คุณกำลังมองหาอะไร?

ข่า

ข่าวแจก"กรมอนามัยแนะผู้ป่วยเบาหวานคุมเข้มน้ำตาล เลี่ยงผลไม้รสหวานจัด หวั่นน้ำตาลในเลือดสูง ไขมันเพิ่ม"

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

28.10.2556
52
0
แชร์
28
ตุลาคม
2556

ข่าวแจก"กรมอนามัยแนะผู้ป่วยเบาหวานคุมเข้มน้ำตาล เลี่ยงผลไม้รสหวานจัด หวั่นน้ำตาลในเลือดสูง ไขมันเพิ่ม"

        กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ห่วงสุขภาพผู้ป่วยเบาหวาน แนะคุมเข้มการบริโภคน้ำตาลทั้งจากอาหารและผลไม้รสหวาน เพื่อป้องกันน้ำตาลและไขมันในเลือดสูง พร้อมหนุนลดอาหารหวาน เค็ม ควบออกกำลังกายสร้างสุขภาพดี        
        ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายส่งเสริมให้คนไทยบริโภคอาหาร ลดหวาน ลดเค็ม เพื่อลดปัญหาสุขภาพทั้งภาวะโภชนาการเกินและเบาหวานที่ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการบริโภคน้ำตาลเกินกว่ามาตรฐานกำหนด 3 เท่า คือ กินน้ำตาลสูงถึงคนละ 29.6 กิโลกรัมต่อปี หรือเฉลี่ยวันละ 20 ช้อนชา ขณะที่ค่ามาตรฐานกำหนดให้บริโภคได้ไม่เกินคนละ 10 กิโลกรัมต่อปี หรือเฉลี่ยวันละ 6 ช้อนชาเท่านั้น เท่ากับว่าคนไทยบริโภคน้ำตาลมากเกิน ที่สำคัญร่างกายไม่จำเป็นต้องได้พลังงานจากน้ำตาลมากขนาดนั้น ซึ่งอาจจะมีผลเสียต่อสุขภาพได้
        ดร.นพ.พรเทพ กล่าวต่อไปว่า ปกติคนไทยบริโภคน้ำตาลทางตรงคือการเติมน้ำตาลลงในอาหารประเภทต่าง ๆ ขณะเดียวกันการบริโภคน้ำตาลทางอ้อมก็เป็นปัญหาต่อสุขภาพ โดยเฉพาะน้ำตาลที่อยู่ในผลไม้รสหวานเป็นสิ่งที่ต้องระวังสำหรับผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น เบาหวาน และผู้ต้องการควบคุมน้ำหนักไม่ให้ได้รับน้ำตาลมากเกินความต้องการของร่างกาย เพราะน้ำตาลในผลไม้ไม่ได้มีแต่กลูโคส หรือซูโครสที่ร่างกายสามารถเปลี่ยนให้เป็นกลูโคสได้ในเวลาที่รวดเร็ว แต่ยังมีฟรุ๊กโตสที่มีความหวานและให้พลังงานแก่ร่างกายได้โดยไม่ต้องใช้อินซูลิน ผู้ป่วยเบาหวานจึงต้องเลือกชนิดของผลไม้ที่จะรับประทานและในปริมาณที่พอเหมาะ เพราะผลไม้ที่มีความหวานมากบางชนิดนอกจากจะมีน้ำตาลสูงแล้วยังมีไขมันด้วย ถ้ารับประทานในปริมาณที่มากเกินไปจะมีผลเสียต่อสุขภาพมากยิ่งขึ้น
        ทั้งนี้ ผู้ป่วยเบาหวานร่างกายยังคงต้องการพลังงานจากสารอาหารคาร์โบไฮเดรตที่มีแหล่งอาหาร ส่วนใหญ่มาจากกลุ่มอาหารข้าว แป้ง เป็นหลัก และมาจากผลไม้บางส่วน ดังนั้น การรับประทานอาหารเพื่อให้ได้พลังงานในแต่ละวันควรจะมีการแบ่งปริมาณและชนิดของแหล่งอาหารที่ให้พลังงานทั้งวันต้องสอดคล้องกับการที่ร่างกายต้องใช้พลังงานในการดำเนินชีวิตเพื่อไม่ให้มีพลังงานเหลือที่จะนำไปสร้างเป็นไตรกลีเซอไรด์ รวมทั้งเป็นการควบคุมระดับไตรกลีเซอไรด์ด้วย ซึ่งวิธีการที่ดีคือควบคุมอาหารรสหวาน เค็ม ให้น้อยลงและให้อาหารแต่ละมื้อมีความหลากหลายมากขึ้น ควบคู่กับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอก็จะช่วยให้มีสุขภาพดีตามมา? อธิบดี กรมอนามัย กล่าว
                                                                                       
***
สำนักสื่อสารและตอบโต้ความเสี่ยง/ 25 ตุลาคม 2556
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ห่วงสุขภาพผู้ป่วยเบาหวาน แนะคุมเข้มการบริโภคน้ำตาลทั้งจากอาหารและผลไม้รสหวาน เพื่อป้องกันน้ำตาลและไขมันในเลือดสูง พร้อมหนุนลดอาหารหวาน เค็ม ควบออกกำลังกายสร้างสุขภาพดี ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายส่งเสริมให้คนไทยบริโภคอาหาร ลดหวาน ลดเค็ม เพื่อลดปัญหาสุขภาพทั้งภาวะโภชนาการเกินและเบาหวานที่ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการบริโภคน้ำตาลเกินกว่ามาตรฐานกำหนด 3 เท่า คือ กินน้ำตาลสูงถึงคนละ 29.6 กิโลกรัมต่อปี หรือเฉลี่ยวันละ 20 ช้อนชา ขณะที่ค่ามาตรฐานกำหนดให้บริโภคได้ไม่เกินคนละ 10 กิโลกรัมต่อปี หรือเฉลี่ยวันละ 6 ช้อนชาเท่านั้น เท่ากับว่าคนไทยบริโภคน้ำตาลมากเกิน ที่สำคัญร่างกายไม่จำเป็นต้องได้พลังงานจากน้ำตาลมากขนาดนั้น ซึ่งอาจจะมีผลเสียต่อสุขภาพได้ ดร.นพ.พรเทพ กล่าวต่อไปว่า ปกติคนไทยบริโภคน้ำตาลทางตรงคือการเติมน้ำตาลลงในอาหารประเภทต่าง ๆ ขณะเดียวกันการบริโภคน้ำตาลทางอ้อมก็เป็นปัญหาต่อสุขภาพ โดยเฉพาะน้ำตาลที่อยู่ในผลไม้รสหวานเป็นสิ่งที่ต้องระวังสำหรับผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น เบาหวาน และผู้ต้องการควบคุมน้ำหนักไม่ให้ได้รับน้ำตาลมากเกินความต้องการของร่างกาย เพราะน้ำตาลในผลไม้ไม่ได้มีแต่กลูโคส หรือซูโครสที่ร่างกายสามารถเปลี่ยนให้เป็นกลูโคสได้ในเวลาที่รวดเร็ว แต่ยังมีฟรุ๊กโตสที่มีความหวานและให้พลังงานแก่ร่างกายได้โดยไม่ต้องใช้อินซูลิน ผู้ป่วยเบาหวานจึงต้องเลือกชนิดของผลไม้ที่จะรับประทานและในปริมาณที่พอเหมาะ เพราะผลไม้ที่มีความหวานมากบางชนิดนอกจากจะมีน้ำตาลสูงแล้วยังมีไขมันด้วย ถ้ารับประทานในปริมาณที่มากเกินไปจะมีผลเสียต่อสุขภาพมากยิ่งขึ้น \\ทั้งนี้ ผู้ป่วยเบาหวานร่างกายยังคงต้องการพลังงานจากสารอาหารคาร์โบไฮเดรตที่มีแหล่งอาหาร ส่วนใหญ่มาจากกลุ่มอาหารข้าว แป้ง เป็นหลัก และมาจากผลไม้บางส่วน ดังนั้น การรับประทานอาหารเพื่อให้ได้พลังงานในแต่ละวันควรจะมีการแบ่งปริมาณและชนิดของแหล่งอาหารที่ให้พลังงานทั้งวันต้องสอดคล้องกับการที่ร่างกายต้องใช้พลังงานในการดำเนินชีวิตเพื่อไม่ให้มีพลังงานเหลือที่จะนำไปสร้างเป็นไตรกลีเซอไรด์ รวมทั้งเป็นการควบคุมระดับไตรกลีเซอไรด์ด้วย ซึ่งวิธีการที่ดีคือควบคุมอาหารรสหวาน เค็ม ให้น้อยลงและให้อาหารแต่ละมื้อมีความหลากหลายมากขึ้น ควบคู่กับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอก็จะช่วยให้มีสุขภาพดีตามมา อธิบดี กรมอนามัย กล่าว *** สำนักสื่อสารและตอบโต้ความเสี่ยง/ 25 ตุลาคม 2556

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน

ติดตามข่าวสารได้ที่

แทงบอลออนไลน์ || ดูบอลสด