คุณกำลังมองหาอะไร?

ข่า

ข่าวแจก "กรมอนามัย เล็งปี 57 เพิ่มชุมชน/หมู่บ้านไอโอดีนครบ 100 เปอร์เซ็นต์"

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

25.12.2556
1
0
แชร์
25
ธันวาคม
2556

ข่าวแจก "กรมอนามัย เล็งปี 57 เพิ่มชุมชน/หมู่บ้านไอโอดีนครบ 100 เปอร์เซ็นต์"

        กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เผยปี 2556 มีชุมชน/หมู่บ้านไอโอดีนแล้ว จำนวน 48,199 แห่ง เตรียมพร้อมเดินหน้าปี 2557 ชวนชุมชน/หมู่บ้าน เข้าร่วมพัฒนาสู่ชุมชน/หมู่บ้านไอโอดีนครบ 100 เปอร์เซ็นต์
        วันนี้ (25 ธันวาคม 2556) นายแพทย์ณรงค์ สายวงศ์ รองอธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมเรื่องก้าวต่อไปในการขับเคลื่อนชุมชน/หมู่บ้านไอโอดีน ปี 2557 ณ โรงแรมทีเค พาเลซ กรุงเทพมหานคร ว่า กรมอนามัยได้ดำเนินโครงการควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันและขจัดโรคขาดสารไอโอดีนให้หมดไปจากประเทศไทย โดยร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนในการรณรงค์ เผยแพร่ และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้เห็นความสำคัญของการใช้เกลือหรือผลิตภัณฑ์เสริมไอโอดีน โดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์ และหญิงหลังคลอดที่ต้องให้นมบุตรช่วง 6 เดือนแรก ต้องได้รับยาเม็ดเสริมไอโอดีนด้วย อีกทั้งยังได้ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขับเคลื่อนชุมชน/หมู่บ้านทั่วประเทศ ให้เป็นชุมชน/หมู่บ้านไอโอดีนมาตั้งแต่ปี 2551 ทำให้ปัจจุบันมีชุมชน/หมู่บ้านที่สนใจร่วมพัฒนาสู่ ชุมชน/หมู่บ้านไอโอดีน? จำนวน 76,338 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 98.4 จาก 76 จังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งไม่รวมกรุงเทพมหานคร โดยผ่านการประเมินรับรองเป็น ชุมชน/หมู่บ้านไอโอดีน? จำนวน 48,199 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 63.1 อีกทั้งยังมีศูนย์เรียนรู้ชุมชน/หมู่บ้านไอโอดีน จำนวน 288 แห่งใน 40 จังหวัด ซึ่งการดำเนินงานดังกล่าวจะส่งผลให้หญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร ทารก เด็กปฐมวัย และเด็กวัยเรียน ลดโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคขาดสารไอโอดีนได้
        นายแพทย์ณรงค์ กล่าวต่อไปว่า กรมอนามัยได้เตรียมความพร้อมเพื่อขับเคลื่อนโครงการควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนอย่างต่อเนื่อง โดยระดมนักวิชาการจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนจังหวัด นักวิชาการจากศูนย์อนามัยที่ 1 ? 12 ผู้ประกอบการเกลือเสริมไอโอดีน และนักวิชาการจากสำนักโภชนาการ ได้มีส่วนร่วมเป็นเจ้าภาพในการดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนในพื้นที่ ตั้งเป้าปี 2557 ชวนชุมชน/หมู่บ้านทั่วประเทศเข้าสู่กระบวนการชุมชน/หมู่บ้านไอโอดีนให้ครบ 100 เปอร์เซ็นต์ โดยให้ผ่านการรับรองเป็นชุมชน/หมู่บ้านไอโอดีนเพิ่มขึ้นจากที่มีอยู่เดิม 48,199 แห่ง เป็น 53,000 แห่ง หรือร้อยละ 10 อีกทั้งยังเตรียมจัดโครงการเทิดพระเกียรติเนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมพรรษา 60 พรรษา ในปี 2558 ในโครงการรวมพลังประเทศไทยร่วมใจพัฒนา ชุมชน/หมู่บ้านไอโอดีน? อีกด้วย
        ทั้งนี้ จากการสำรวจของกรมอนามัยในปี 2555 พบว่า ประชาชนมีการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมไอโอดีนประเภท เกลือเสริมไอโอดีน ร้อยละ 87.8 รองลงมาคือ น้ำปลา ร้อยละ 75.1 ซอส ร้อยละ 55 และซีอิ๊ว ร้อยละ 53.1 ส่วนใหญ่ ร้อยละ 84.1 ใช้ผลิตภัณฑ์เสริมไอโอดีนมากกว่า 1 ชนิด เช่น เกลือ น้ำปลา ซอส และซีอิ๊ว ประชาชนร้อยละ 92.1 รู้ว่าสารไอโอดีนมีประโยชน์ต่อร่างกายในด้านการเสริมสร้างพัฒนาการสติปัญญาในเด็กเล็ก ร้อยละ 82.7 รู้วิธีป้องกันการขาดสารไอโอดีน โดยรับประทานอาหารทะเลและผลิตภัณฑ์เสริมไอโอดีน นั่นหมายถึงคนไทยมากกว่าร้อยละ 20 ไม่ได้ใช้ผลิตภัณฑ์เสริมไอโอดีน จึงขอให้ประชาชนเลือกใช้เกลือหรือผลิตภัณฑ์ปรุงรสเสริมไอโอดีนทุกครั้งในการปรุงอาหาร เพื่อช่วยกันขจัดสารไอโอดีนให้หมดไปจากประเทศไทย? รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด
 
***
สำนักสื่อสารและตอบโต้ความเสี่ยง / 25 ธันวาคม 2556
 
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เผยปี 2556 มีชุมชน/หมู่บ้านไอโอดีนแล้ว จำนวน 48,199 แห่ง เตรียมพร้อมเดินหน้าปี 2557 ชวนชุมชน/หมู่บ้าน เข้าร่วมพัฒนาสู่ชุมชน/หมู่บ้านไอโอดีนครบ 100 เปอร์เซ็นต์ วันนี้ (25 ธันวาคม 2556) นายแพทย์ณรงค์ สายวงศ์ รองอธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมเรื่องก้าวต่อไปในการขับเคลื่อนชุมชน/หมู่บ้านไอโอดีน ปี 2557 ณ โรงแรมทีเค พาเลซ กรุงเทพมหานคร ว่า กรมอนามัยได้ดำเนินโครงการควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันและขจัดโรคขาดสารไอโอดีนให้หมดไปจากประเทศไทย โดยร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนในการรณรงค์ เผยแพร่ และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้เห็นความสำคัญของการใช้เกลือหรือผลิตภัณฑ์เสริมไอโอดีน โดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์ และหญิงหลังคลอดที่ต้องให้นมบุตรช่วง 6 เดือนแรก ต้องได้รับยาเม็ดเสริมไอโอดีนด้วย อีกทั้งยังได้ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขับเคลื่อนชุมชน/หมู่บ้านทั่วประเทศ ให้เป็นชุมชน/หมู่บ้านไอโอดีนมาตั้งแต่ปี 2551 ทำให้ปัจจุบันมีชุมชน/หมู่บ้านที่สนใจร่วมพัฒนาสู่ \\ชุมชน/หมู่บ้านไอโอดีน จำนวน 76,338 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 98.4 จาก 76 จังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งไม่รวมกรุงเทพมหานคร โดยผ่านการประเมินรับรองเป็น \\ชุมชน/หมู่บ้านไอโอดีน จำนวน 48,199 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 63.1 อีกทั้งยังมีศูนย์เรียนรู้ชุมชน/หมู่บ้านไอโอดีน จำนวน 288 แห่งใน 40 จังหวัด ซึ่งการดำเนินงานดังกล่าวจะส่งผลให้หญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร ทารก เด็กปฐมวัย และเด็กวัยเรียน ลดโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคขาดสารไอโอดีนได้ นายแพทย์ณรงค์ กล่าวต่อไปว่า กรมอนามัยได้เตรียมความพร้อมเพื่อขับเคลื่อนโครงการควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนอย่างต่อเนื่อง โดยระดมนักวิชาการจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนจังหวัด นักวิชาการจากศูนย์อนามัยที่ 1 12 ผู้ประกอบการเกลือเสริมไอโอดีน และนักวิชาการจากสำนักโภชนาการ ได้มีส่วนร่วมเป็นเจ้าภาพในการดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนในพื้นที่ ตั้งเป้าปี 2557 ชวนชุมชน/หมู่บ้านทั่วประเทศเข้าสู่กระบวนการชุมชน/หมู่บ้านไอโอดีนให้ครบ 100 เปอร์เซ็นต์ โดยให้ผ่านการรับรองเป็นชุมชน/หมู่บ้านไอโอดีนเพิ่มขึ้นจากที่มีอยู่เดิม 48,199 แห่ง เป็น 53,000 แห่ง หรือร้อยละ 10 อีกทั้งยังเตรียมจัดโครงการเทิดพระเกียรติเนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมพรรษา 60 พรรษา ในปี 2558 ในโครงการรวมพลังประเทศไทยร่วมใจพัฒนา \\ชุมชน/หมู่บ้านไอโอดีน อีกด้วย \\ทั้งนี้ จากการสำรวจของกรมอนามัยในปี 2555 พบว่า ประชาชนมีการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมไอโอดีนประเภท เกลือเสริมไอโอดีน ร้อยละ 87.8 รองลงมาคือ น้ำปลา ร้อยละ 75.1 ซอส ร้อยละ 55 และซีอิ๊ว ร้อยละ 53.1 ส่วนใหญ่ ร้อยละ 84.1 ใช้ผลิตภัณฑ์เสริมไอโอดีนมากกว่า 1 ชนิด เช่น เกลือ น้ำปลา ซอส และซีอิ๊ว ประชาชนร้อยละ 92.1 รู้ว่าสารไอโอดีนมีประโยชน์ต่อร่างกายในด้านการเสริมสร้างพัฒนาการสติปัญญาในเด็กเล็ก ร้อยละ 82.7 รู้วิธีป้องกันการขาดสารไอโอดีน โดยรับประทานอาหารทะเลและผลิตภัณฑ์เสริมไอโอดีน นั่นหมายถึงคนไทยมากกว่าร้อยละ 20 ไม่ได้ใช้ผลิตภัณฑ์เสริมไอโอดีน จึงขอให้ประชาชนเลือกใช้เกลือหรือผลิตภัณฑ์ปรุงรสเสริมไอโอดีนทุกครั้งในการปรุงอาหาร เพื่อช่วยกันขจัดสารไอโอดีนให้หมดไปจากประเทศไทย รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด ***สำนักสื่อสารและตอบโต้ความเสี่ยง / 25 ธันวาคม 2556

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน