คุณกำลังมองหาอะไร?

ข่า

ข่าวแจก"กรมอนามัย เผย สุดยอดตลาดสะอาด อาหารปลอดภัย 44 แห่ง ต้นแบบรองรับ AEC"

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

19.12.2556
0
0
แชร์
19
ธันวาคม
2556

ข่าวแจก"กรมอนามัย เผย สุดยอดตลาดสะอาด อาหารปลอดภัย 44 แห่ง ต้นแบบรองรับ AEC"

        กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ประกาศรางวัล สุดยอดตลาดสะอาด อาหารปลอดภัย? จำนวน 44 แห่ง หวังเป็นต้นแบบการพัฒนาตลาดสดเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนพร้อมมอบนโยบายและเร่งรัดการพัฒนาตลาดให้ได้มาตรฐาน
        วันนี้ (19 ธันวาคม 2556) ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อมอบนโยบายและเร่งรัดการพัฒนาตลาดให้ได้มาตรฐาน ตลาดสะอาด อาหารปลอดภัย? ณ โรงแรมปริ้น พาเลซ เขตป้อมศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร ว่า กระทรวงสาธารณสุขโดยกรมอนามัยได้ดำเนินโครงการตลาดสด น่าซื้อที่ส่งเสริมให้ตลาดสดมีการปรับปรุงด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่ดี และมีการตรวจสอบความปลอดภัยของอาหารทั้งอาหารสดและอาหารพร้อมบริโภค ซึ่งมีตลาดที่เข้าร่วมโครงการและปรับปรุงผ่านมาตรฐานถึงร้อยละ 85.17 โดยผ่านเกณฑ์ระดับดีมากร้อยละ 15.67 และผ่านระดับดีร้อยละ 69.50 และเพื่อเป็นการส่งเสริมให้ตลาดสดมีการพัฒนาและรักษาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง พร้อมจัดโครงการ ตลาดสะอาด อาหารปลอดภัย? โดยร่วมมือกับสมาคมตลาดสดไทย ผู้ประกอบกิจการตลาด และภาคีเครือข่าย เพื่อสอดรับนโยบายของกระทรวงที่จะสร้างความปลอดภัยและสร้างสุขภาพที่ดีของประชาชน พร้อมทั้งมอบรางวัล สุดยอดตลาดสะอาด อาหารปลอดภัย? จำนวน 44 แห่ง ในการเป็นต้นแบบตลาดสดรองรับการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
        ดร.นพ.พรเทพ กล่าวต่อไปว่า กระทรวงสาธารณสุขมีการเฝ้าระวังและสุ่มตรวจอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ ทุกปี เพื่อหาสารปนเปื้อนอันตรายต้องห้าม ได้แก่ สารเร่งเนื้อแดง สารบอแรกซ์ สารฟอกขาว สารกันรา ฟอร์มาลิน ยาฆ่าแมลง ตรวจน้ำมันทอดซ้ำ และการปนเปื้อนแบคทีเรียในน้ำแข็ง ซึ่งข้อมูลการตรวจสอบในปี 2554 จำนวนกว่า 140,000 ตัวอย่างจากทุกจังหวัดพบว่า ร้อยละ 96 ปลอดภัย พบการปนเปื้อนเกินมาตรฐาน 6,250 ตัวอย่างหรือร้อยละ 4 โดยพบน้ำบริโภคตกเกณฑ์มากที่สุด ร้อยละ 35 รองลงมาคือน้ำแข็งในร้านอาหารแผงลอย ร้อยละ 20 ส่วนประเภทผัก ผลไม้ พบมีการปนเปื้อนยาฆ่าแมลงร้อยละ 5 ซึ่งผักที่พบยาฆ่าแมลงตกค้างมากที่สุด ได้แก่ คะน้า กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก และต้นหอม การป้องกันการปนเปื้อนสารอันตรายก่อนกินผักและผลไม้ จึงต้องล้างผักก่อนหั่น เพราะถ้าหั่นก่อนอาจมีสารพิษตกค้างอยู่ จะทำให้สารพิษซึมเข้าตัวผักได้ ซึ่งการล้างผักที่ถูกวิธีควรล้างด้วยเกลือ ด่างทับทิม น้ำส้มสายชู หรือน้ำซาวข้าว โดยล้างผักในน้ำไหลนาน 2 นาที ช่วยลดสารตกค้างได้ร้อยละ 50 หรือ ล้างโดยใช้โซเดียมไบคาร์บอเนต 1 ช้อนโต๊ะต่อน้ำอุ่น 1 กะละมัง หรือน้ำประมาณ 20 ลิตร แช่ทิ้งไว้นาน 15 นาที จะลดปริมาณสารพิษได้ร้อยละ 90-95 หลังจากแช่ผักในสารละลายของโซเดียมไบคาร์บอเนตแล้ว ควรนำผักไป ล้างน้ำออกหลายๆครั้ง เพื่อชะล้างสารพิษตกค้างที่ผิวออกให้หมด
        ทั้งนี้ การพัฒนาความปลอดภัยด้านอาหาร และคุ้มครองความปลอดภัยอาหารบริโภค ผู้ปรุงประกอบการต้องยึดหลัก 2 ประการ คือ
1) สะอาด ปลอดภัย มีการปรุงประกอบอาหารให้ถูกหลักสุขาภิบาลอาหาร โดยเน้นดูแลความสะอาดตั้งแต่กระบวนการเตรียมวัตถุดิบ การล้างให้สะอาดก่อนนำมาปรุงโดยเฉพาะผักที่นำมาใช้อาหารต้องมีการล้างให้สะอาดเพื่อล้างสารเคมีที่อาจปนเปื้อนมาตั้งแต่การเพาะปลูก วัตถุดิบที่ใช้ทำอาหาร ต้องมีคุณภาพดี มาจากแหล่งผลิตที่เชื่อถือได้ และ
2) ถูกหลักโภชนาการ คือ ปรุงอาหารด้วยการยำ ต้ม นึ่ง ลดอาหารประเภทผัด ทอด และอาหารที่มีรสหวานจัด เค็มจัด เลือกรับประทานผักและผลไม้หลากสีหรือให้ครบ 5 สี เพื่อให้ได้คุณค่า ทางโภชนาการที่ตรงกับความต้องการของร่างกาย? อธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด
 
***
สำนักสื่อสารและตอบโต้ความเสี่ยง / 19 ธันวาคม 2556
 
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ประกาศรางวัล \\สุดยอดตลาดสะอาด อาหารปลอดภัย จำนวน 44 แห่ง หวังเป็นต้นแบบการพัฒนาตลาดสดเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนพร้อมมอบนโยบายและเร่งรัดการพัฒนาตลาดให้ได้มาตรฐาน วันนี้ (19 ธันวาคม 2556) ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อมอบนโยบายและเร่งรัดการพัฒนาตลาดให้ได้มาตรฐาน \\ตลาดสะอาด อาหารปลอดภัย ณ โรงแรมปริ้น พาเลซ เขตป้อมศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร ว่า กระทรวงสาธารณสุขโดยกรมอนามัยได้ดำเนินโครงการตลาดสด น่าซื้อที่ส่งเสริมให้ตลาดสดมีการปรับปรุงด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่ดี และมีการตรวจสอบความปลอดภัยของอาหารทั้งอาหารสดและอาหารพร้อมบริโภค ซึ่งมีตลาดที่เข้าร่วมโครงการและปรับปรุงผ่านมาตรฐานถึงร้อยละ 85.17 โดยผ่านเกณฑ์ระดับดีมากร้อยละ 15.67 และผ่านระดับดีร้อยละ 69.50 และเพื่อเป็นการส่งเสริมให้ตลาดสดมีการพัฒนาและรักษาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง พร้อมจัดโครงการ \\ตลาดสะอาด อาหารปลอดภัย โดยร่วมมือกับสมาคมตลาดสดไทย ผู้ประกอบกิจการตลาด และภาคีเครือข่าย เพื่อสอดรับนโยบายของกระทรวงที่จะสร้างความปลอดภัยและสร้างสุขภาพที่ดีของประชาชน พร้อมทั้งมอบรางวัล \\สุดยอดตลาดสะอาด อาหารปลอดภัย จำนวน 44 แห่ง ในการเป็นต้นแบบตลาดสดรองรับการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ดร.นพ.พรเทพ กล่าวต่อไปว่า กระทรวงสาธารณสุขมีการเฝ้าระวังและสุ่มตรวจอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ ทุกปี เพื่อหาสารปนเปื้อนอันตรายต้องห้าม ได้แก่ สารเร่งเนื้อแดง สารบอแรกซ์ สารฟอกขาว สารกันรา ฟอร์มาลิน ยาฆ่าแมลง ตรวจน้ำมันทอดซ้ำ และการปนเปื้อนแบคทีเรียในน้ำแข็ง ซึ่งข้อมูลการตรวจสอบในปี 2554 จำนวนกว่า 140,000 ตัวอย่างจากทุกจังหวัดพบว่า ร้อยละ 96 ปลอดภัย พบการปนเปื้อนเกินมาตรฐาน 6,250 ตัวอย่างหรือร้อยละ 4 โดยพบน้ำบริโภคตกเกณฑ์มากที่สุด ร้อยละ 35 รองลงมาคือน้ำแข็งในร้านอาหารแผงลอย ร้อยละ 20 ส่วนประเภทผัก ผลไม้ พบมีการปนเปื้อนยาฆ่าแมลงร้อยละ 5 ซึ่งผักที่พบยาฆ่าแมลงตกค้างมากที่สุด ได้แก่ คะน้า กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก และต้นหอม การป้องกันการปนเปื้อนสารอันตรายก่อนกินผักและผลไม้ จึงต้องล้างผักก่อนหั่น เพราะถ้าหั่นก่อนอาจมีสารพิษตกค้างอยู่ จะทำให้สารพิษซึมเข้าตัวผักได้ ซึ่งการล้างผักที่ถูกวิธีควรล้างด้วยเกลือ ด่างทับทิม น้ำส้มสายชู หรือน้ำซาวข้าว โดยล้างผักในน้ำไหลนาน 2 นาที ช่วยลดสารตกค้างได้ร้อยละ 50 หรือ ล้างโดยใช้โซเดียมไบคาร์บอเนต 1 ช้อนโต๊ะต่อน้ำอุ่น 1 กะละมัง หรือน้ำประมาณ 20 ลิตร แช่ทิ้งไว้นาน 15 นาที จะลดปริมาณสารพิษได้ร้อยละ 90-95 หลังจากแช่ผักในสารละลายของโซเดียมไบคาร์บอเนตแล้ว ควรนำผักไป ล้างน้ำออกหลายๆครั้ง เพื่อชะล้างสารพิษตกค้างที่ผิวออกให้หมด \\ทั้งนี้ การพัฒนาความปลอดภัยด้านอาหาร และคุ้มครองความปลอดภัยอาหารบริโภค ผู้ปรุงประกอบการต้องยึดหลัก 2 ประการ คือ1) สะอาด ปลอดภัย มีการปรุงประกอบอาหารให้ถูกหลักสุขาภิบาลอาหาร โดยเน้นดูแลความสะอาดตั้งแต่กระบวนการเตรียมวัตถุดิบ การล้างให้สะอาดก่อนนำมาปรุงโดยเฉพาะผักที่นำมาใช้อาหารต้องมีการล้างให้สะอาดเพื่อล้างสารเคมีที่อาจปนเปื้อนมาตั้งแต่การเพาะปลูก วัตถุดิบที่ใช้ทำอาหาร ต้องมีคุณภาพดี มาจากแหล่งผลิตที่เชื่อถือได้ และ2) ถูกหลักโภชนาการ คือ ปรุงอาหารด้วยการยำ ต้ม นึ่ง ลดอาหารประเภทผัด ทอด และอาหารที่มีรสหวานจัด เค็มจัด เลือกรับประทานผักและผลไม้หลากสีหรือให้ครบ 5 สี เพื่อให้ได้คุณค่า ทางโภชนาการที่ตรงกับความต้องการของร่างกาย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด ***สำนักสื่อสารและตอบโต้ความเสี่ยง / 19 ธันวาคม 2556

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน