คุณกำลังมองหาอะไร?

ข่า

ข่าวแจก "สธ. เผย 10 ปี ยกตลาดสด 1,302 แห่ง เป็นตลาดสด น่าซื้อ ตั้งเป้าปี55 ลุยตลาดนัด 77 แห่ง ผ่านเกณฑ์ 1 จังหวัด 1 ตลาดนัดต้นแบบ"

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

04.05.2555
0
0
แชร์
04
พ.ค.
2555

ข่าวแจก "สธ. เผย 10 ปี ยกตลาดสด 1,302 แห่ง เป็นตลาดสด น่าซื้อ ตั้งเป้าปี55 ลุยตลาดนัด 77 แห่ง ผ่านเกณฑ์ 1 จังหวัด 1 ตลาดนัดต้นแบบ"

          กระทรวงสาธารณสุข เร่งพัฒนาตลาดสดต่อเนื่อง หลังจากดำเนินโครงการ 10 ปี ยกระดับตลาดสด ผ่านเกณฑ์มาตรฐานตลาดสด น่าซื้อ 1,302 แห่งทั่วประเทศ พร้อมตั้งเป้าพัฒนาต่อในปี 2555 มุ่งตลาดนัด ผลักดันเป็น ตลาดนัด น่าซื้อ อย่างน้อยจังหวัดละ 1 แห่ง
         วันนี้ (4 พฤษภาคม 2555) นายแพทย์สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมก้าวสู่ 1 ทศวรรษการพัฒนาตลาดสะอาด อาหารปลอดภัย มีมาตรฐานน่าซื้อ ประจำปี 2555 ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร ว่า กระทรวงสาธารณสุขโดยกรมอนามัย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กรมส่งเสริม การปกครองท้องถิ่น และกรุงเทพมหานคร ได้ร่วมกันพัฒนาตลาดสดไทยให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานตลาดสด น่าซื้อ มาตั้งแต่ปี 2545 โดยการขับเคลื่อนกระตุ้นเร่งรัดให้ผู้ประกอบกิจการตลาดปรับปรุงและพัฒนาตลาดให้ได้ตามข้อกำหนดตามกฎกระทรวงฯ ซึ่งผลการดำเนินงานในช่วง 10 ปี พบว่าตลาดสดประเภทที่ 1 ที่มีโครงสร้างอาคารทั่วประเทศ จำนวน 1,533 แห่ง ผ่านเกณฑ์ตลาดสด น่าซื้อ จำนวน 1,302 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 84.93 และยังมีตลาดที่ยังไม่ผ่านเกณฑ์ ที่ต้องปรับปรุงและพัฒนาอีกจำนวน 231 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 15.07
         นายแพทย์สุรวิทย์ กล่าวต่อไปว่า ปัญหาที่พบส่วนใหญ่คือปัญหาการรักษาสภาพตลาดสดให้สะอาด ถูกสุขลักษณะ โดยเฉพาะปัญหาโครงสร้างอาคารตลาดที่ส่วนใหญ่ค่อนข้างเก่า ชำรุดทรุดโทรม ไม่สามารถปรับปรุงให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม และที่สำคัญคือต้องมีการตรวจสอบสารปนเปื้อน ในอาหารเพื่อสร้างความมั่นใจและความปลอดภัยให้ผู้บริโภคโดยเฉพาะ 6 สารอันตราย ได้แก่ สารฟอร์มาลีน สารกันรา สารบอแรกซ์ สารฟอกชาว ยาฆ่าแมลง และสารเร่งเนื้อแดงในเนื้อหมู นายแพทย์สุรวิทย์ กล่าวต่อว่า อีกหนึ่งปัญหาที่พบคือ ตลาดประเภทที่ 2 ซึ่งเป็นตลาดที่ไม่มีโครงสร้างอาคาร และส่วนใหญ่เป็นตลาดนัดที่ยังไม่มีการขออนุญาตเปิดดำเนินกิจการตลาดประมาณ 2,166 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 72.37 จากจำนวน 3,500 แห่งทั่วประเทศ กระทรวงสาธารณสุขจึงต้องอาศัยความร่วมมือให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นช่วยกำกับดูแลอย่างต่อเนื่อง เพราะจากผลสำรวจสถานการณ์ความปลอดภัยด้านอาหารและสุขลักษณะของการจำหน่ายอาหารในตลาดนัดของกรมอนามัย ปี 2553 พบสารเคมีที่ปนเปื้อนกับอาหารมากที่สุดคือ สารฟอกขาว ร้อยละ 33.33 โดยพบในอาหารประเภทหน่อไม้ดอง ผักกาดดอง ขิงหั่นฝอย และผลไม้ดองต่าง ๆ นอกจากนี้พบอาหารปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรีย ร้อยละ 37.45 ส่วนสารเคมีตกค้างหรือปลอมปนในอาหารที่พบรองลงมาคือ สารกันรา ฟอร์มาลิน และบอแรกซ์ ซึ่งสารเหล่านี้เป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภค หากมีการรับประทานเป็นจำนวนมากหรือรับประทานอย่างต่อเนื่องก็จะเกิดการสะสม ส่งผลต่อการเกิดโรคได้
          ทั้งนี้ เพื่อกระตุ้นการพัฒนาตลาดสด และสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคในปี 2555 ซึ่งก้าวสู่ 10 ปีของการพัฒนาตลาดสด กระทรวงสาธารณสุขได้ขอความร่วมมือให้ทุกจังหวัดเร่งรัดพัฒนาตลาดนัดให้ผ่านเกณฑ์ตลาดนัด น่าซื้อ อย่างน้อยจังหวัดละ 1 แห่ง รวม 77 แห่ง ตามนโยบาย 1 จังหวัด 1 ตลาดนัดต้นแบบ โดยมีเกณฑ์มาตรฐาน อาทิ มีการแยกประเภทสินค้าเป็นสัดส่วน แผงจำหน่ายสินค้าประเภทอาหารต้องสูงจากพื้น ไม่น้อยกว่า 60 เซนติเมตร อาหารปรุงสำเร็จต้องมีการปกปิดอาหาร มีการทำความสะอาดตลาดเป็นประจำ ทุกวันที่เปิดขาย และอาหารที่จำหน่ายต้องมีการตรวจสอบสารปนเปื้อน เป็นต้น? รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวในที่สุด
 
กลุ่มสื่อสารองค์กร / 4 พฤษภาคม 2555
กระทรวงสาธารณสุข เร่งพัฒนาตลาดสดต่อเนื่อง หลังจากดำเนินโครงการ 10 ปี ยกระดับตลาดสด ผ่านเกณฑ์มาตรฐานตลาดสด น่าซื้อ 1,302 แห่งทั่วประเทศ พร้อมตั้งเป้าพัฒนาต่อในปี 2555 มุ่งตลาดนัด ผลักดันเป็น ตลาดนัด น่าซื้อ อย่างน้อยจังหวัดละ 1 แห่ง วันนี้ (4 พฤษภาคม 2555) นายแพทย์สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมก้าวสู่ 1 ทศวรรษการพัฒนาตลาดสะอาด อาหารปลอดภัย มีมาตรฐานน่าซื้อ ประจำปี 2555 ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร ว่า กระทรวงสาธารณสุขโดยกรมอนามัย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กรมส่งเสริม การปกครองท้องถิ่น และกรุงเทพมหานคร ได้ร่วมกันพัฒนาตลาดสดไทยให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานตลาดสด น่าซื้อ มาตั้งแต่ปี 2545 โดยการขับเคลื่อนกระตุ้นเร่งรัดให้ผู้ประกอบกิจการตลาดปรับปรุงและพัฒนาตลาดให้ได้ตามข้อกำหนดตามกฎกระทรวงฯ ซึ่งผลการดำเนินงานในช่วง 10 ปี พบว่าตลาดสดประเภทที่ 1 ที่มีโครงสร้างอาคารทั่วประเทศ จำนวน 1,533 แห่ง ผ่านเกณฑ์ตลาดสด น่าซื้อ จำนวน 1,302 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 84.93 และยังมีตลาดที่ยังไม่ผ่านเกณฑ์ ที่ต้องปรับปรุงและพัฒนาอีกจำนวน 231 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 15.07 นายแพทย์สุรวิทย์ กล่าวต่อไปว่า ปัญหาที่พบส่วนใหญ่คือปัญหาการรักษาสภาพตลาดสดให้สะอาด ถูกสุขลักษณะ โดยเฉพาะปัญหาโครงสร้างอาคารตลาดที่ส่วนใหญ่ค่อนข้างเก่า ชำรุดทรุดโทรม ไม่สามารถปรับปรุงให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม และที่สำคัญคือต้องมีการตรวจสอบสารปนเปื้อน ในอาหารเพื่อสร้างความมั่นใจและความปลอดภัยให้ผู้บริโภคโดยเฉพาะ 6 สารอันตราย ได้แก่ สารฟอร์มาลีน สารกันรา สารบอแรกซ์ สารฟอกชาว ยาฆ่าแมลง และสารเร่งเนื้อแดงในเนื้อหมู นายแพทย์สุรวิทย์ กล่าวต่อว่า อีกหนึ่งปัญหาที่พบคือ ตลาดประเภทที่ 2 ซึ่งเป็นตลาดที่ไม่มีโครงสร้างอาคาร และส่วนใหญ่เป็นตลาดนัดที่ยังไม่มีการขออนุญาตเปิดดำเนินกิจการตลาดประมาณ 2,166 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 72.37 จากจำนวน 3,500 แห่งทั่วประเทศ กระทรวงสาธารณสุขจึงต้องอาศัยความร่วมมือให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นช่วยกำกับดูแลอย่างต่อเนื่อง เพราะจากผลสำรวจสถานการณ์ความปลอดภัยด้านอาหารและสุขลักษณะของการจำหน่ายอาหารในตลาดนัดของกรมอนามัย ปี 2553 พบสารเคมีที่ปนเปื้อนกับอาหารมากที่สุดคือ สารฟอกขาว ร้อยละ 33.33 โดยพบในอาหารประเภทหน่อไม้ดอง ผักกาดดอง ขิงหั่นฝอย และผลไม้ดองต่าง ๆ นอกจากนี้พบอาหารปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรีย ร้อยละ 37.45 ส่วนสารเคมีตกค้างหรือปลอมปนในอาหารที่พบรองลงมาคือ สารกันรา ฟอร์มาลิน และบอแรกซ์ ซึ่งสารเหล่านี้เป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภค หากมีการรับประทานเป็นจำนวนมากหรือรับประทานอย่างต่อเนื่องก็จะเกิดการสะสม ส่งผลต่อการเกิดโรคได้ \\ทั้งนี้ เพื่อกระตุ้นการพัฒนาตลาดสด และสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคในปี 2555 ซึ่งก้าวสู่ 10 ปีของการพัฒนาตลาดสด กระทรวงสาธารณสุขได้ขอความร่วมมือให้ทุกจังหวัดเร่งรัดพัฒนาตลาดนัดให้ผ่านเกณฑ์ตลาดนัด น่าซื้อ อย่างน้อยจังหวัดละ 1 แห่ง รวม 77 แห่ง ตามนโยบาย 1 จังหวัด 1 ตลาดนัดต้นแบบ โดยมีเกณฑ์มาตรฐาน อาทิ มีการแยกประเภทสินค้าเป็นสัดส่วน แผงจำหน่ายสินค้าประเภทอาหารต้องสูงจากพื้น ไม่น้อยกว่า 60 เซนติเมตร อาหารปรุงสำเร็จต้องมีการปกปิดอาหาร มีการทำความสะอาดตลาดเป็นประจำ ทุกวันที่เปิดขาย และอาหารที่จำหน่ายต้องมีการตรวจสอบสารปนเปื้อน เป็นต้น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวในที่สุด กลุ่มสื่อสารองค์กร / 4 พฤษภาคม 2555

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน