ข่าวแจก "กรม อ. คาดอีก 20 ปี ผู้สูงอายุไทยแตะ 20 ล้านคน เร่งพัฒนาเครือข่ายลด 6 โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง"
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข คาดจำนวนผู้สูงอายุในอีก 20 ปีข้างหน้า แตะที่ 20 ล้านคน เร่งพัฒนาศักยภาพบุคลากรและภาคีเครือข่ายการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ เพื่อให้ผู้สูงอายุปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์หวังลด 6 โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดโครงการพัฒนาศักยภาพ ครู ก. ด้านการพัฒนาทักษะกาย ใจ ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุ ปี 2556 ภายใต้แผนงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุและผู้พิการ ณ โรงแรมรามาการ์เดนส์ กรุงเทพมหานคร ว่า จากการที่ประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งข้อมูลของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ปี 2556 พบว่า ประเทศไทยมีผู้สูงอายุ 60 ปี ขึ้นไป จำนวน 9.5 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 14.72 ซึ่งถือว่าประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุตามเกณฑ์องค์การสหประชาชาติ(UN) คือ มีประชากรผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 10 ขึ้นไป และคาดการณ์ว่าอีก 20 ปีข้างหน้า ประเทศไทยจะเป็นสังคมสูงวัยระดับสุดยอด คือ มีประชากรผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 30 หรือประมาณ 20 ล้านคน นอกจากนี้ จากข้อมูลปี 2555 ไทยยังกลายเป็นประเทศที่มีผู้สูงอายุมากที่สุดในอาเซียน
ดร.นพ.พรเทพ กล่าวต่อไปว่า ในขณะที่สถานการณ์ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุพบว่า ผู้สูงอายุที่มีอายุระหว่าง 60 ? 69 ปี ร้อยละ 69.3 เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดย 6 โรคที่พบมากที่สุด คือ โรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 31.7 โรคเบาหวาน ร้อยละ 13.3 โรคหัวใจ ร้อยละ 7 อัมพาต/อัมฤกษ์ ร้อยละ 2.5 โรคหลอดเลือดในสมองตีบ ร้อยละ 1.6 และโรคมะเร็ง ร้อยละ 0.5 ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีฟันแท้เหลือน้อยกว่า 20 ซี่ ส่งผลต่อการรับประทานอาหารและคุณภาพชีวิต และผู้สูงอายุมีแนวโน้มคนเดียวหรืออยู่ลำพังเพิ่มมากขึ้น มีภาวะเหงาและต้องการคนดูแลเมื่อเวลาเจ็บป่วย จากสถานการณ์ดังกล่าวเพื่อเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุให้ดีขึ้นทั้งทางกายและจิตใจ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขจึงได้เร่งดำเนินงานเพื่อส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุและรองรับการก้าวเข้าสู่สังคมอายุของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการจัดให้มีส้วมนั่งราบห้อยขา การสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ และในวันนี้ได้จัดโครงการพัฒนาศักยภาพ ครู ก. ด้านการพัฒนาทักษะกายใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุ ปี 2556 ภายใต้แผนงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุและผู้พิการ เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยี วิชาการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ พร้อมทั้งส่งเสริมและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุ ให้มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี โดยผสมผสานมาตรฐานการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมทั้งสุขภาพกายและจิตใจอย่างยั่งยืน
ทั้งนี้ การพัฒนาศักยภาพ ครู ก. จะประกอบด้วยผู้รับผิดชอบงานผู้สูงอายุจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ และโรงพยาบาลชุมชนจากทั่วประเทศกว่า 700 คน เพื่อให้การดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุมีประสิทธิภาพและครอบคลุมทั่วประเทศมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังเป็นการพัฒนาสมุดบันทึกสุขภาพผู้สูงอายุที่กรมอนามัยจะจัดทำขึ้น เพื่อให้ผู้สูงอายุทุกคนเก็บไว้เป็นสมุดประจำตัวและเป็นคู่มือการดูแลสุขภาพสำหรับตนเองและคนในครอบครัวอีกด้วย? อธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด
***
สำนักสื่อสารและตอบโต้ความเสี่ยง / 28 พฤศจิกายน 2556
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข คาดจำนวนผู้สูงอายุในอีก 20 ปีข้างหน้า แตะที่ 20 ล้านคน เร่งพัฒนาศักยภาพบุคลากรและภาคีเครือข่ายการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ เพื่อให้ผู้สูงอายุปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์หวังลด 6 โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดโครงการพัฒนาศักยภาพ ครู ก. ด้านการพัฒนาทักษะกาย ใจ ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุ ปี 2556 ภายใต้แผนงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุและผู้พิการ ณ โรงแรมรามาการ์เดนส์ กรุงเทพมหานคร ว่า จากการที่ประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งข้อมูลของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ปี 2556 พบว่า ประเทศไทยมีผู้สูงอายุ 60 ปี ขึ้นไป จำนวน 9.5 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 14.72 ซึ่งถือว่าประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุตามเกณฑ์องค์การสหประชาชาติ(UN) คือ มีประชากรผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 10 ขึ้นไป และคาดการณ์ว่าอีก 20 ปีข้างหน้า ประเทศไทยจะเป็นสังคมสูงวัยระดับสุดยอด คือ มีประชากรผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 30 หรือประมาณ 20 ล้านคน นอกจากนี้ จากข้อมูลปี 2555 ไทยยังกลายเป็นประเทศที่มีผู้สูงอายุมากที่สุดในอาเซียน ดร.นพ.พรเทพ กล่าวต่อไปว่า ในขณะที่สถานการณ์ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุพบว่า ผู้สูงอายุที่มีอายุระหว่าง 60 69 ปี ร้อยละ 69.3 เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดย 6 โรคที่พบมากที่สุด คือ โรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 31.7 โรคเบาหวาน ร้อยละ 13.3 โรคหัวใจ ร้อยละ 7 อัมพาต/อัมฤกษ์ ร้อยละ 2.5 โรคหลอดเลือดในสมองตีบ ร้อยละ 1.6 และโรคมะเร็ง ร้อยละ 0.5 ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีฟันแท้เหลือน้อยกว่า 20 ซี่ ส่งผลต่อการรับประทานอาหารและคุณภาพชีวิต และผู้สูงอายุมีแนวโน้มคนเดียวหรืออยู่ลำพังเพิ่มมากขึ้น มีภาวะเหงาและต้องการคนดูแลเมื่อเวลาเจ็บป่วย จากสถานการณ์ดังกล่าวเพื่อเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุให้ดีขึ้นทั้งทางกายและจิตใจ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขจึงได้เร่งดำเนินงานเพื่อส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุและรองรับการก้าวเข้าสู่สังคมอายุของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการจัดให้มีส้วมนั่งราบห้อยขา การสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ และในวันนี้ได้จัดโครงการพัฒนาศักยภาพ ครู ก. ด้านการพัฒนาทักษะกายใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุ ปี 2556 ภายใต้แผนงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุและผู้พิการ เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยี วิชาการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ พร้อมทั้งส่งเสริมและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุ ให้มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี โดยผสมผสานมาตรฐานการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมทั้งสุขภาพกายและจิตใจอย่างยั่งยืน \\ทั้งนี้ การพัฒนาศักยภาพ ครู ก. จะประกอบด้วยผู้รับผิดชอบงานผู้สูงอายุจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ และโรงพยาบาลชุมชนจากทั่วประเทศกว่า 700 คน เพื่อให้การดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุมีประสิทธิภาพและครอบคลุมทั่วประเทศมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังเป็นการพัฒนาสมุดบันทึกสุขภาพผู้สูงอายุที่กรมอนามัยจะจัดทำขึ้น เพื่อให้ผู้สูงอายุทุกคนเก็บไว้เป็นสมุดประจำตัวและเป็นคู่มือการดูแลสุขภาพสำหรับตนเองและคนในครอบครัวอีกด้วย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด *** สำนักสื่อสารและตอบโต้ความเสี่ยง / 28 พฤศจิกายน 2556