ข่าวแจก"สธ.จับมือพันธมิตร จัดโครงการเฉลิมพระเกียรติครบ 5 รอบสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สร้างส้วมในรร.ถิ่นทุรกันดาร 60 แห่ง 600 ห้อง"
กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับภาคีเครือข่าย จัดโครงการสุขอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ปรับปรุงและสร้างส้วมให้โรงเรียนในถิ่นทุรกันดาร จำนวน 60 แห่ง รวม 600 ห้อง เพื่อให้เยาวชนในถิ่นทุรกันดารมีส้วมที่ได้มาตรฐาน ลดความเสี่ยงการจากโรคระบบทางเดินอาหารและสร้างพฤติกรรมการใช้ส้วมที่ถูกต้อง
วันนี้ (15 พฤศจิกายน 2556) นายสรวงศ์ เทียนทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยภายหลังเป็นประธานงานแถลงข่าวโครงการสุขอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ ชั้น LG ศูนย์การค้าเทอร์มินอล 21 ว่า สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชดำริในการพัฒนาเด็กและเยาวชนตลอดจนประชาชนที่อยู่ในถิ่นทุรกันดารมาตั้งแต่ปี 2523 เพื่อให้ทุกคนมีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ซึ่งที่ผ่านมากรมอนามัยได้สนองพระราชดำริโดยดำเนินงานโครงการต่าง ๆ เพื่อให้ความรู้ด้านการส่งเสริมสุขภาพ และอนามัยสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการมีสุขภาพดี ส่งผลให้ภาวะสุขภาพของเด็กและเยาวชนดีขึ้น แต่ยังพบว่าในหลายพื้นที่ยังขาดการจัดหาน้ำดื่มที่สะอาด และการสุขาภิบาลที่ถูกต้อง คือ ขาดแคลนส้วม ส้วมมีสภาพชำรุด ไม่ปลอดภัย ไม่สะอาด มีกลิ่นเหม็น เมื่อพระองค์ท่านเสด็จพระราชดำเนินไปปฏิบัติพระราชกรณียกิจในโรงเรียน ในถิ่นทุรกันดาร จึงทรงมีพระราชกระแสรับสั่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันดูแลให้โรงเรียนในถิ่นทุรกันดารมีส้วมที่สะอาดและเพียงพอต่อการใช้งาน
นายสรวงศ์ กล่าวต่อไปว่า กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมอนามัยได้ร่วมมือกับภาคีเครือข่าย ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาบริษัทสยามซานิทารีแวร์ จำกัด บริษัทปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) บริษัท วี. อาร์. แฮนด์เดิล จำกัด บริษัท คอลเกต ปาล์มโอลีฟ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท เนสเล่ (ไทย) จำกัด บริษัทไฮคิว ผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด มูลนิธิโอสถสภา สมาพันธ์ออฟโรดประเทศไทย มูลนิธิโรคข้อฯ และภาคีเครือข่ายอื่นๆ ที่แสดงความจำนงเข้าจัดทำโครงการสุขอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีขึ้น เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสทรงเจริญพระชนมายุ 60 พรรษา ในวันที่ 2 เมษายน 2558 ด้วยการปรับปรุงและสร้างส้วมให้กับโรงเรียนในถิ่นทุรกันดาร 60 แห่ง จำนวน 600 ห้องส้วมขึ้น ให้ส้วมโรงเรียนในถิ่นทุรกันดารสะอาดได้มาตรฐาน รวมทั้งสร้างอนามัยพื้นฐานให้กับเด็กและเยาวชนให้ดีขึ้นอีกด้วย
ทางด้าน ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า องค์การสหประชาชาติได้รายงานว่า ในจำนวนประชากร 7,000 ล้านคน ไม่มีห้องส้วมใช้ 2,500 ล้านคน และมี 1,100 ล้านคน ขับถ่าย ในที่สาธารณะ ซึ่งเป็นสิ่งคุกคามต่อสุขภาพของประชาชน ในแต่ละปีมีเด็กวัยต่ำกว่า 5 ขวบ จำนวน 760,000 คนทั่วโลก เสียชีวิตจากการเจ็บป่วยด้วยโรคระบบทางเดินอาหาร สำหรับการพัฒนาส้วมในประเทศไทย กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินโครงการรณรงค์สร้างส้วม 100% จนประสบผลสำเร็จ ทำให้ปัจจุบันครัวเรือนไทยมีส้วมถูกหลักสุขาภิบาล ร้อยละ 98.1 และพัฒนาส้วมสาธารณะไทยจนผ่านเกณฑ์มาตรฐาน HAS (สะอาด เพียงพอ ปลอดภัย) ร้อยละ 66.83
ทั้งนี้ กรมอนามัยยังได้รณรงค์ให้ประชาชนมีความตระหนักถึงพฤติกรรมการใช้ส้วมสาธารณะอย่างถูกต้อง โดยไม่ขึ้นไปเหยียบบนโถส้วมแบบนั่งราบ ราดน้ำหรือกดชักโครกทุกครั้งก่อนและหลังการใช้ส้วม ไม่ทิ้งวัสดุอื่น นอกจากกระดาษชำระลงโถส้วม และล้างมือด้วยสบู่และน้ำให้สะอาดทุกครั้งหลังการใช้ส้วม เพื่อลดความเสี่ยงการแพร่ระบาดของโรค อาทิ โรคอุจจาระร่วง อาหารเป็นพิษ บิด ไทฟอยด์ และอหิวาตกโรค เป็นต้น? อธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด
***
สำนักสื่อสารและตอบโต้ความเสี่ยง / 15 พฤศจิกายน 2556
กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับภาคีเครือข่าย จัดโครงการสุขอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ปรับปรุงและสร้างส้วมให้โรงเรียนในถิ่นทุรกันดาร จำนวน 60 แห่ง รวม 600 ห้อง เพื่อให้เยาวชนในถิ่นทุรกันดารมีส้วมที่ได้มาตรฐาน ลดความเสี่ยงการจากโรคระบบทางเดินอาหารและสร้างพฤติกรรมการใช้ส้วมที่ถูกต้อง วันนี้ (15 พฤศจิกายน 2556) นายสรวงศ์ เทียนทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยภายหลังเป็นประธานงานแถลงข่าวโครงการสุขอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ ชั้น LG ศูนย์การค้าเทอร์มินอล 21 ว่า สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชดำริในการพัฒนาเด็กและเยาวชนตลอดจนประชาชนที่อยู่ในถิ่นทุรกันดารมาตั้งแต่ปี 2523 เพื่อให้ทุกคนมีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ซึ่งที่ผ่านมากรมอนามัยได้สนองพระราชดำริโดยดำเนินงานโครงการต่าง ๆ เพื่อให้ความรู้ด้านการส่งเสริมสุขภาพ และอนามัยสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการมีสุขภาพดี ส่งผลให้ภาวะสุขภาพของเด็กและเยาวชนดีขึ้น แต่ยังพบว่าในหลายพื้นที่ยังขาดการจัดหาน้ำดื่มที่สะอาด และการสุขาภิบาลที่ถูกต้อง คือ ขาดแคลนส้วม ส้วมมีสภาพชำรุด ไม่ปลอดภัย ไม่สะอาด มีกลิ่นเหม็น เมื่อพระองค์ท่านเสด็จพระราชดำเนินไปปฏิบัติพระราชกรณียกิจในโรงเรียน ในถิ่นทุรกันดาร จึงทรงมีพระราชกระแสรับสั่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันดูแลให้โรงเรียนในถิ่นทุรกันดารมีส้วมที่สะอาดและเพียงพอต่อการใช้งาน นายสรวงศ์ กล่าวต่อไปว่า กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมอนามัยได้ร่วมมือกับภาคีเครือข่าย ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาบริษัทสยามซานิทารีแวร์ จำกัด บริษัทปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) บริษัท วี. อาร์. แฮนด์เดิล จำกัด บริษัท คอลเกต ปาล์มโอลีฟ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท เนสเล่ (ไทย) จำกัด บริษัทไฮคิว ผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด มูลนิธิโอสถสภา สมาพันธ์ออฟโรดประเทศไทย มูลนิธิโรคข้อฯ และภาคีเครือข่ายอื่นๆ ที่แสดงความจำนงเข้าจัดทำโครงการสุขอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีขึ้น เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสทรงเจริญพระชนมายุ 60 พรรษา ในวันที่ 2 เมษายน 2558 ด้วยการปรับปรุงและสร้างส้วมให้กับโรงเรียนในถิ่นทุรกันดาร 60 แห่ง จำนวน 600 ห้องส้วมขึ้น ให้ส้วมโรงเรียนในถิ่นทุรกันดารสะอาดได้มาตรฐาน รวมทั้งสร้างอนามัยพื้นฐานให้กับเด็กและเยาวชนให้ดีขึ้นอีกด้วย ทางด้าน ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า องค์การสหประชาชาติได้รายงานว่า ในจำนวนประชากร 7,000 ล้านคน ไม่มีห้องส้วมใช้ 2,500 ล้านคน และมี 1,100 ล้านคน ขับถ่าย ในที่สาธารณะ ซึ่งเป็นสิ่งคุกคามต่อสุขภาพของประชาชน ในแต่ละปีมีเด็กวัยต่ำกว่า 5 ขวบ จำนวน 760,000 คนทั่วโลก เสียชีวิตจากการเจ็บป่วยด้วยโรคระบบทางเดินอาหาร สำหรับการพัฒนาส้วมในประเทศไทย กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินโครงการรณรงค์สร้างส้วม 100% จนประสบผลสำเร็จ ทำให้ปัจจุบันครัวเรือนไทยมีส้วมถูกหลักสุขาภิบาล ร้อยละ 98.1 และพัฒนาส้วมสาธารณะไทยจนผ่านเกณฑ์มาตรฐาน HAS (สะอาด เพียงพอ ปลอดภัย) ร้อยละ 66.83 \\ทั้งนี้ กรมอนามัยยังได้รณรงค์ให้ประชาชนมีความตระหนักถึงพฤติกรรมการใช้ส้วมสาธารณะอย่างถูกต้อง โดยไม่ขึ้นไปเหยียบบนโถส้วมแบบนั่งราบ ราดน้ำหรือกดชักโครกทุกครั้งก่อนและหลังการใช้ส้วม ไม่ทิ้งวัสดุอื่น นอกจากกระดาษชำระลงโถส้วม และล้างมือด้วยสบู่และน้ำให้สะอาดทุกครั้งหลังการใช้ส้วม เพื่อลดความเสี่ยงการแพร่ระบาดของโรค อาทิ โรคอุจจาระร่วง อาหารเป็นพิษ บิด ไทฟอยด์ และอหิวาตกโรค เป็นต้น อธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด ***สำนักสื่อสารและตอบโต้ความเสี่ยง / 15 พฤศจิกายน 2556