คุณกำลังมองหาอะไร?

ข่า

ข่าวแจก "กรมอนามัยนำทัพสื่อตามติดเมนูชูสุขภาพ ลด หวาน มัน เค็ม ในโรงพยาบาล พร้อมลงพื้นที่หมู่บ้าน/ชุมชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านอาหารและโภชนาการ ลดอัตราป่วยเบาหวาน-ความดัน-อ้วน"

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

01.05.2555
1
0
แชร์
01
พ.ค.
2555

ข่าวแจก "กรมอนามัยนำทัพสื่อตามติดเมนูชูสุขภาพ ลด หวาน มัน เค็ม ในโรงพยาบาล พร้อมลงพื้นที่หมู่บ้าน/ชุมชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านอาหารและโภชนาการ ลดอัตราป่วยเบาหวาน-ความดัน-อ้วน"

            กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข นำสื่อมวลชนลงพื้นที่เยี่ยมชมการดำเนินงานเมนูชูสุขภาพ ลด หวาน มัน เค็ม ในโรงพยาบาลค่ายประจักษ์ศิลปาคม จังหวัดอุดรธานี ภาคีภาครัฐตามแนวทางการดำเนินงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพด้านอาหารและโภชนาการ พร้อมศึกษาดูงานหมู่บ้าน/ชุมชนที่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านอาหารและโภชนาการ บ้านโพธิ์ตาก จังหวัดหนองคาย โดยส่งเสริมการบริโภคอาหารลด หวาน มัน เค็ม ส่งผลให้ชาวบ้านสุขภาพดี ลดอัตราป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคอ้วน
         วันนี้ (26 เมษายน 2555) ดร.นพ.สมยศ ดีรัศมี อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยภายหลังเป็นประธานนำสื่อมวลชนเยี่ยมชมการดำเนินงานเมนูชูสุขภาพ ลดหวาน มัน เค็ม ณ โรงพยาบาลค่ายประจักษ์ศิลปาคม จังหวัดอุดรธานี และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโพธิ์ตาก จังหวัดหนองคาย ว่า จากผลการสำรวจสุขภาพคนไทย โดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 4พ.ศ.2551-2552 ในกลุ่มตัวอย่าง 20,290 คน เปรียบเทียบกับการสำรวจครั้งที่ 3 พ.ศ.2546-2547 พบว่า ผู้หญิงมีความชุกของภาวะอ้วนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 34.4 เป็นร้อยละ 40.7 ส่วนในผู้ชายเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 22.5 เป็นร้อยละ 28.4 ในรอบปี 2552 มีผู้ป่วยเข้ารับการรักษาจากโรคหัวใจและหลอดเลือด 558,156 คน เพิ่มขึ้น 4 เท่า ในรอบ 10 ปี มีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงเข้ารับการรักษาเพิ่มขึ้น 3.8 เท่า เสียชีวิตวันละ 36 คน ปี 2552 มีผู้เสียชีวิตด้วยโรคเบาหวาน 7,019 คน ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นผลมาจากการมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม บริโภคอาหารที่ไม่สมดุลกับความต้องการของร่างกาย เช่น บริโภคอาหารมากเกินไป ขาดการออกกำลังกาย มีภาวะเครียด และเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ เป็นต้น และอีกหนึ่งสาเหตุของปัญหาคือวิถีชีวิตการบริโภคอาหารประจำวันในเรื่องการปรุงอาหารรสหวาน มัน เค็มมากจนเกินไป ซึ่งทุกปัญหาไม่เพียงส่งผลกระทบต่อสุขภาพเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อเนื่องถึงภาวะเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศอีกด้วย โดยในปี 2551 ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคดังกล่าว 302,307 ล้านบาทต่อปี ดังนั้น แนวทางการแก้ไขที่ถูกต้องและยั่งยืนคือการให้ความรู้เรื่อง การบริโภคอาหาร โดยเฉพาะอาหารที่เป็นเมนูชูสุขภาพควรมีการปลูกฝังตั้งแต่เด็ก ควบคู่กับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และขณะเดียวกันกลุ่มวัยผู้ใหญ่ก็ยังต้องให้ความรู้ในด้านโภชนาการอย่างต่อเนื่อง
          ดร.นพ.สมยศ กล่าวต่อไปว่า นโยบายเมนูชูสุขภาพ ลด หวาน มัน เค็ม ของกรมอนามัย ได้เริ่มดำเนินการ ในร้านอาหารทั่วไปที่ได้รับป้ายสัญลักษณ์อาหารสะอาด รสชาติอร่อย (Clean Food Good Taste) ซึ่งขณะมีร้านอาหารได้รับป้ายรับรองเมนูชูสุขภาพ จำนวน 10,600 ร้าน และเมนูไร้พุง จำนวน 215 ร้าน อีกทั้งยังได้ดำเนินการโครงการหมู่บ้าน/ชุมชน ลด หวาน มัน เค็ม บูรณาการไปกับโครงการอื่น ๆ เช่น โครงการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพด้านอาหารและโภชนาการ ซึ่งโรงพยาบาลค่ายประจักษ์ศิลปาคมที่เยี่ยมชมในครั้งนี้ เป็นอีกหนึ่งภาคีภาครัฐที่เห็นความสำคัญของการดำเนินงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพด้านอาหารและโภชนาการ ด้วยการสร้างสรรค์เมนูชูสุขภาพลดหวาน มัน เค็ม โดยกำหนดเป็นนโยบายให้ร้านค้า ศูนย์อาหาร จำนวน 11 ร้าน เข้าร่วมโครงการทุกร้านและให้มี เมนูชูสุขภาพอย่างน้อย 1 เมนู ตามเกณฑ์กรมอนามัยที่กำหนดให้ต้องเป็นอาหารไทยประเภทสำหรับหรือจานเดียวที่ปรุงจากอาหารครบอย่างน้อย 4 หมู่ มีปริมาณไขมันไม่เกินร้อยละ 25-30 ของการกระจายตัวของพลังงานในอาหารทั้งหมด ปรุงด้วยเนื้อสัตว์ที่มีไขมันต่ำและปลอดภัยจากการปนเปื้อนของสารพิษ รวมทั้งปรุงด้วยผักปลอดสารพิษหรือ ผักพื้นบ้าน และต้องเป็นอาหารที่มีรสไม่หวานจัดและเค็มจัด ซึ่งขณะนี้ร้านอาหารในโรงพยาบาลมีจำนวนเมนูชูสุขภาพทั้งสิ้น 20 เมนู อาทิ สุกี้ ผัดไทยวุ้นเส้น ข้าวผัดกุ้ง แกงเลียง ขาหมูไร้มัน ข้าหน้าไก่ต้ม ข้าวคลุกกะปิ ขนมจีนน้ำยา และเส้นใหญ่หมูสับ เป็นต้น นอกจากนี้ทางโรงพยาบาลยังได้จัดทำศูนย์อาหารปลอดผงชูรส จัดทำเมนูชูสุขภาพสำหรับผู้ป่วย และจัดทำอาหารว่างเพื่อสุขภาพด้วย
     การดำเนินงานด้านโภชนาการของโรงพยาบาลค่ายประจักษ์ศิลปาคมนับว่าเป็นไปตามแนวทางโครงการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพด้านอาหารและโภชนาการของกรมอนามัย ซึ่งเน้นดำเนินงาน 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านอาหารปลอดภัย โดยวัตถุดิบที่ใช้ในการปรุงอาหารในโรงครัวของโรงพยาบาล เช่น เนื้อสัตว์ต่าง ๆ ผักและผลไม้ ต้องปลอดภัยจากการปนเปื้อนของสารพิษ เชื้อโรคและพยาธิ 2) ด้านอาหารเฉพาะโรคและอาหารเพื่อสุขภาพในโรงครัว จัดให้มีการบริการอาหารเฉพาะโรคสำหรับผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและบริการอาหารเพื่อสุขภาพสำหรับผู้ป่วยอื่น ๆ เช่น อาหารลด หวาน มัน เค็ม และเพิ่มผักผลไม้ในเมนูอาหาร 3) ด้านอาหารเพื่อสุขภาพในโรงอาหารของโรงพยาบาล มีการบริการอาหารเพี่อสุขภาพสำหรับผู้ป่วยนอกและญาติ เจ้าหน้าที่ รวมทั้งผู้ที่มาติดต่อในโรงพยาบาลโดยการดำเนินงานเมนูชูสุขภาพ เมนูไร้พุง และจัดมุมให้ความรู้ด้านอาหารและโภชนาการ 4) ด้าน Healthy meeting สนับสนุนให้โรงพยาบาลนำแนวทาง Healthy meeting มาใช้ในการประชุมและฝึกอบรม และ 5) ด้านการให้สุขศึกษาแก่ญาติ และผู้ป่วย?
             ดร.นพ.สมยศ กล่าว อธิบดีกรมอนามัย กล่าวต่อว่า การดำเนินงานเมนูชูสุขภาพ ลด หวาน มัน เค็ม ของกรมอนามัย ยังครอบคลุมในระดับชุมชนภายใต้โครงการหมู่บ้านชุมชน ลด หวาน มัน เค็ม โดยบูรณาการไปกับโครงการหมู่บ้าน/ชุมชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ซึ่งหมู่บ้านโพธิ์ตากเป็นอีกหนึ่งต้นแบบหมู่บ้านที่ส่งเสริมให้ประชาชนในหมู่บ้านมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านอาหารและโภชนาการที่เป็นเมนูชูสุขภาพ ลด หวาน มัน เค็ม และการออกกำลังกายของชาวบ้านในชุมชน เพราะจากข้อมูลสถานะสุขภาพของชุมชนพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ป่วยเป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง เมื่อเทียบกับจำนวนผู้พิการ/ด้อยโอกาส ผู้ป่วยจิตเวช และผู้ป่วยมะเร็งทุกชนิด ซึ่งประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ในปี 2555 คิดเป็นร้อยละ 79.19 และ 84.46 ตามลำดับ สำหรับประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจวัดรอบเอวในปี 2555 คิดเป็นร้อยละ 82.13 โดยกลุ่มวัยที่ผ่านการตรวจคัดกรอง ก็จะได้รับการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทั้งด้านโภชนาการและออกกำลังกาย ด้วยการให้สุขศึกษาลดอาหารหวาน มัน เค็ม เข้าร่วมชมรมออกกำลังกาย ให้ทุกหลังคาเรือนปลูกและบริโภคผักปลอดสารพิษกินเอง และร่วมจัดทำแปลงผักรวมในชุมชน เป็นต้น ซึ่งผลการตรวจสุขภาพซ้ำปรากฏว่า กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูง 59 คน พบปกติ 37 คน เสี่ยง 19 คน และป่วยเพียง 3 คน ส่วนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวาน 92 คน พบปกติ 67 คน เสี่ยง 20 คน และป่วย 5 คน ส่วนผลตรวจรอบเอวกลุ่มอ้วนลงพุงจำนวน 326 คน ที่เข้าร่วมกิจกรรมของชุมชนในช่วงระยะเวลา 6 เดือน พบรอบเอวลดลงจำนวน 107 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 32.82
              ทั้งนี้ การส่งเสริมให้ประชาชนเลือกกินอาหารที่เป็นเมนูชูสุขภาพ ลด หวาน มัน เค็ม ควบคู่กับออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอตามแนวทางการดำเนินงานของกรมอนามัย นอกจากจะช่วยให้ได้กินอาหารที่ถูกหลักโภชนาการในปริมาณที่เหมาะสม อันส่งผลให้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงแล้ว ยังช่วยลดอัตราป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังทางโภชนาการที่สำคัญ ทั้งโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคอ้วน ซึ่งล้วนเป็นปัญหาสาธารณสุขให้น้อยลงด้วย? อธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด
 
***
 
กลุ่มสื่อสารองค์กร / 26 เมษายน 2555
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข นำสื่อมวลชนลงพื้นที่เยี่ยมชมการดำเนินงานเมนูชูสุขภาพ ลด หวาน มัน เค็ม ในโรงพยาบาลค่ายประจักษ์ศิลปาคม จังหวัดอุดรธานี ภาคีภาครัฐตามแนวทางการดำเนินงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพด้านอาหารและโภชนาการ พร้อมศึกษาดูงานหมู่บ้าน/ชุมชนที่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านอาหารและโภชนาการ บ้านโพธิ์ตาก จังหวัดหนองคาย โดยส่งเสริมการบริโภคอาหารลด หวาน มัน เค็ม ส่งผลให้ชาวบ้านสุขภาพดี ลดอัตราป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคอ้วน วันนี้ (26 เมษายน 2555) ดร.นพ.สมยศ ดีรัศมี อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยภายหลังเป็นประธานนำสื่อมวลชนเยี่ยมชมการดำเนินงานเมนูชูสุขภาพ ลดหวาน มัน เค็ม ณ โรงพยาบาลค่ายประจักษ์ศิลปาคม จังหวัดอุดรธานี และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโพธิ์ตาก จังหวัดหนองคาย ว่า จากผลการสำรวจสุขภาพคนไทย โดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 4พ.ศ.2551-2552 ในกลุ่มตัวอย่าง 20,290 คน เปรียบเทียบกับการสำรวจครั้งที่ 3 พ.ศ.2546-2547 พบว่า ผู้หญิงมีความชุกของภาวะอ้วนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 34.4 เป็นร้อยละ 40.7 ส่วนในผู้ชายเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 22.5 เป็นร้อยละ 28.4 ในรอบปี 2552 มีผู้ป่วยเข้ารับการรักษาจากโรคหัวใจและหลอดเลือด 558,156 คน เพิ่มขึ้น 4 เท่า ในรอบ 10 ปี มีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงเข้ารับการรักษาเพิ่มขึ้น 3.8 เท่า เสียชีวิตวันละ 36 คน ปี 2552 มีผู้เสียชีวิตด้วยโรคเบาหวาน 7,019 คน ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นผลมาจากการมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม บริโภคอาหารที่ไม่สมดุลกับความต้องการของร่างกาย เช่น บริโภคอาหารมากเกินไป ขาดการออกกำลังกาย มีภาวะเครียด และเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ เป็นต้น และอีกหนึ่งสาเหตุของปัญหาคือวิถีชีวิตการบริโภคอาหารประจำวันในเรื่องการปรุงอาหารรสหวาน มัน เค็มมากจนเกินไป ซึ่งทุกปัญหาไม่เพียงส่งผลกระทบต่อสุขภาพเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อเนื่องถึงภาวะเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศอีกด้วย โดยในปี 2551 ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคดังกล่าว 302,307 ล้านบาทต่อปี ดังนั้น แนวทางการแก้ไขที่ถูกต้องและยั่งยืนคือการให้ความรู้เรื่อง การบริโภคอาหาร โดยเฉพาะอาหารที่เป็นเมนูชูสุขภาพควรมีการปลูกฝังตั้งแต่เด็ก ควบคู่กับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และขณะเดียวกันกลุ่มวัยผู้ใหญ่ก็ยังต้องให้ความรู้ในด้านโภชนาการอย่างต่อเนื่อง ดร.นพ.สมยศ กล่าวต่อไปว่า นโยบายเมนูชูสุขภาพ ลด หวาน มัน เค็ม ของกรมอนามัย ได้เริ่มดำเนินการ ในร้านอาหารทั่วไปที่ได้รับป้ายสัญลักษณ์อาหารสะอาด รสชาติอร่อย (Clean Food Good Taste) ซึ่งขณะมีร้านอาหารได้รับป้ายรับรองเมนูชูสุขภาพ จำนวน 10,600 ร้าน และเมนูไร้พุง จำนวน 215 ร้าน อีกทั้งยังได้ดำเนินการโครงการหมู่บ้าน/ชุมชน ลด หวาน มัน เค็ม บูรณาการไปกับโครงการอื่น ๆ เช่น โครงการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพด้านอาหารและโภชนาการ ซึ่งโรงพยาบาลค่ายประจักษ์ศิลปาคมที่เยี่ยมชมในครั้งนี้ เป็นอีกหนึ่งภาคีภาครัฐที่เห็นความสำคัญของการดำเนินงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพด้านอาหารและโภชนาการ ด้วยการสร้างสรรค์เมนูชูสุขภาพลดหวาน มัน เค็ม โดยกำหนดเป็นนโยบายให้ร้านค้า ศูนย์อาหาร จำนวน 11 ร้าน เข้าร่วมโครงการทุกร้านและให้มี เมนูชูสุขภาพอย่างน้อย 1 เมนู ตามเกณฑ์กรมอนามัยที่กำหนดให้ต้องเป็นอาหารไทยประเภทสำหรับหรือจานเดียวที่ปรุงจากอาหารครบอย่างน้อย 4 หมู่ มีปริมาณไขมันไม่เกินร้อยละ 25-30 ของการกระจายตัวของพลังงานในอาหารทั้งหมด ปรุงด้วยเนื้อสัตว์ที่มีไขมันต่ำและปลอดภัยจากการปนเปื้อนของสารพิษ รวมทั้งปรุงด้วยผักปลอดสารพิษหรือ ผักพื้นบ้าน และต้องเป็นอาหารที่มีรสไม่หวานจัดและเค็มจัด ซึ่งขณะนี้ร้านอาหารในโรงพยาบาลมีจำนวนเมนูชูสุขภาพทั้งสิ้น 20 เมนู อาทิ สุกี้ ผัดไทยวุ้นเส้น ข้าวผัดกุ้ง แกงเลียง ขาหมูไร้มัน ข้าหน้าไก่ต้ม ข้าวคลุกกะปิ ขนมจีนน้ำยา และเส้นใหญ่หมูสับ เป็นต้น นอกจากนี้ทางโรงพยาบาลยังได้จัดทำศูนย์อาหารปลอดผงชูรส จัดทำเมนูชูสุขภาพสำหรับผู้ป่วย และจัดทำอาหารว่างเพื่อสุขภาพด้วย \\การดำเนินงานด้านโภชนาการของโรงพยาบาลค่ายประจักษ์ศิลปาคมนับว่าเป็นไปตามแนวทางโครงการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพด้านอาหารและโภชนาการของกรมอนามัย ซึ่งเน้นดำเนินงาน 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านอาหารปลอดภัย โดยวัตถุดิบที่ใช้ในการปรุงอาหารในโรงครัวของโรงพยาบาล เช่น เนื้อสัตว์ต่าง ๆ ผักและผลไม้ ต้องปลอดภัยจากการปนเปื้อนของสารพิษ เชื้อโรคและพยาธิ 2) ด้านอาหารเฉพาะโรคและอาหารเพื่อสุขภาพในโรงครัว จัดให้มีการบริการอาหารเฉพาะโรคสำหรับผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและบริการอาหารเพื่อสุขภาพสำหรับผู้ป่วยอื่น ๆ เช่น อาหารลด หวาน มัน เค็ม และเพิ่มผักผลไม้ในเมนูอาหาร 3) ด้านอาหารเพื่อสุขภาพในโรงอาหารของโรงพยาบาล มีการบริการอาหารเพี่อสุขภาพสำหรับผู้ป่วยนอกและญาติ เจ้าหน้าที่ รวมทั้งผู้ที่มาติดต่อในโรงพยาบาลโดยการดำเนินงานเมนูชูสุขภาพ เมนูไร้พุง และจัดมุมให้ความรู้ด้านอาหารและโภชนาการ 4) ด้าน Healthy meeting สนับสนุนให้โรงพยาบาลนำแนวทาง Healthy meeting มาใช้ในการประชุมและฝึกอบรม และ 5) ด้านการให้สุขศึกษาแก่ญาติ และผู้ป่วย ดร.นพ.สมยศ กล่าว อธิบดีกรมอนามัย กล่าวต่อว่า การดำเนินงานเมนูชูสุขภาพ ลด หวาน มัน เค็ม ของกรมอนามัย ยังครอบคลุมในระดับชุมชนภายใต้โครงการหมู่บ้านชุมชน ลด หวาน มัน เค็ม โดยบูรณาการไปกับโครงการหมู่บ้าน/ชุมชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ซึ่งหมู่บ้านโพธิ์ตากเป็นอีกหนึ่งต้นแบบหมู่บ้านที่ส่งเสริมให้ประชาชนในหมู่บ้านมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านอาหารและโภชนาการที่เป็นเมนูชูสุขภาพ ลด หวาน มัน เค็ม และการออกกำลังกายของชาวบ้านในชุมชน เพราะจากข้อมูลสถานะสุขภาพของชุมชนพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ป่วยเป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง เมื่อเทียบกับจำนวนผู้พิการ/ด้อยโอกาส ผู้ป่วยจิตเวช และผู้ป่วยมะเร็งทุกชนิด ซึ่งประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ในปี 2555 คิดเป็นร้อยละ 79.19 และ 84.46 ตามลำดับ สำหรับประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจวัดรอบเอวในปี 2555 คิดเป็นร้อยละ 82.13 โดยกลุ่มวัยที่ผ่านการตรวจคัดกรอง ก็จะได้รับการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทั้งด้านโภชนาการและออกกำลังกาย ด้วยการให้สุขศึกษาลดอาหารหวาน มัน เค็ม เข้าร่วมชมรมออกกำลังกาย ให้ทุกหลังคาเรือนปลูกและบริโภคผักปลอดสารพิษกินเอง และร่วมจัดทำแปลงผักรวมในชุมชน เป็นต้น ซึ่งผลการตรวจสุขภาพซ้ำปรากฏว่า กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูง 59 คน พบปกติ 37 คน เสี่ยง 19 คน และป่วยเพียง 3 คน ส่วนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวาน 92 คน พบปกติ 67 คน เสี่ยง 20 คน และป่วย 5 คน ส่วนผลตรวจรอบเอวกลุ่มอ้วนลงพุงจำนวน 326 คน ที่เข้าร่วมกิจกรรมของชุมชนในช่วงระยะเวลา 6 เดือน พบรอบเอวลดลงจำนวน 107 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 32.82 \\ทั้งนี้ การส่งเสริมให้ประชาชนเลือกกินอาหารที่เป็นเมนูชูสุขภาพ ลด หวาน มัน เค็ม ควบคู่กับออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอตามแนวทางการดำเนินงานของกรมอนามัย นอกจากจะช่วยให้ได้กินอาหารที่ถูกหลักโภชนาการในปริมาณที่เหมาะสม อันส่งผลให้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงแล้ว ยังช่วยลดอัตราป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังทางโภชนาการที่สำคัญ ทั้งโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคอ้วน ซึ่งล้วนเป็นปัญหาสาธารณสุขให้น้อยลงด้วย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด *** กลุ่มสื่อสารองค์กร / 26 เมษายน 2555

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน