ข่าวแจก "กรมอนามัยผุดไอเดีย แลกขยะสร้างส้วม ลดปริมาณขยะเพิ่มใหม่กว่า 4 หมื่นตันต่อวัน แต่รีไซเคิลเพียง 1 ใน 4"
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข กระตุ้นเจ้าหน้าที่ลดปริมาณขยะ เนื่องในวันสิ่งแวดล้อมไทยจัดกิจกรรม แลกขยะสร้างส้วม? นำรายได้สร้างส้วมสานฝันเด็กไทยในถิ่นทุรกันดาร ชี้ ปริมาณขยะในไทย เกิดขึ้น 15.16 ล้านตันต่อปี หรือเฉลี่ย 41,532 ตันต่อวัน แต่นำกลับมาใช้ประโยชน์เพียง 3.91 ล้านตัน หรือแค่ 1 ใน 4 เท่านั้น
วันนี้ (2 ธันวาคม 2556) ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า จากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงห่วงใยต่อสถานการณ์ปัญหาสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยและของโลก พร้อมทั้งตรัสให้พสกนิกรชาวไทยร่วมมือแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจังด้วยความสุขุมรอบคอบ ถือเป็นหน้าที่ของทุกคนต้องปฏิบัติ มิใช่เพียงเพื่อประเทศไทยเท่านั้น หากเพื่อความอยู่รอดของโลกด้วย คณะรัฐมนตรีจึงมีมติกำหนดให้วันที่ 4 ธันวาคมของทุกปีเป็นวันสิ่งแวดล้อมไทย เพื่อกระตุ้นให้ชาวไทยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและตระหนักถึงความสำคัญในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข จึงได้จัดกิจกรรม แลกขยะสร้างส้วม?รณรงค์การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าเนื่องในวันสิ่งแวดล้อมไทย โดยการเชิญชวนเจ้าหน้าที่กรมอนามัย และกระทรวงสาธารณสุขนำขยะรีไซเคิลหรือสิ่งของที่สามารถซ่อมแซมและนำไปใช้ใหม่ได้มารวบรวมก่อนนำไปจำหน่าย และบริจาคเสื้อผ้า สิ่งของ เครื่องใช้ที่ยังใช้ประโยชน์ได้มาจำหน่ายในราคาพิเศษ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลดปริมาณขยะ ลดภาวะโลกร้อน พร้อมทั้งอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เตรียมนำรายได้สมทบทุนโครงการสุขอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งมีเป้าหมายสร้างและปรับปรุงห้องส้วมให้กับโรงเรียนในถิ่นทุรกันดาร จำนวน 60 แห่ง รวม 600 ห้องส้วม
ดร.นพ.พรเทพ กล่าวต่อไปว่า แต่ละปีประเทศไทยมีขยะเกิดขึ้นกว่า 15 ล้านตัน โดยข้อมูลในปี 2553 พบว่ามีขยะเกิดขึ้น 15.16 ล้านตันต่อปี หรือเฉลี่ย 41,532 ตันต่อวัน แบ่งเป็นขยะที่เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานครประมาณ 8,766 ตัน ในเขตเทศบาลเมืองและเมืองพัทยาประมาณ 16,620 ตัน และจากองค์การบริหารส่วนตำบลประมาณ 16,620 ตัน ซึ่งขยะที่เกิดขึ้นในแต่ละวันส่วนใหญ่เป็นเศษอาหารและอินทรีย์สาร ร้อยละ 64 รองลงมาคือขยะมูลฝอยที่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ ร้อยละ 30 แต่กลับมีการนำกลับมาใช้ประโยชน์หรือรีไซเคิลเพียง 3.91 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 26 หรือแค่ 1 ใน 4 เท่านั้น โดย 3.20 ล้านตัน เป็นขยะรีไซเคิลจะถูกนำมาใช้ประโยชน์โดยร้านรับซื้อของเก่า ศูนย์วัสดุรีไซเคิลชุมชน ธนาคารขยะรีไซเคิล และการเรียกคืนบรรจุภัณฑ์โดยผู้ประกอบการ สำหรับขยะอินทรีย์จะถูกนำมาหมักเป็นปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ และผลิตก๊าซชีวภาพ (Biogas) ประมาณ 0.59 ล้านตัน และนำมาผลิตพลังงานไฟฟ้าและเชื้อเพลิงทดแทน ประมาณ 0.12 ล้านตัน
ทั้งนี้ ปริมาณขยะที่เพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากการขยายตัวของชุมชนและเศรษฐกิจ ซึ่งสามารถคาดการณ์ได้ว่าปริมาณขยะจะเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 2 ต่อปี ประชาชนจึงต้องตระหนักและรู้ถึงวิธีการจัดการขยะแต่ละประเภทให้ถูกวิธี เพื่อช่วยกันลดประมาณขยะ ลดภาวะโลกร้อน เช่น ขยะย่อยสลายได้ อาทิ เศษอาหารและพืชผักที่เหลือจากมื้ออาหารสามารถนำไปหมักเป็นปุ๋ยหรือน้ำหมักชีวภาพได้ ขยะรีไซเคิล อาทิ แก้ว กระดาษ พลาสติก โลหะ อโลหะ สามารถนำไปแปรรูปหรือรีไซเคิลเพื่อสร้างมูลค้าและสร้างรายได้ ส่วนขยะทั่วไป อาทิ ซองบะหมี่สำเร็จรูป เปลือกลูกอม ถุงขนม ถุงพลาสติก ถือเป็นขยะที่ย่อยสลายยากและไม่คุ้มค่าในการนำไปรีไซเคิลจึงควรลดปริมาณการใช้ สำหรับขยะพิษ อาทิ กระป๋องยา ฆ่าแมลง หลอดไฟ ถ่านไฟฉาย น้ำยาทำความสะอาด เป็นขยะที่ต้องเก็บรวบรวมแล้วนำไปกำจัดอย่างถูกวิธี โดยแยกขยะพิษใส่ถุงพลาสติกและนำไปทิ้งในถังหรือภาชนะที่เก็บแยก ซึ่งมีสีและลักษณะแตกต่างจากถังขยะทั่วไป ส่วนใหญ่จะวางไว้ตามจุดต่าง ๆ เช่น ปั๊มน้ำมัน ห้างสรรพสินค้า ถ้าไม่สามารถหาถังหรือภาชนะดังกล่าวเพื่อทิ้งขยะได้ ก่อนนำไปทิ้งต้องเขียนหน้าถุงว่าขยะอันตราย? อธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด
***
สำนักสื่อสารและตอบโต้ความเสี่ยง / 2 ธันวาคม 2556
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข กระตุ้นเจ้าหน้าที่ลดปริมาณขยะ เนื่องในวันสิ่งแวดล้อมไทยจัดกิจกรรม \\แลกขยะสร้างส้วม นำรายได้สร้างส้วมสานฝันเด็กไทยในถิ่นทุรกันดาร ชี้ ปริมาณขยะในไทย เกิดขึ้น 15.16 ล้านตันต่อปี หรือเฉลี่ย 41,532 ตันต่อวัน แต่นำกลับมาใช้ประโยชน์เพียง 3.91 ล้านตัน หรือแค่ 1 ใน 4 เท่านั้น วันนี้ (2 ธันวาคม 2556) ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า จากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงห่วงใยต่อสถานการณ์ปัญหาสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยและของโลก พร้อมทั้งตรัสให้พสกนิกรชาวไทยร่วมมือแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจังด้วยความสุขุมรอบคอบ ถือเป็นหน้าที่ของทุกคนต้องปฏิบัติ มิใช่เพียงเพื่อประเทศไทยเท่านั้น หากเพื่อความอยู่รอดของโลกด้วย คณะรัฐมนตรีจึงมีมติกำหนดให้วันที่ 4 ธันวาคมของทุกปีเป็นวันสิ่งแวดล้อมไทย เพื่อกระตุ้นให้ชาวไทยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและตระหนักถึงความสำคัญในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข จึงได้จัดกิจกรรม \\แลกขยะสร้างส้วมรณรงค์การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าเนื่องในวันสิ่งแวดล้อมไทย โดยการเชิญชวนเจ้าหน้าที่กรมอนามัย และกระทรวงสาธารณสุขนำขยะรีไซเคิลหรือสิ่งของที่สามารถซ่อมแซมและนำไปใช้ใหม่ได้มารวบรวมก่อนนำไปจำหน่าย และบริจาคเสื้อผ้า สิ่งของ เครื่องใช้ที่ยังใช้ประโยชน์ได้มาจำหน่ายในราคาพิเศษ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลดปริมาณขยะ ลดภาวะโลกร้อน พร้อมทั้งอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เตรียมนำรายได้สมทบทุนโครงการสุขอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งมีเป้าหมายสร้างและปรับปรุงห้องส้วมให้กับโรงเรียนในถิ่นทุรกันดาร จำนวน 60 แห่ง รวม 600 ห้องส้วม ดร.นพ.พรเทพ กล่าวต่อไปว่า แต่ละปีประเทศไทยมีขยะเกิดขึ้นกว่า 15 ล้านตัน โดยข้อมูลในปี 2553 พบว่ามีขยะเกิดขึ้น 15.16 ล้านตันต่อปี หรือเฉลี่ย 41,532 ตันต่อวัน แบ่งเป็นขยะที่เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานครประมาณ 8,766 ตัน ในเขตเทศบาลเมืองและเมืองพัทยาประมาณ 16,620 ตัน และจากองค์การบริหารส่วนตำบลประมาณ 16,620 ตัน ซึ่งขยะที่เกิดขึ้นในแต่ละวันส่วนใหญ่เป็นเศษอาหารและอินทรีย์สาร ร้อยละ 64 รองลงมาคือขยะมูลฝอยที่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ ร้อยละ 30 แต่กลับมีการนำกลับมาใช้ประโยชน์หรือรีไซเคิลเพียง 3.91 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 26 หรือแค่ 1 ใน 4 เท่านั้น โดย 3.20 ล้านตัน เป็นขยะรีไซเคิลจะถูกนำมาใช้ประโยชน์โดยร้านรับซื้อของเก่า ศูนย์วัสดุรีไซเคิลชุมชน ธนาคารขยะรีไซเคิล และการเรียกคืนบรรจุภัณฑ์โดยผู้ประกอบการ สำหรับขยะอินทรีย์จะถูกนำมาหมักเป็นปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ และผลิตก๊าซชีวภาพ (Biogas) ประมาณ 0.59 ล้านตัน และนำมาผลิตพลังงานไฟฟ้าและเชื้อเพลิงทดแทน ประมาณ 0.12 ล้านตัน \\ทั้งนี้ ปริมาณขยะที่เพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากการขยายตัวของชุมชนและเศรษฐกิจ ซึ่งสามารถคาดการณ์ได้ว่าปริมาณขยะจะเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 2 ต่อปี ประชาชนจึงต้องตระหนักและรู้ถึงวิธีการจัดการขยะแต่ละประเภทให้ถูกวิธี เพื่อช่วยกันลดประมาณขยะ ลดภาวะโลกร้อน เช่น ขยะย่อยสลายได้ อาทิ เศษอาหารและพืชผักที่เหลือจากมื้ออาหารสามารถนำไปหมักเป็นปุ๋ยหรือน้ำหมักชีวภาพได้ ขยะรีไซเคิล อาทิ แก้ว กระดาษ พลาสติก โลหะ อโลหะ สามารถนำไปแปรรูปหรือรีไซเคิลเพื่อสร้างมูลค้าและสร้างรายได้ ส่วนขยะทั่วไป อาทิ ซองบะหมี่สำเร็จรูป เปลือกลูกอม ถุงขนม ถุงพลาสติก ถือเป็นขยะที่ย่อยสลายยากและไม่คุ้มค่าในการนำไปรีไซเคิลจึงควรลดปริมาณการใช้ สำหรับขยะพิษ อาทิ กระป๋องยา ฆ่าแมลง หลอดไฟ ถ่านไฟฉาย น้ำยาทำความสะอาด เป็นขยะที่ต้องเก็บรวบรวมแล้วนำไปกำจัดอย่างถูกวิธี โดยแยกขยะพิษใส่ถุงพลาสติกและนำไปทิ้งในถังหรือภาชนะที่เก็บแยก ซึ่งมีสีและลักษณะแตกต่างจากถังขยะทั่วไป ส่วนใหญ่จะวางไว้ตามจุดต่าง ๆ เช่น ปั๊มน้ำมัน ห้างสรรพสินค้า ถ้าไม่สามารถหาถังหรือภาชนะดังกล่าวเพื่อทิ้งขยะได้ ก่อนนำไปทิ้งต้องเขียนหน้าถุงว่าขยะอันตราย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด *** สำนักสื่อสารและตอบโต้ความเสี่ยง / 2 ธันวาคม 2556