คุณกำลังมองหาอะไร?

ข่า

ข่าวแจก สธ.รณรงค์ ตลาดสะอาด อาหารปลอดภัยย้ำความมั่นใจผู้บริโภค"

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

28.10.2556
49
0
แชร์
28
ตุลาคม
2556

ข่าวแจก สธ.รณรงค์ ตลาดสะอาด อาหารปลอดภัยย้ำความมั่นใจผู้บริโภค"

        กระทรวงสาธารณสุข จัดกิจกรรมรณรงค์ โครงการตลาดสะอาด อาหารปลอดภัย? โดยเน้นความสะอาดปลอดภัย และถูกหลักโภชนาการ เริ่มตั้งแต่ก่อนเตรียมและการปรุงประกอบอาหาร เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภค
        นายสรวงศ์ เทียนทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิด โครงการตลาดสะอาด อาหารปลอดภัย? ณ ตลาดนางเลิ้ง เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร ว่า กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมอนามัยได้ดำเนินโครงการตลาดสด น่าซื้อที่ส่งเสริมให้ตลาดสดมีการปรับปรุงด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่ดี และมีการตรวจสอบความปลอดภัยของอาหารทั้งอาหารสดและอาหารพร้อมบริโภค ซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2545 จนถึงปัจจุบัน ล่าสุดมีตลาดประเภทที่ 1 (ตลาดที่มีโครงสร้าง) ผ่านเกณฑ์มาตรฐานตลาดสด น่าซื้อ จำนวน 1,332 แห่ง แบ่งเป็นระดับดี 1,087 แห่ง และระดับดีมาก 245 แห่ง สำหรับการรักษาตลาดสด น่าซื้อให้ได้มาตรฐานตลอดนั้น กระทรวงสาธารณสุขยังคงมีการเฝ้าระวังและสุ่มตรวจอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี เพื่อหาการปนเปื้อนสารอันตรายต้องห้าม ได้แก่ สารเร่งเนื้อแดง สารบอแรกซ์ สารฟอกขาว สารกันรา ฟอร์มาลิน ยาฆ่าแมลง ตรวจน้ำมันทอดซ้ำ และการปนเปื้อนแบคทีเรียในน้ำแข็ง ซึ่งข้อมูลการตรวจสอบในปี 2554 จำนวนกว่า 140,000 ตัวอย่างจากทุกจังหวัดพบว่า ร้อยละ 96 ปลอดภัย พบการปนเปื้อนเกินมาตรฐาน 6,250 ตัวอย่างหรือร้อยละ 4 โดยพบน้ำบริโภคตกเกณฑ์มากที่สุด ร้อยละ 35 รองลงมาคือน้ำแข็งในร้านอาหารแผงลอย ร้อยละ 20 ส่วนประเภทผัก ผลไม้ พบมีการปนเปื้อนยาฆ่าแมลงร้อยละ 5 ซึ่งผักที่พบยาฆ่าแมลงตกค้างมากที่สุด ได้แก่ คะน้า กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก และต้นหอม
        นายสรวงศ์ กล่าวต่อไปว่า การป้องกันการปนเปื้อนสารอันตรายก่อนกินผักและผลไม้ จึงต้องล้างผักก่อนหั่น เพราะถ้าหั่นก่อนอาจมีสารพิษตกค้างอยู่ จะทำให้สารพิษซึมเข้าตัวผักได้ ซึ่งการล้างผักที่ถูกวิธีควรล้างด้วยเกลือ ด่างทับทิม น้ำส้มสายชู หรือน้ำซาวข้าว โดยล้างผักในน้ำไหลนาน 2 นาที ช่วยลดสารตกค้างได้ร้อยละ 50 หรือล้างโดยใช้โซเดียมไบคาร์บอเนต 1 ช้อนโต๊ะต่อน้ำอุ่น 1 กะละมัง หรือน้ำประมาณ 20 ลิตร แช่ทิ้งไว้นาน 15 นาที จะลดปริมาณสารพิษได้ร้อยละ 90-95 หลังจากแช่ผักในสารละลายของโซเดียมไบคาร์บอเนตแล้ว ควรนำผักไปล้างน้ำออกหลายๆครั้ง เพื่อชะเอาสารพิษตกค้างที่ผิวออกให้หมด อันจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆได้ โดยเฉพาะการเกิดโรคมะเร็งเต้านมในผู้หญิง
        ทางด้าน ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า การพัฒนาความปลอดภัยด้านอาหาร และคุ้มครองความปลอดภัยอาหารบริโภค ผู้ปรุงประกอบอาหารเพื่อจำหน่าย ควรยึดหลัก 2 ประการ คือ 1) สะอาดปลอดภัย มีการปรุงประกอบอาหารให้ถูกหลักสุขาภิบาลอาหาร โดยเน้นดูแลความสะอาดตั้งแต่กระบวนการเตรียมวัตถุดิบ การล้างให้สะอาดก่อนนำมาปรุงโดยเฉพาะผักที่นำมาใช้อาหารต้องมีการล้างให้สะอาดเพื่อล้างสารเคมีที่อาจปนเปื้อนมาตั้งแต่การเพาะปลูก วัตถุดิบที่ใช้ทำอาหาร ต้องมีคุณภาพดี มาจากแหล่งผลิตที่เชื่อถือได้ เช่น การเลือกซื้อวัตถุดิบจากตลาดที่ผ่านการรับรองตลาดสด น่าซื้อ เครื่องปรุงรสต้องมีเครื่องหมายรับรองของทางราชการ เช่น เครื่องหมาย อย.เครื่องหมาย มอก. เป็นต้น เน้นการปรุงให้สุก เพื่อป้องกันการปนเปื้อนระหว่างอาหารดิบและอาหารสุกผ่านอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น มีด เขียง รวมทั้งมือของผู้ปรุง-ผู้เสิร์ฟ ซึ่งวิธีการป้องกันที่สำคัญ คือ การหมั่นล้างมือ และควรสวมถุงมือหรือใช้อุปกรณ์หยิบจับอาหารในระหว่างการเตรียมปรุงอาหารและที่สำคัญคือปกปิดอาหารให้สะอาดระหว่างการขาย เพื่อป้องกันฝุ่นละอองหรือแมลงที่อาจไต่ตอม และ2) ถูกหลักโภชนาการ คือ ปรุงอาหารด้วยการยำ ต้ม นึ่ง ลดอาหารประเภทผัด ทอด และอาหารที่มีรสหวานจัด เค็มจัด เลือกรับประทานผักและผลไม้หลากสีหรือให้ครบ 5 สี เพื่อให้ได้คุณค่าทางโภชนาการที่ตรงกับความต้องการของร่างกาย
                                                                               
***
สำนักสื่อสารและตอบโต้ความเสี่ยง/ 28 ตุลาคม 2556
 
กระทรวงสาธารณสุข จัดกิจกรรมรณรงค์ \\โครงการตลาดสะอาด อาหารปลอดภัย โดยเน้นความสะอาดปลอดภัย และถูกหลักโภชนาการ เริ่มตั้งแต่ก่อนเตรียมและการปรุงประกอบอาหาร เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภค นายสรวงศ์ เทียนทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิด \\โครงการตลาดสะอาด อาหารปลอดภัย ณ ตลาดนางเลิ้ง เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร ว่า กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมอนามัยได้ดำเนินโครงการตลาดสด น่าซื้อที่ส่งเสริมให้ตลาดสดมีการปรับปรุงด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่ดี และมีการตรวจสอบความปลอดภัยของอาหารทั้งอาหารสดและอาหารพร้อมบริโภค ซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2545 จนถึงปัจจุบัน ล่าสุดมีตลาดประเภทที่ 1 (ตลาดที่มีโครงสร้าง) ผ่านเกณฑ์มาตรฐานตลาดสด น่าซื้อ จำนวน 1,332 แห่ง แบ่งเป็นระดับดี 1,087 แห่ง และระดับดีมาก 245 แห่ง สำหรับการรักษาตลาดสด น่าซื้อให้ได้มาตรฐานตลอดนั้น กระทรวงสาธารณสุขยังคงมีการเฝ้าระวังและสุ่มตรวจอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี เพื่อหาการปนเปื้อนสารอันตรายต้องห้าม ได้แก่ สารเร่งเนื้อแดง สารบอแรกซ์ สารฟอกขาว สารกันรา ฟอร์มาลิน ยาฆ่าแมลง ตรวจน้ำมันทอดซ้ำ และการปนเปื้อนแบคทีเรียในน้ำแข็ง ซึ่งข้อมูลการตรวจสอบในปี 2554 จำนวนกว่า 140,000 ตัวอย่างจากทุกจังหวัดพบว่า ร้อยละ 96 ปลอดภัย พบการปนเปื้อนเกินมาตรฐาน 6,250 ตัวอย่างหรือร้อยละ 4 โดยพบน้ำบริโภคตกเกณฑ์มากที่สุด ร้อยละ 35 รองลงมาคือน้ำแข็งในร้านอาหารแผงลอย ร้อยละ 20 ส่วนประเภทผัก ผลไม้ พบมีการปนเปื้อนยาฆ่าแมลงร้อยละ 5 ซึ่งผักที่พบยาฆ่าแมลงตกค้างมากที่สุด ได้แก่ คะน้า กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก และต้นหอม นายสรวงศ์ กล่าวต่อไปว่า การป้องกันการปนเปื้อนสารอันตรายก่อนกินผักและผลไม้ จึงต้องล้างผักก่อนหั่น เพราะถ้าหั่นก่อนอาจมีสารพิษตกค้างอยู่ จะทำให้สารพิษซึมเข้าตัวผักได้ ซึ่งการล้างผักที่ถูกวิธีควรล้างด้วยเกลือ ด่างทับทิม น้ำส้มสายชู หรือน้ำซาวข้าว โดยล้างผักในน้ำไหลนาน 2 นาที ช่วยลดสารตกค้างได้ร้อยละ 50 หรือล้างโดยใช้โซเดียมไบคาร์บอเนต 1 ช้อนโต๊ะต่อน้ำอุ่น 1 กะละมัง หรือน้ำประมาณ 20 ลิตร แช่ทิ้งไว้นาน 15 นาที จะลดปริมาณสารพิษได้ร้อยละ 90-95 หลังจากแช่ผักในสารละลายของโซเดียมไบคาร์บอเนตแล้ว ควรนำผักไปล้างน้ำออกหลายๆครั้ง เพื่อชะเอาสารพิษตกค้างที่ผิวออกให้หมด อันจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆได้ โดยเฉพาะการเกิดโรคมะเร็งเต้านมในผู้หญิง ทางด้าน ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า การพัฒนาความปลอดภัยด้านอาหาร และคุ้มครองความปลอดภัยอาหารบริโภค ผู้ปรุงประกอบอาหารเพื่อจำหน่าย ควรยึดหลัก 2 ประการ คือ 1) สะอาดปลอดภัย มีการปรุงประกอบอาหารให้ถูกหลักสุขาภิบาลอาหาร โดยเน้นดูแลความสะอาดตั้งแต่กระบวนการเตรียมวัตถุดิบ การล้างให้สะอาดก่อนนำมาปรุงโดยเฉพาะผักที่นำมาใช้อาหารต้องมีการล้างให้สะอาดเพื่อล้างสารเคมีที่อาจปนเปื้อนมาตั้งแต่การเพาะปลูก วัตถุดิบที่ใช้ทำอาหาร ต้องมีคุณภาพดี มาจากแหล่งผลิตที่เชื่อถือได้ เช่น การเลือกซื้อวัตถุดิบจากตลาดที่ผ่านการรับรองตลาดสด น่าซื้อ เครื่องปรุงรสต้องมีเครื่องหมายรับรองของทางราชการ เช่น เครื่องหมาย อย.เครื่องหมาย มอก. เป็นต้น เน้นการปรุงให้สุก เพื่อป้องกันการปนเปื้อนระหว่างอาหารดิบและอาหารสุกผ่านอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น มีด เขียง รวมทั้งมือของผู้ปรุง-ผู้เสิร์ฟ ซึ่งวิธีการป้องกันที่สำคัญ คือ การหมั่นล้างมือ และควรสวมถุงมือหรือใช้อุปกรณ์หยิบจับอาหารในระหว่างการเตรียมปรุงอาหารและที่สำคัญคือปกปิดอาหารให้สะอาดระหว่างการขาย เพื่อป้องกันฝุ่นละอองหรือแมลงที่อาจไต่ตอม และ2) ถูกหลักโภชนาการ คือ ปรุงอาหารด้วยการยำ ต้ม นึ่ง ลดอาหารประเภทผัด ทอด และอาหารที่มีรสหวานจัด เค็มจัด เลือกรับประทานผักและผลไม้หลากสีหรือให้ครบ 5 สี เพื่อให้ได้คุณค่าทางโภชนาการที่ตรงกับความต้องการของร่างกาย *** สำนักสื่อสารและตอบโต้ความเสี่ยง/ 28 ตุลาคม 2556

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน

ติดตามข่าวสารได้ที่

แทงบอลออนไลน์ || ดูบอลสด