด้วย โครงการฟันเทียมพระราชทานจึงเป็นการส่งเสริมและฟื้นฟูสุขภาพช่องปากให้มีฟันสำหรับใช้เคี้ยวอาหารและคืนรอยยิ้มให้กับผู้สูงวัย ซึ่งจากการติดตามผู้สูงอายุที่รับบริการใส่ ฟันเทียมพระราชทานพบว่า ร้อยละ 97 พึงพอใจที่ได้ใส่ฟันเทียมพระราชทาน และกินอาหารได้มากขึ้นร้อยละ 83 พูดชัดขึ้นร้อยละ 66 พอใจในความสวยงามมากขึ้นร้อยละ 71 มีความสุขมากขึ้นร้อยละ 69 และมั่นใจในการเข้าสังคมมากขึ้นร้อยละ 49 \\ทั้งนี้ สำหรับการประชุมวิชาการในโครงการฟันเทียมพระราชทานและการส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ครั้งที่ 2ในครั้งนี้ ถือเป็นเวทีเพื่อพัฒนาวิชาการทั้งด้านองค์ความรู้ เทคโนโลยี รูปแบบและแนวทาง การสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุให้กับบุคลากรที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคประชาชน ภายใต้กรอบแนวคิดวิชาการสร้างสรรค์ จุดประกายการทำงานเพื่อสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ โดยมีกิจกรรมและนิทรรศการ ที่น่าสนใจ อาทิ นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและนวัตกรรมเพื่อสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ นิทรรศการหน่วยงานดีเด่นรวมทั้งชมรมผู้สูงอายุด้านการสร้างเสริมสุขภาพช่องปาก พร้อมทั้งพิธีมอบฟันเทียมพระราชทานแก่ผู้สูงอายุ มอบโล่และเกียรติบัตรประกาศเกียรติคุณแก่หน่วยงานสนับสนุนโครงการ หน่วยงานดีเด่นด้านการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ และมอบรางวัลผู้ชนะเลิศและรองชนะเลิศการประกวด 10 ยอดฟันดี วัย 80 ปี อธิบดีกรมอนามัย กล่าว *** กลุ่มสื่อสารองค์กร / 11 มค. 2555

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน