คุณกำลังมองหาอะไร?

ข่า

ข่าวแจก "กรมอนามัย นำร่องคณะอนุกรรมการ สธ. 32 จังหวัด คุ้มครองสิทธิด้านสุขภาพประชาชน"

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

02.12.2556
5
0
แชร์
02
ธันวาคม
2556

ข่าวแจก "กรมอนามัย นำร่องคณะอนุกรรมการ สธ. 32 จังหวัด คุ้มครองสิทธิด้านสุขภาพประชาชน"

        กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขตั้งคณะอนุกรรมการสาธารณสุขจังหวัด เพื่อคุ้มครองสิทธิด้านสุขภาพประชาชน หวังลดปัญหาอนามัยสิ่งแวดล้อมและเตรียมความพร้อมการก้าวเข้าสู่ประคมอาเซียน เริ่มนำร่อง 32 จังหวัด
        ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง ทิศทางงานอนามัยสิ่งแวดล้อมในบริบทของคณะอนุกรรมการสาธารณสุขจังหวัด ปี 2557 ณ โรงแรมอมารี ดอนเมือง แอร์พอร์ต กรุงเทพมหานคร ว่า การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการสาธารณสุขจังหวัด ในครั้งนี้ เพื่อทำหน้าที่คุ้มครองสิทธิด้านสุขภาพให้กับประชาชน และเชื่อมโยงการทำงานระหว่างหน่วยงานทั้งในส่วนกลางและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน หัวหน้าส่วนราชการระดับจังหวัดที่รับผิดชอบและกำกับดูแลการดำเนินงานด้านกฎหมาย การดูแลสุขภาพ การจัดการสิ่งแวดล้อม และการประกอบกิจการ จากท้องถิ่น ภาคเอกชน ผู้ทรงคุณวุฒิเป็นอนุกรรมการ และมีนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเป็นฝ่ายเลขานุการ โดยเริ่มนำร่องใน 32 จังหวัด หวังลดปัญหาด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการลักลอบทิ้งขยะติดเชื้อหรือสิ่งปฏิกูลในที่สาธารณะ การประกอบกิจการที่มีการจัดการของเสียไม่ถูกต้อง อีกทั้งเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือกับปัญหาการเคลื่อนย้ายแรงงาน ชุมชนแออัด และขยะจากการนำเข้าสินค้าในการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของประเทศ
        ดร.นพ.พรเทพ กล่าวต่อไปว่า จากข้อมูลของกรมมลพิษในปี 2553 พบว่า ปริมาณขยะติดเชื้อมีประมาณ 4 หมื่นตันต่อปี โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือสถานบริการที่เป็นแหล่งกำเนิดเป็นผู้รับผิดชอบกำจัด แต่ยังพบว่ามีการลักลอบนำขยะติดเชื้อไปทิ้งตามสถานที่สาธารณะ หรือของเสียจากชุมชน เช่น ถ่านไฟฉาย หลอดฟลูออเรสเซนต์ที่ส่วนใหญ่ไม่ได้ถูกนำไปกำจัดอย่างถูกวิธี รวมทั้งกากของเสียจากภาคอุตสาหกรรมที่มีปริมาณ 2.37 ล้านตันต่อปี ที่ถูกนำไปกำจัดอย่างถูกวิธี ประมาณ 2.28 ล้านตัน หรือร้อยละ 97 มีบางส่วนที่ลักลอบทิ้งตามพื้นที่รกร้างหรือบ่อดินเก่าซึ่งเกิดการร้องเรียนมากถึง 12 ครั้ง นอกจากปัญหาดังกล่าวจะสร้างความเดือดร้อนรำคาญแก่ประชาชนแล้วยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพทั้งทางตรงและทางอ้อมจากการสัมผัสหรือได้รับเชื้อ และสารเคมีที่ปนเปื้อนมากับน้ำหรืออาหาร เสี่ยงต่อการเจ็บป่วยจากโรคต่างๆ เช่น ท้องร่วง โรคพยาธิ เชื้ออหิวาตกโรค ไทฟอยด์ โรคบิด บาดทะยัก ไวรัสตับอักเสบ และโรคเอดส์
        ที่ผ่านมากรมอนามัยได้ร่วมกับกรมควบคุมมลพิษดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ.2555-2559 เพื่อลดปัญหาและผลกระทบด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมให้มีประสิทธิภาพ และสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ปัจจุบัน มีศักยภาพและใกล้ชิดประชาชนในพื้นที่ รวมทั้งมีอำนาจหน้าที่จัดการปัญหาอนามัยสิ่งแวดล้อมในชุมชนตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 โดยมีคณะกรรมการสาธารณสุขเป็นผู้กำกับการดำเนินงานตามกฎหมาย และสร้างความรู้ให้เจ้าพนักงานสาธารณสุขสามารถนำกฎหมายไปใช้ได้อย่างถูกต้อง และแต่งตั้งคณะอนุกรรมการสาธารณสุขจังหวัดขึ้นเพื่อคุ้มครองสิทธิด้านสุขภาพให้กับประชาชน โดยประชาชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการได้ ด้วยการแจ้งปัญหา เหตุขัดข้อง และผลกระทบที่เกิดขึ้นจากขั้นตอนการปฏิบัติหรือกระบวนการของกฎหมาย อีกทั้งยังสามารถเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงแก้ไขปัญหาต่างๆ ผ่านทางฝ่ายเลขานุการคณะอนุกรรมการสาธารณสุขจังหวัดเพื่อส่งเรื่องไปยังคณะกรรมการสาธารณสุขหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบนำเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขพิจารณากำหนดเป็นมาตรการทางกฎหมายต่อไป? อธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด
 
***
สำนักสื่อสารและตอบโต้ความเสี่ยง / 2 ธันวาคม 2556
 
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขตั้งคณะอนุกรรมการสาธารณสุขจังหวัด เพื่อคุ้มครองสิทธิด้านสุขภาพประชาชน หวังลดปัญหาอนามัยสิ่งแวดล้อมและเตรียมความพร้อมการก้าวเข้าสู่ประคมอาเซียน เริ่มนำร่อง 32 จังหวัด ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง ทิศทางงานอนามัยสิ่งแวดล้อมในบริบทของคณะอนุกรรมการสาธารณสุขจังหวัด ปี 2557 ณ โรงแรมอมารี ดอนเมือง แอร์พอร์ต กรุงเทพมหานคร ว่า การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการสาธารณสุขจังหวัด ในครั้งนี้ เพื่อทำหน้าที่คุ้มครองสิทธิด้านสุขภาพให้กับประชาชน และเชื่อมโยงการทำงานระหว่างหน่วยงานทั้งในส่วนกลางและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน หัวหน้าส่วนราชการระดับจังหวัดที่รับผิดชอบและกำกับดูแลการดำเนินงานด้านกฎหมาย การดูแลสุขภาพ การจัดการสิ่งแวดล้อม และการประกอบกิจการ จากท้องถิ่น ภาคเอกชน ผู้ทรงคุณวุฒิเป็นอนุกรรมการ และมีนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเป็นฝ่ายเลขานุการ โดยเริ่มนำร่องใน 32 จังหวัด หวังลดปัญหาด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการลักลอบทิ้งขยะติดเชื้อหรือสิ่งปฏิกูลในที่สาธารณะ การประกอบกิจการที่มีการจัดการของเสียไม่ถูกต้อง อีกทั้งเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือกับปัญหาการเคลื่อนย้ายแรงงาน ชุมชนแออัด และขยะจากการนำเข้าสินค้าในการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของประเทศ ดร.นพ.พรเทพ กล่าวต่อไปว่า จากข้อมูลของกรมมลพิษในปี 2553 พบว่า ปริมาณขยะติดเชื้อมีประมาณ 4 หมื่นตันต่อปี โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือสถานบริการที่เป็นแหล่งกำเนิดเป็นผู้รับผิดชอบกำจัด แต่ยังพบว่ามีการลักลอบนำขยะติดเชื้อไปทิ้งตามสถานที่สาธารณะ หรือของเสียจากชุมชน เช่น ถ่านไฟฉาย หลอดฟลูออเรสเซนต์ที่ส่วนใหญ่ไม่ได้ถูกนำไปกำจัดอย่างถูกวิธี รวมทั้งกากของเสียจากภาคอุตสาหกรรมที่มีปริมาณ 2.37 ล้านตันต่อปี ที่ถูกนำไปกำจัดอย่างถูกวิธี ประมาณ 2.28 ล้านตัน หรือร้อยละ 97 มีบางส่วนที่ลักลอบทิ้งตามพื้นที่รกร้างหรือบ่อดินเก่าซึ่งเกิดการร้องเรียนมากถึง 12 ครั้ง นอกจากปัญหาดังกล่าวจะสร้างความเดือดร้อนรำคาญแก่ประชาชนแล้วยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพทั้งทางตรงและทางอ้อมจากการสัมผัสหรือได้รับเชื้อ และสารเคมีที่ปนเปื้อนมากับน้ำหรืออาหาร เสี่ยงต่อการเจ็บป่วยจากโรคต่างๆ เช่น ท้องร่วง โรคพยาธิ เชื้ออหิวาตกโรค ไทฟอยด์ โรคบิด บาดทะยัก ไวรัสตับอักเสบ และโรคเอดส์ \\ที่ผ่านมากรมอนามัยได้ร่วมกับกรมควบคุมมลพิษดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ.2555-2559 เพื่อลดปัญหาและผลกระทบด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมให้มีประสิทธิภาพ และสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ปัจจุบัน มีศักยภาพและใกล้ชิดประชาชนในพื้นที่ รวมทั้งมีอำนาจหน้าที่จัดการปัญหาอนามัยสิ่งแวดล้อมในชุมชนตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 โดยมีคณะกรรมการสาธารณสุขเป็นผู้กำกับการดำเนินงานตามกฎหมาย และสร้างความรู้ให้เจ้าพนักงานสาธารณสุขสามารถนำกฎหมายไปใช้ได้อย่างถูกต้อง และแต่งตั้งคณะอนุกรรมการสาธารณสุขจังหวัดขึ้นเพื่อคุ้มครองสิทธิด้านสุขภาพให้กับประชาชน โดยประชาชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการได้ ด้วยการแจ้งปัญหา เหตุขัดข้อง และผลกระทบที่เกิดขึ้นจากขั้นตอนการปฏิบัติหรือกระบวนการของกฎหมาย อีกทั้งยังสามารถเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงแก้ไขปัญหาต่างๆ ผ่านทางฝ่ายเลขานุการคณะอนุกรรมการสาธารณสุขจังหวัดเพื่อส่งเรื่องไปยังคณะกรรมการสาธารณสุขหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบนำเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขพิจารณากำหนดเป็นมาตรการทางกฎหมายต่อไป อธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด *** สำนักสื่อสารและตอบโต้ความเสี่ยง / 2 ธันวาคม 2556

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน

ติดตามข่าวสารได้ที่

แทงบอลออนไลน์ || ดูบอลสด