คุณกำลังมองหาอะไร?

ข่า

ข่าวแจก "กรมอนามัย จัดประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพนานาชาติ มุ่งเป้าสุขภาพคนไทยยั่งยืน"

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

21.02.2555
13
0
แชร์
21
กุมภาพันธ์
2555

ข่าวแจก "กรมอนามัย จัดประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพนานาชาติ มุ่งเป้าสุขภาพคนไทยยั่งยืน"

             กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับวิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และองค์การอนามัยโลก ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จัดการประชุมสัมมนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพนานาชาติ (HPH : Winter School 2012) บูรณาการงานส่งเสริมสุขภาพด้วยเกณฑ์โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพยกระดับนานาชาติ เพื่อสุขภาพดีของคนไทยอย่างยั่งยืน
               วันนี้ (20 กุมภาพันธ์ 2555) ดร.นพ.สมยศ ดีรัศมี อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยในการประชุมสัมมนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพนานาชาติ (HPH : Winter School 2012) ณ โรงแรมนารายณ์ กรุงเทพมหานคร ว่า องค์การอนามัยโลกได้ให้ความสำคัญและผลักดันให้ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกนำกลยุทธ์การส่งเสริมสุขภาพ บูรณาการกับงานรักษา ป้องกันโรค และฟื้นฟูสุขภาพ รวมถึงกำหนดให้โรงพยาบาลต้องมีบทบาทในการดำเนินงานเชิงรุกเพื่อสร้างสุขภาพให้แก่บุคลากรโรงพยาบาล ผู้รับบริการ ครอบครัว ชุมชน และสิ่งแวดล้อมเป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก โดยกรมอนามัยได้นำนโยบายโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตามแนวปฏิบัติ From Concept to Practice? มาดำเนินการตั้งแต่ปี 1999 จนถึงปัจจุบัน เริ่มตั้งแต่การจัดทำมาตรฐานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ การประเมินรับรอง การบูรณาการร่วมกับระบบคุณภาพ และมาตรฐานการป้องกันโรค เพื่อลดอัตราป่วยและเสียชีวิตของประชาชน รวมทั้งให้โรงพยาบาลและบุคลากรเป็นต้นแบบด้านสุขภาพ โดยจัดให้มี Health promotion clinic ควบคู่กับ Medical clinic ชุมชนมีศักยภาพในการดูแลตนเอง และการจัดการสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัยและเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพ
              ดร.นพ.สมยศ กล่าวต่อไปว่า ขณะนี้มีโรงพยาบาลที่ผ่านเกณฑ์โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพทั่วประเทศทั้งสิ้นจำนวน 920 แห่ง เป็นโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 829 แห่ง สังกัดกระทรวงกลาโหม จำนวน 67 แห่ง สังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 9 แห่ง โรงพยาบาลเอกชน จำนวน 14 แห่ง และสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จำนวน 1 แห่ง โดยโรงพยาบาลที่ผ่านการประเมินโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพครบ 3 ปีแล้ว จะต้องได้รับการประเมินซ้ำ ซึ่งในปี 2554-2555 มีโรงพยาบาลที่จะรับการประเมินซ้ำทั้งสิ้นจำนวน 237 แห่ง
          ทั้งนี้ การดำเนินงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพในปัจจุบัน นับว่าแพร่หลายและเป็นที่ยอมรับในหลายประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะในประเทศแถบยุโรป ออสเตรเลีย แคนาดา สำหรับในทวีปเอเชียนั้น ประเทศไต้หวัน และประเทศไทยเป็นประเทศที่มีผลงานก้าวหน้ามาก ดังนั้น การจัดประชุมสัมมนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพนานาชาติ (HPH : Winter School 2012) ในครั้งนี้ ประเทศไทยนับเป็นประเทศที่ 2 ที่ได้รับการสนับสนุนให้เป็นเจ้าภาพการจัดประชุม ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และองค์การอนามัยโลก ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพจากประเทศอื่น ๆ นำมาพัฒนาและขยายผลการดำเนินงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพของประเทศไทย และสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ในระดับนานาชาติ สู่ผลลัพธ์คือการมีสุขภาพดีของคนไทยอย่างยั่งยืน?
          ดร.นพ.สมยศ กล่าว อธิบดีกรมอนามัย กล่าวในตอนท้ายว่า การพัฒนาระบบบริการสาธารณสุขให้มีคุณภาพเป็นสิ่งจำเป็นต่อการสร้างสุขภาพดีของประชาชน และเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาประเทศ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ จึงเป็นเครื่องมือหนึ่งในการสร้างสุขภาพดีของผู้รับบริการ ครอบครัว บุคลากรในโรงพยาบาลและชุมชน สาเหตุเพราะการส่งเสริมสุขภาพนั้นเป็นความรับผิดชอบของทุกคน ซึ่งมีหน้าที่ในการดูแลตนเองและเป็นความร่วมมือของคนในสังคมที่จะสร้างเสริมการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพตั้งแต่แรกเกิด วัยเรียน วัยรุ่น วัยทำงาน จนถึงผู้สูงอายุ
 
***
 
กลุ่มสื่อสารองค์กร / 20 กุมภาพันธ์ 2555
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับวิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และองค์การอนามัยโลก ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จัดการประชุมสัมมนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพนานาชาติ (HPH : Winter School 2012) บูรณาการงานส่งเสริมสุขภาพด้วยเกณฑ์โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพยกระดับนานาชาติ เพื่อสุขภาพดีของคนไทยอย่างยั่งยืน วันนี้ (20 กุมภาพันธ์ 2555) ดร.นพ.สมยศ ดีรัศมี อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยในการประชุมสัมมนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพนานาชาติ (HPH : Winter School 2012) ณ โรงแรมนารายณ์ กรุงเทพมหานคร ว่า องค์การอนามัยโลกได้ให้ความสำคัญและผลักดันให้ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกนำกลยุทธ์การส่งเสริมสุขภาพ บูรณาการกับงานรักษา ป้องกันโรค และฟื้นฟูสุขภาพ รวมถึงกำหนดให้โรงพยาบาลต้องมีบทบาทในการดำเนินงานเชิงรุกเพื่อสร้างสุขภาพให้แก่บุคลากรโรงพยาบาล ผู้รับบริการ ครอบครัว ชุมชน และสิ่งแวดล้อมเป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก โดยกรมอนามัยได้นำนโยบายโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตามแนวปฏิบัติ \\From Concept to Practice มาดำเนินการตั้งแต่ปี 1999 จนถึงปัจจุบัน เริ่มตั้งแต่การจัดทำมาตรฐานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ การประเมินรับรอง การบูรณาการร่วมกับระบบคุณภาพ และมาตรฐานการป้องกันโรค เพื่อลดอัตราป่วยและเสียชีวิตของประชาชน รวมทั้งให้โรงพยาบาลและบุคลากรเป็นต้นแบบด้านสุขภาพ โดยจัดให้มี Health promotion clinic ควบคู่กับ Medical clinic ชุมชนมีศักยภาพในการดูแลตนเอง และการจัดการสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัยและเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพ ดร.นพ.สมยศ กล่าวต่อไปว่า ขณะนี้มีโรงพยาบาลที่ผ่านเกณฑ์โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพทั่วประเทศทั้งสิ้นจำนวน 920 แห่ง เป็นโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 829 แห่ง สังกัดกระทรวงกลาโหม จำนวน 67 แห่ง สังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 9 แห่ง โรงพยาบาลเอกชน จำนวน 14 แห่ง และสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จำนวน 1 แห่ง โดยโรงพยาบาลที่ผ่านการประเมินโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพครบ 3 ปีแล้ว จะต้องได้รับการประเมินซ้ำ ซึ่งในปี 2554-2555 มีโรงพยาบาลที่จะรับการประเมินซ้ำทั้งสิ้นจำนวน 237 แห่ง \\ทั้งนี้ การดำเนินงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพในปัจจุบัน นับว่าแพร่หลายและเป็นที่ยอมรับในหลายประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะในประเทศแถบยุโรป ออสเตรเลีย แคนาดา สำหรับในทวีปเอเชียนั้น ประเทศไต้หวัน และประเทศไทยเป็นประเทศที่มีผลงานก้าวหน้ามาก ดังนั้น การจัดประชุมสัมมนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพนานาชาติ (HPH : Winter School 2012) ในครั้งนี้ ประเทศไทยนับเป็นประเทศที่ 2 ที่ได้รับการสนับสนุนให้เป็นเจ้าภาพการจัดประชุม ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และองค์การอนามัยโลก ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพจากประเทศอื่น ๆ นำมาพัฒนาและขยายผลการดำเนินงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพของประเทศไทย และสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ในระดับนานาชาติ สู่ผลลัพธ์คือการมีสุขภาพดีของคนไทยอย่างยั่งยืน ดร.นพ.สมยศ กล่าว อธิบดีกรมอนามัย กล่าวในตอนท้ายว่า การพัฒนาระบบบริการสาธารณสุขให้มีคุณภาพเป็นสิ่งจำเป็นต่อการสร้างสุขภาพดีของประชาชน และเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาประเทศ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ จึงเป็นเครื่องมือหนึ่งในการสร้างสุขภาพดีของผู้รับบริการ ครอบครัว บุคลากรในโรงพยาบาลและชุมชน สาเหตุเพราะการส่งเสริมสุขภาพนั้นเป็นความรับผิดชอบของทุกคน ซึ่งมีหน้าที่ในการดูแลตนเองและเป็นความร่วมมือของคนในสังคมที่จะสร้างเสริมการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพตั้งแต่แรกเกิด วัยเรียน วัยรุ่น วัยทำงาน จนถึงผู้สูงอายุ *** กลุ่มสื่อสารองค์กร / 20 กุมภาพันธ์ 2555

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน