คุณกำลังมองหาอะไร?

ข่า

ข่าวแจก "กรม อ. เผย 14 ปีข้างหน้า ประชากรสูงอายุพุ่งกว่า 14 ล้านคน เตรียมครู ก. ดูแลสุขภาพระยะยาว"

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

28.02.2555
11
0
แชร์
28
กุมภาพันธ์
2555

ข่าวแจก "กรม อ. เผย 14 ปีข้างหน้า ประชากรสูงอายุพุ่งกว่า 14 ล้านคน เตรียมครู ก. ดูแลสุขภาพระยะยาว"

           กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เตรียมรับมือสังคมผู้สูงอายุในอีก 14 ปีข้างหน้า ซึ่งคาดว่าจะมีประชากรสูงอายุกว่า 14 ล้านคน พัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมดูแลผู้สูงอายุ พร้อมจัดอบรมพัฒนาศักยภาพบุคลากรและภาคีเครือข่าย (ครู ก.) ดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว
            วันนี้ (23 กุมภาพันธ์ 2554) ดร.นพ.สมยศ ดีรัศมี อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการอบรมพัฒนาศักยภาพบุคลากรและภาคีเครือข่าย (ครู ก.) ด้านการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว ณ โรงแรมริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรี ว่า จากปัญหาการเพิ่มของประชากรผู้สูงอายุไทยอย่างรวดเร็ว จาก 7 ล้านคน (ร้อยละ 10.7) เป็น 14.5 ล้านคน (ร้อยละ 20) ในปี 2568 หรืออีก 14 ปีข้างหน้า นับว่าเป็นการก้าวสู่ภาวะประชากรสูงอายุอย่างรวดเร็วเป็น 2 เท่าในระยะเวลา อันสั้น และจากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่า ผู้สูงอายุที่อยู่ตามลำพังในครอบครัว มีแนวโน้มสูงขึ้นจากร้อยละ 3.6 ในปี 2537 เป็นร้อยละ 7.7 ในปี 2550 ส่งผลให้ผู้สูงอายุที่อยู่คนเดียวมีความรู้สึกเหงา ร้อยละ 51.2 ไม่มีคนดูแลเมื่อเวลาเจ็บป่วย ร้อยละ 27.5 ต้องการคนดูแลเป็นบางเวลา ร้อยละ 52.2 และต้องการคนดูแลตลอดเวลา ร้อยละ 10.2 ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุพบว่า ผู้สูงอายุระหว่าง 60?69 ปี ร้อยละ 69.3 เป็นโรคเรื้อรัง และจะพบโรคเพิ่มมากขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น ในกลุ่มอายุ 90 ปี พบร้อยละ 83.3 ซึ่งโรคที่พบบ่อยที่สุดคือ โรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 31.7 โรคเบาหวาน ร้อยละ 13.3 โรคหัวใจ ร้อยละ 7 อัมพาต/อัมพฤกษ์ ร้อยละ 2.5 โรคหลอดเลือดในสมองตีบ ร้อยละ 1.6 และโรคมะเร็ง ร้อยละ 0.5 ตามลำดับ
            ดร.นพ.สมยศ กล่าวต่อไปว่า กรมอนามัยได้ตระหนักและเห็นคุณค่าของผู้สูงอายุไทยซึ่งเป็นปูชนียบุคคลและเป็นคลังสมองของแผ่นดิน จึงได้ดำเนินโครงการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุให้ครอบคลุมทั้งด้านสุขภาพกาย จิตและสังคม โดยการแบ่งผู้สูงอายุออกเป็น 3 กลุ่ม ตามความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน (Activities of Daily Living : ADL) ได้แก่ กลุ่มที่ 1) ผู้สูงอายุที่พึ่งตนเองได้ ช่วยเหลือผู้อื่น ชุมชนและสังคมได้ (กลุ่มติดสังคม) ซึ่งมีจำนวนร้อยละ 78 มุ่งเน้นการส่งเสริมสุขภาพดี ยืดระยะเวลาการเจ็บป่วยเรื้อรังและภาวะทุพพลภาพ โดยการสร้างกิจกรรมชมรมผู้สูงอายุ และกิจกรรมจิตอาสา กลุ่มที่ 2) ผู้สูงอายุที่ดูแลตนเองได้บ้าง ช่วยเหลือตนเองได้บ้าง (กลุ่มติดบ้าน) มีจำนวนร้อยละ 20 มุ่งเน้นกิจกรรมการเข้าถึงบริการสุขภาพ Home Care / Home Health Care กลุ่มที่ 3) ผู้สูงอายุกลุ่มที่พึ่งตนเองไม่ได้ พิการ หรือทุพพลภาพ มีจำนวนร้อยละ 2 มุ่งเน้นลดภาวะการเจ็บป่วยซ้ำซ้อนและมีผู้ดูแล เน้นการดูแลแบบ Home Care / Home Health Care และการฟื้นฟูสุขภาพ รวมถึงกิจกรรมบำบัด ซึ่งโครงการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว ได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2551 โดยการสร้างตำบลต้นแบบด้านการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในภูมิภาคต่าง ๆ ปัจจุบันมีตำบลต้นแบบ จำนวน 81 แห่ง
             ดร.นพ.สมยศ กล่าวต่อว่า ในปี 2555 นี้ กรมอนามัยได้ดำเนินงานร่วมกับภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ หน่วยงานในกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน ร่วมกันพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมดูแลผู้สูงอายุ จำนวน 3 หลักสูตร ได้แก่ 1) หลักสูตรการฝึกอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุ หลักสูตร 420 ชั่วโมง 2) หลักสูตร 70 ชั่วโมง ตามเอกสารแนบท้ายคำแนะนำของคณะกรรมการสาธารณสุข เรื่องแนวทางการควบคุมการประกอบกิจการให้บริการดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน พ.ศ. 2553 ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (ฉบับที่ 6) การประกอบกิจการให้บริการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน? และ 3) หลักสูตรอบรมเตรียมความพร้อมแก่ อสม. เชี่ยวชาญในการดูแลผู้สูงอายุที่ประสบภัยพิบัติ
            สำหรับการอบรมพัฒนาศักยภาพบุคลากรและภาคีเครือข่าย (ครู ก.) ด้านการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว ในครั้งนี้ จึงเป็นการพัฒนาศักยภาพบุคลากรและภาคีเครือข่ายที่ทำงานด้านการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว (ครู ก.) เพื่อเตรียมรองรับระบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาวในท้องถิ่น ชุมชน คลอบคลุมทุกจังหวัด ในปี 2555 พร้อมทั้งเป็นการถ่ายทอดเทคโนโลยี วิชาการด้านการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว ตลอดจนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระดมสมองเพื่อพิจารณาหลักสูตรและจัดทำแผนปฏิบัติการอบรม ครู ข. ในระดับจังหวัด ท้องถิ่น อย่างต่อเนื่องต่อไป? อธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด
 
***
 
กลุ่มสื่อสารองค์กร / 23 กุมภาพันธ์ 2555
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เตรียมรับมือสังคมผู้สูงอายุในอีก 14 ปีข้างหน้า ซึ่งคาดว่าจะมีประชากรสูงอายุกว่า 14 ล้านคน พัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมดูแลผู้สูงอายุ พร้อมจัดอบรมพัฒนาศักยภาพบุคลากรและภาคีเครือข่าย (ครู ก.) ดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว วันนี้ (23 กุมภาพันธ์ 2554) ดร.นพ.สมยศ ดีรัศมี อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการอบรมพัฒนาศักยภาพบุคลากรและภาคีเครือข่าย (ครู ก.) ด้านการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว ณ โรงแรมริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรี ว่า จากปัญหาการเพิ่มของประชากรผู้สูงอายุไทยอย่างรวดเร็ว จาก 7 ล้านคน (ร้อยละ 10.7) เป็น 14.5 ล้านคน (ร้อยละ 20) ในปี 2568 หรืออีก 14 ปีข้างหน้า นับว่าเป็นการก้าวสู่ภาวะประชากรสูงอายุอย่างรวดเร็วเป็น 2 เท่าในระยะเวลา อันสั้น และจากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่า ผู้สูงอายุที่อยู่ตามลำพังในครอบครัว มีแนวโน้มสูงขึ้นจากร้อยละ 3.6 ในปี 2537 เป็นร้อยละ 7.7 ในปี 2550 ส่งผลให้ผู้สูงอายุที่อยู่คนเดียวมีความรู้สึกเหงา ร้อยละ 51.2 ไม่มีคนดูแลเมื่อเวลาเจ็บป่วย ร้อยละ 27.5 ต้องการคนดูแลเป็นบางเวลา ร้อยละ 52.2 และต้องการคนดูแลตลอดเวลา ร้อยละ 10.2 ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุพบว่า ผู้สูงอายุระหว่าง 6069 ปี ร้อยละ 69.3 เป็นโรคเรื้อรัง และจะพบโรคเพิ่มมากขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น ในกลุ่มอายุ 90 ปี พบร้อยละ 83.3 ซึ่งโรคที่พบบ่อยที่สุดคือ โรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 31.7 โรคเบาหวาน ร้อยละ 13.3 โรคหัวใจ ร้อยละ 7 อัมพาต/อัมพฤกษ์ ร้อยละ 2.5 โรคหลอดเลือดในสมองตีบ ร้อยละ 1.6 และโรคมะเร็ง ร้อยละ 0.5 ตามลำดับ ดร.นพ.สมยศ กล่าวต่อไปว่า กรมอนามัยได้ตระหนักและเห็นคุณค่าของผู้สูงอายุไทยซึ่งเป็นปูชนียบุคคลและเป็นคลังสมองของแผ่นดิน จึงได้ดำเนินโครงการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุให้ครอบคลุมทั้งด้านสุขภาพกาย จิตและสังคม โดยการแบ่งผู้สูงอายุออกเป็น 3 กลุ่ม ตามความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน (Activities of Daily Living : ADL) ได้แก่ กลุ่มที่ 1) ผู้สูงอายุที่พึ่งตนเองได้ ช่วยเหลือผู้อื่น ชุมชนและสังคมได้ (กลุ่มติดสังคม) ซึ่งมีจำนวนร้อยละ 78 มุ่งเน้นการส่งเสริมสุขภาพดี ยืดระยะเวลาการเจ็บป่วยเรื้อรังและภาวะทุพพลภาพ โดยการสร้างกิจกรรมชมรมผู้สูงอายุ และกิจกรรมจิตอาสา กลุ่มที่ 2) ผู้สูงอายุที่ดูแลตนเองได้บ้าง ช่วยเหลือตนเองได้บ้าง (กลุ่มติดบ้าน) มีจำนวนร้อยละ 20 มุ่งเน้นกิจกรรมการเข้าถึงบริการสุขภาพ Home Care / Home Health Care กลุ่มที่ 3) ผู้สูงอายุกลุ่มที่พึ่งตนเองไม่ได้ พิการ หรือทุพพลภาพ มีจำนวนร้อยละ 2 มุ่งเน้นลดภาวะการเจ็บป่วยซ้ำซ้อนและมีผู้ดูแล เน้นการดูแลแบบ Home Care / Home Health Care และการฟื้นฟูสุขภาพ รวมถึงกิจกรรมบำบัด ซึ่งโครงการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว ได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2551 โดยการสร้างตำบลต้นแบบด้านการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในภูมิภาคต่าง ๆ ปัจจุบันมีตำบลต้นแบบ จำนวน 81 แห่ง ดร.นพ.สมยศ กล่าวต่อว่า ในปี 2555 นี้ กรมอนามัยได้ดำเนินงานร่วมกับภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ หน่วยงานในกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน ร่วมกันพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมดูแลผู้สูงอายุ จำนวน 3 หลักสูตร ได้แก่ 1) หลักสูตรการฝึกอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุ หลักสูตร 420 ชั่วโมง 2) หลักสูตร 70 ชั่วโมง ตามเอกสารแนบท้ายคำแนะนำของคณะกรรมการสาธารณสุข เรื่องแนวทางการควบคุมการประกอบกิจการให้บริการดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน พ.ศ. 2553 ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (ฉบับที่ 6) \\การประกอบกิจการให้บริการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน และ 3) หลักสูตรอบรมเตรียมความพร้อมแก่ อสม. เชี่ยวชาญในการดูแลผู้สูงอายุที่ประสบภัยพิบัติ \\สำหรับการอบรมพัฒนาศักยภาพบุคลากรและภาคีเครือข่าย (ครู ก.) ด้านการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว ในครั้งนี้ จึงเป็นการพัฒนาศักยภาพบุคลากรและภาคีเครือข่ายที่ทำงานด้านการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว (ครู ก.) เพื่อเตรียมรองรับระบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาวในท้องถิ่น ชุมชน คลอบคลุมทุกจังหวัด ในปี 2555 พร้อมทั้งเป็นการถ่ายทอดเทคโนโลยี วิชาการด้านการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว ตลอดจนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระดมสมองเพื่อพิจารณาหลักสูตรและจัดทำแผนปฏิบัติการอบรม ครู ข. ในระดับจังหวัด ท้องถิ่น อย่างต่อเนื่องต่อไป อธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด *** กลุ่มสื่อสารองค์กร / 23 กุมภาพันธ์ 2555

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน

ติดตามข่าวสารได้ที่

แทงบอลออนไลน์ || ดูบอลสด