คุณกำลังมองหาอะไร?

ข่า

ข่าวแจก"สธ. จับมือ 18 ประเทศเอเชีย จัดประชุมวิชาการนานาชาติ ร่วมแก้ปัญหาโรคฟันผุ"

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

20.11.2556
12
0
แชร์
20
พฤศจิกายน
2556

ข่าวแจก"สธ. จับมือ 18 ประเทศเอเชีย จัดประชุมวิชาการนานาชาติ ร่วมแก้ปัญหาโรคฟันผุ"

        กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับมูลนิธิทันตนวัตกรรม ในพระบรมราชูปถัมภ์ฯ หน่วยทันตกรรมพระราชทาน ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และทันตแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ฯ จัดประชุมวิชาการนานาชาติ Caries Control throughout Life in Asia? ระดม 18 ประเทศในทวีปเอเชีย กำหนดแนวทาง ลดปัญหาโรคฟันผุของประเทศในภาคพื้นเอเชีย โดยได้รับการสนับสนุนจากองค์การอนามัยโลก (WHO), International Association for Dental Research (IADR) และ World Dental Federation (FDI)
        วันนี้ (20 พฤศจิกายน 2556) นายสุรชัย เบ้าจรรยา ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดประชุมวิชาการนานาชาติ Caries Control throughout Life in Asia?ณ บียอนด์รีสอร์ท จังหวัดกระบี่ ว่า โรคฟันผุเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศ ทุกวัย และส่งผลกระทบไปถึงคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนาและด้อยพัฒนาในแถบเอเชีย ทั้งด้านการกินอาหาร การพูด บุคลิกภาพและการเข้าสังคม สำหรับประเทศไทยแม้จะมีมาตรการควบคุม ป้องกันและดูแลรักษาฟันผุอย่างต่อเนื่อง แต่จากผลการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพประเทศไทยครั้งที่ 7 พ.ศ. 2555 พบว่า เด็กเล็กอายุ 3 ปี, 5 ปี มีฟันน้ำนมผุร้อยละ 52 และ 79 เด็กวัยเรียนอายุ 12 ปี, 15 ปี มีฟันแท้ผุร้อยละ 52 และ 62 กลุ่มวัยทำงานและสูงอายุมีฟันผุร้อยละ 87 และ 97 สาเหตุหลักมาจากพฤติกรรมการดูแลอนามัยช่องปากของประชาชน และพฤติกรรมการบริโภคของเด็กที่นิยมกินอาหารหรือขนมที่หาซื้อได้ง่าย เช่น น้ำอัดลม ขนมกรุบกรอบ นอกจากจะทำให้เกิดปัญหาฟันผุแล้ว ยังก่อให้เกิดความเจ็บปวด การติดเชื้อและสร้างปัญหาการบดเคี้ยวอาหาร มีผลต่อน้ำหนัก การเจริญเติบโตและบุคลิกภาพ ที่สำคัญคือมีผลกระทบต่อการเรียน ทำให้เด็กหยุดเรียนถึงปีละประมาณ 400,000 คน และปัญหาฟันผุยังนำไปสู่การสูญเสียฟันที่เริ่มต้นในวัยเด็ก และสะสมจนกลายเป็นการสูญเสียฟันทั้งปากจนไม่สามารถเคี้ยวอาหารได้ในวัยสูงอายุ
        นายสุรชัย กล่าวต่อไปว่า ขณะนี้มีความร่วมมือในระดับนานาชาติจากหลากหลายองค์กรเพื่อลดโรคฟันผุใน ทุกกลุ่มวัย เช่น องค์การอนามัยโลก (WHO), World Dental Federation (FDI) และInternational Association of Dental Research (IADR) ได้แนะนำให้แต่ละประเทศมีการวางแผน/นโยบายเกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก ในระดับชาติ รวมถึงการป้องกันฟันผุเพื่อพัฒนายุทธศาสตร์และแผนงาน รวมทั้งการศึกษาวิจัย ที่จะนำไปสู่การสร้างเสริมสุขภาพช่องปากที่ดีสำหรับทุกคน
      ทางด้าน ทันตแพทย์สุธา เจียรมณีโชติชัย รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า สำหรับประเทศไทยมีโครงการและมาตรการดูแลป้องกันฟันผุทุกกลุ่มวัย อาทิ ลูกรักฟันดี เริ่มที่ซี่แรก, เด็กไทยไม่กินหวาน, โรงเรียนเด็กไทยฟันดี ชมรมผู้สูงอายุด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก รวมทั้งการบูรณาการกับการส่งเสริมสุขภาพด้านอื่น ๆ เช่น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กคุณภาพ โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว ซึ่งกิจกรรมหลักจะเน้นเรื่องการแปรงฟัน การตรวจสุขภาพช่องปาก การใช้ฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุรูปแบบต่าง ๆ เป็นต้น
      ทั้งนี้ เนื่องจากการจัดการโรคฟันผุในแต่ละประเทศมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับทรัพยากร บุคลากร รวมไปถึงนโยบายสุขภาพของประเทศนั้นๆ ดังนั้นการประชุมวิชาการนานาชาติ Caries Control throughout Life in Asia?ในครั้งนี้ ซึ่งมีผู้แทนจาก 18 ประเทศในทวีปเอเชียเข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย ประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ลาว กัมพูชา พม่า เวียตนาม จีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี อินเดีย เนปาล ฮ่องกง ไต้หวัน ภูฏาน บรูไนดารุสซาลาม และประเทศไทย จึงเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความรู้และแนวทางการดำเนินงานของแต่ละประเทศ อันจะเป็นประโยชน์สำหรับการปรับกลยุทธ์เพื่อลดโรคฟันผุในแต่ละประเทศต่อไป? รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าว
                                                                            
***
สำนักสื่อสารและตอบโต้ความเสี่ยง/ 20 พฤศจิกายน 2556
 
กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับมูลนิธิทันตนวัตกรรม ในพระบรมราชูปถัมภ์ฯ หน่วยทันตกรรมพระราชทาน ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และทันตแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ฯ จัดประชุมวิชาการนานาชาติ \\Caries Control throughout Life in Asia ระดม 18 ประเทศในทวีปเอเชีย กำหนดแนวทาง ลดปัญหาโรคฟันผุของประเทศในภาคพื้นเอเชีย โดยได้รับการสนับสนุนจากองค์การอนามัยโลก (WHO), International Association for Dental Research (IADR) และ World Dental Federation (FDI) วันนี้ (20 พฤศจิกายน 2556) นายสุรชัย เบ้าจรรยา ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดประชุมวิชาการนานาชาติ \\Caries Control throughout Life in Asiaณ บียอนด์รีสอร์ท จังหวัดกระบี่ ว่า โรคฟันผุเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศ ทุกวัย และส่งผลกระทบไปถึงคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนาและด้อยพัฒนาในแถบเอเชีย ทั้งด้านการกินอาหาร การพูด บุคลิกภาพและการเข้าสังคม สำหรับประเทศไทยแม้จะมีมาตรการควบคุม ป้องกันและดูแลรักษาฟันผุอย่างต่อเนื่อง แต่จากผลการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพประเทศไทยครั้งที่ 7 พ.ศ. 2555 พบว่า เด็กเล็กอายุ 3 ปี, 5 ปี มีฟันน้ำนมผุร้อยละ 52 และ 79 เด็กวัยเรียนอายุ 12 ปี, 15 ปี มีฟันแท้ผุร้อยละ 52 และ 62 กลุ่มวัยทำงานและสูงอายุมีฟันผุร้อยละ 87 และ 97 สาเหตุหลักมาจากพฤติกรรมการดูแลอนามัยช่องปากของประชาชน และพฤติกรรมการบริโภคของเด็กที่นิยมกินอาหารหรือขนมที่หาซื้อได้ง่าย เช่น น้ำอัดลม ขนมกรุบกรอบ นอกจากจะทำให้เกิดปัญหาฟันผุแล้ว ยังก่อให้เกิดความเจ็บปวด การติดเชื้อและสร้างปัญหาการบดเคี้ยวอาหาร มีผลต่อน้ำหนัก การเจริญเติบโตและบุคลิกภาพ ที่สำคัญคือมีผลกระทบต่อการเรียน ทำให้เด็กหยุดเรียนถึงปีละประมาณ 400,000 คน และปัญหาฟันผุยังนำไปสู่การสูญเสียฟันที่เริ่มต้นในวัยเด็ก และสะสมจนกลายเป็นการสูญเสียฟันทั้งปากจนไม่สามารถเคี้ยวอาหารได้ในวัยสูงอายุ นายสุรชัย กล่าวต่อไปว่า ขณะนี้มีความร่วมมือในระดับนานาชาติจากหลากหลายองค์กรเพื่อลดโรคฟันผุใน ทุกกลุ่มวัย เช่น องค์การอนามัยโลก (WHO), World Dental Federation (FDI) และInternational Association of Dental Research (IADR) ได้แนะนำให้แต่ละประเทศมีการวางแผน/นโยบายเกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก ในระดับชาติ รวมถึงการป้องกันฟันผุเพื่อพัฒนายุทธศาสตร์และแผนงาน รวมทั้งการศึกษาวิจัย ที่จะนำไปสู่การสร้างเสริมสุขภาพช่องปากที่ดีสำหรับทุกคน ทางด้าน ทันตแพทย์สุธา เจียรมณีโชติชัย รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า สำหรับประเทศไทยมีโครงการและมาตรการดูแลป้องกันฟันผุทุกกลุ่มวัย อาทิ ลูกรักฟันดี เริ่มที่ซี่แรก, เด็กไทยไม่กินหวาน, โรงเรียนเด็กไทยฟันดี ชมรมผู้สูงอายุด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก รวมทั้งการบูรณาการกับการส่งเสริมสุขภาพด้านอื่น ๆ เช่น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กคุณภาพ โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว ซึ่งกิจกรรมหลักจะเน้นเรื่องการแปรงฟัน การตรวจสุขภาพช่องปาก การใช้ฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุรูปแบบต่าง ๆ เป็นต้น \\ทั้งนี้ เนื่องจากการจัดการโรคฟันผุในแต่ละประเทศมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับทรัพยากร บุคลากร รวมไปถึงนโยบายสุขภาพของประเทศนั้นๆ ดังนั้นการประชุมวิชาการนานาชาติ \\Caries Control throughout Life in Asiaในครั้งนี้ ซึ่งมีผู้แทนจาก 18 ประเทศในทวีปเอเชียเข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย ประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ลาว กัมพูชา พม่า เวียตนาม จีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี อินเดีย เนปาล ฮ่องกง ไต้หวัน ภูฏาน บรูไนดารุสซาลาม และประเทศไทย จึงเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความรู้และแนวทางการดำเนินงานของแต่ละประเทศ อันจะเป็นประโยชน์สำหรับการปรับกลยุทธ์เพื่อลดโรคฟันผุในแต่ละประเทศต่อไป รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าว *** สำนักสื่อสารและตอบโต้ความเสี่ยง/ 20 พฤศจิกายน 2556

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน

ติดตามข่าวสารได้ที่

แทงบอลออนไลน์ || ดูบอลสด