ข่าวแจก "สธ. เผยเด็กเกิดใหม่ป่วยเป็นโรคธาลัสซีเมียเพิ่มขึ้นปีละกว่าหมื่นคน หนุนหญิงตั้งครรภ์-สามี ตรวจคัดกรองป้องกัน"
กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับ ทบวงมหาวิทยาลัย (โรงเรียนแพทย์) และมูลนิธิโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย แห่งประเทศไทย ดำเนินโครงการป้องกันและควบคุมโรคธาลัสซีเมียตามนโยบายสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า อันจะช่วยลดภาวะการเกิดโรคธาลัสซีเมียในเด็กให้มีจำนวนที่น้อยลง
นายแพทย์วิชัย เทียนถาวร ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนาวิชาการธาลัสซีเมียแห่งชาติครั้งที่ 19 ภาคีเครือข่ายการป้องกันและควบคุมโรคธาลัสซีเมียเพื่อการบริหารจัดการ? ณ ห้องประชุมเรือนคุ้ม โรงแรมคุ้มภูคำ จังหวัดเชียงใหม่ว่า โรคธาลัสซีเมียนับเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศ พบว่าประชากรที่เป็นพาหะมีประมาณ 30-40 หรือประมาณ 18-24 ล้านคน มีผู้ที่เป็นโรคประมาณร้อยละ 1 หรือประมาณ 6 แสนคน ซึ่งในแต่ละปีจากจำนวนหญิงตั้งครรภ์ประมาณ 1 ล้านคนจะมีหญิงตั้งครรภ์ที่เสี่ยงต่อการมีบุตรเป็นโรคธาลัสซีเมียประมาณ 50,000 คน หากขาดการควบคุมและป้องกันโรคที่เหมาะสม คาดว่าในแต่ละปีจะมีเด็กใหม่ที่ป่วยเป็นโรคเพิ่มขึ้นปีละประมาณ 12,000 คน การป้องกันและควบคุมโรคธาลัสซีเมียจึงเป็นแนวทางที่จะช่วยเหลือครอบครัวให้กำเนิดบุตรที่มีสุขภาพที่แข็งแรง
นายแพทย์วิชัย กล่าวต่อไปว่า กระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศนโยบายส่งเสริมป้องกันและควบคุมโรค ธาลัสซีเมียเป็นชุดสิทธิประโยชน์ ตามนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่หญิงตั้งครรภ์และสามีจะได้รับการบริการตรวจกรอง ธาลัสซีเมีย? ฟรี เพื่อเด็กไทยเกิดใหม่ป่วยเป็นโรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรงลดลง พร้อมทั้งลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล โดยพบว่าเด็กป่วย 1 รายจะเสียค่ารักษาพยาบาล 10,500 บาทต่อเดือน ตลอดอายุขัยของเด็กป่วยจะเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลประมาณ 6,600,000 บาทต่อคน ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงมาก ส่วนผู้ป่วยที่มีอยู่จะได้รับการรักษาเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น พร้อมทั้งได้พัฒนาความรู้ การฝึกทักษะในการตรวจวินิจฉัยโรคทางห้องปฏิบัติการ และการให้การปรึกษาทางพันธุศาสตร์ธาลัสซีเมียแก่บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขตลอดจนผลิตยาใช้รักษาผู้ป่วย ผลิตชุดทดสอบใช้ในการตรวจวินิจฉัยแส่งออกขายยังตลาดต่างประเทศ และได้สารเคมีที่มีความจำเป็นตามระบบคุณภาพใช้ภายในประเทศ โดยไม่ต้องซื้อจากต่างประเทศ จึงเป็นการลดการนำเข้าและเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของประเทศ
ทางด้านนายแพทย์ณัฐพร วงษ์ศุทธิภากร รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า การแก้ไขปัญหาโรคธาลัสซีเมียจึงเป็นหน้าที่ของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ต้องร่วมกันดำเนินงาน การประชุมสัมมนาวิชาการธาลัสซีเมียแห่งชาติครั้งที่ 19 ภาคีเครือข่ายการป้องกันและควบคุมโรคธาลัสซีเมียเพื่อการบริหารจัดการ? จะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 30 ตุลาคม - 1 พฤศจิกายน 2556 ซึ่งเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์และสาธารรสุขได้รับความรู้ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ทันสมัยเกี่ยวกับโรคธาลัสซีเมียในการป้องกันและควบคุมโรค อันจะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานป้องกันโรคธาลัสซีเมียที่มีคุณภาพ
ทั้งนี้ ภายในงานได้มีการจัดนิทรรศการนำเสนอผลการนำเสนอผลการดำเนินงานในประเด็น การป้องกันและควบคุมโรคนำพาพัฒนาการตรวจวินิจฉัยผลิตยาเพื่อรักษาผู้ป่วย? ปาฐกถาพิเศษ 60 ปี ธาลัสซีเมียในประเทศไทย โดยศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประเวศ วะสี การนำเสนอผลงานวิจัย จำนวน 47 เรื่อง นอกจากนี้ได้มีการมอบโล่เกียรติคุณแด่ศาสตราจารย์แพทย์หญิงคุณหญิงสุดสาคร ตู้จินดา ประธานมูลนิธิโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียแห่งประเทศไทยฯผู้ประกอบคุณงามความดีและให้การสนับสนุนการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคธาลัสซีเมียมาโดยตลอด พร้อมทั้งมอบโล่เกียรติคุณโรงพยาบาลที่ปฏิบัติงานดีเด่นระดับเขต จำนวน 12 แห่ง ผู้ปฏิบัติงานดีเด่นระดับเขตประกอบด้วยแพทย์ พยาบาล นักวิทยาศาสตร์การแพทยื จำนวน 36 คน และผู้ประสานงานดีเด่นระดับส่วนกลาง จำนวน 4 คน รวมทั้งหมด 53 คน? รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าว
***
สำนักสื่อสารและตอบโต้ความเสี่ยง/30 ตุลาคม 2556
กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับ ทบวงมหาวิทยาลัย (โรงเรียนแพทย์) และมูลนิธิโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย แห่งประเทศไทย ดำเนินโครงการป้องกันและควบคุมโรคธาลัสซีเมียตามนโยบายสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า อันจะช่วยลดภาวะการเกิดโรคธาลัสซีเมียในเด็กให้มีจำนวนที่น้อยลง นายแพทย์วิชัย เทียนถาวร ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนาวิชาการธาลัสซีเมียแห่งชาติครั้งที่ 19 \\ภาคีเครือข่ายการป้องกันและควบคุมโรคธาลัสซีเมียเพื่อการบริหารจัดการ ณ ห้องประชุมเรือนคุ้ม โรงแรมคุ้มภูคำ จังหวัดเชียงใหม่ว่า โรคธาลัสซีเมียนับเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศ พบว่าประชากรที่เป็นพาหะมีประมาณ 30-40 หรือประมาณ 18-24 ล้านคน มีผู้ที่เป็นโรคประมาณร้อยละ 1 หรือประมาณ 6 แสนคน ซึ่งในแต่ละปีจากจำนวนหญิงตั้งครรภ์ประมาณ 1 ล้านคนจะมีหญิงตั้งครรภ์ที่เสี่ยงต่อการมีบุตรเป็นโรคธาลัสซีเมียประมาณ 50,000 คน หากขาดการควบคุมและป้องกันโรคที่เหมาะสม คาดว่าในแต่ละปีจะมีเด็กใหม่ที่ป่วยเป็นโรคเพิ่มขึ้นปีละประมาณ 12,000 คน การป้องกันและควบคุมโรคธาลัสซีเมียจึงเป็นแนวทางที่จะช่วยเหลือครอบครัวให้กำเนิดบุตรที่มีสุขภาพที่แข็งแรง นายแพทย์วิชัย กล่าวต่อไปว่า กระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศนโยบายส่งเสริมป้องกันและควบคุมโรค ธาลัสซีเมียเป็นชุดสิทธิประโยชน์ ตามนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่หญิงตั้งครรภ์และสามีจะได้รับการบริการตรวจกรอง \\ธาลัสซีเมีย ฟรี เพื่อเด็กไทยเกิดใหม่ป่วยเป็นโรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรงลดลง พร้อมทั้งลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล โดยพบว่าเด็กป่วย 1 รายจะเสียค่ารักษาพยาบาล 10,500 บาทต่อเดือน ตลอดอายุขัยของเด็กป่วยจะเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลประมาณ 6,600,000 บาทต่อคน ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงมาก ส่วนผู้ป่วยที่มีอยู่จะได้รับการรักษาเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น พร้อมทั้งได้พัฒนาความรู้ การฝึกทักษะในการตรวจวินิจฉัยโรคทางห้องปฏิบัติการ และการให้การปรึกษาทางพันธุศาสตร์ธาลัสซีเมียแก่บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขตลอดจนผลิตยาใช้รักษาผู้ป่วย ผลิตชุดทดสอบใช้ในการตรวจวินิจฉัยแส่งออกขายยังตลาดต่างประเทศ และได้สารเคมีที่มีความจำเป็นตามระบบคุณภาพใช้ภายในประเทศ โดยไม่ต้องซื้อจากต่างประเทศ จึงเป็นการลดการนำเข้าและเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของประเทศ ทางด้านนายแพทย์ณัฐพร วงษ์ศุทธิภากร รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า การแก้ไขปัญหาโรคธาลัสซีเมียจึงเป็นหน้าที่ของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ต้องร่วมกันดำเนินงาน การประชุมสัมมนาวิชาการธาลัสซีเมียแห่งชาติครั้งที่ 19 \\ภาคีเครือข่ายการป้องกันและควบคุมโรคธาลัสซีเมียเพื่อการบริหารจัดการ จะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 30 ตุลาคม - 1 พฤศจิกายน 2556 ซึ่งเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์และสาธารรสุขได้รับความรู้ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ทันสมัยเกี่ยวกับโรคธาลัสซีเมียในการป้องกันและควบคุมโรค อันจะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานป้องกันโรคธาลัสซีเมียที่มีคุณภาพ \\ทั้งนี้ ภายในงานได้มีการจัดนิทรรศการนำเสนอผลการนำเสนอผลการดำเนินงานในประเด็น \\การป้องกันและควบคุมโรคนำพาพัฒนาการตรวจวินิจฉัยผลิตยาเพื่อรักษาผู้ป่วย ปาฐกถาพิเศษ 60 ปี ธาลัสซีเมียในประเทศไทย โดยศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประเวศ วะสี การนำเสนอผลงานวิจัย จำนวน 47 เรื่อง นอกจากนี้ได้มีการมอบโล่เกียรติคุณแด่ศาสตราจารย์แพทย์หญิงคุณหญิงสุดสาคร ตู้จินดา ประธานมูลนิธิโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียแห่งประเทศไทยฯผู้ประกอบคุณงามความดีและให้การสนับสนุนการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคธาลัสซีเมียมาโดยตลอด พร้อมทั้งมอบโล่เกียรติคุณโรงพยาบาลที่ปฏิบัติงานดีเด่นระดับเขต จำนวน 12 แห่ง ผู้ปฏิบัติงานดีเด่นระดับเขตประกอบด้วยแพทย์ พยาบาล นักวิทยาศาสตร์การแพทยื จำนวน 36 คน และผู้ประสานงานดีเด่นระดับส่วนกลาง จำนวน 4 คน รวมทั้งหมด 53 คน รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าว *** สำนักสื่อสารและตอบโต้ความเสี่ยง/30 ตุลาคม 2556