ข่าวแจก "สธ. เผย ขนมกรุบกรอบ น้ำอัดลม เมินแปรงฟัน ต้นเหตุทำเด็กไทยฟันผุกว่าร้อยละ 50 เร่งคุมเข้มให้ ฟันดีถึงวัย 80 และ 90 ปี"
กระทรวงสาธารณสุข เร่งแก้ปัญหาสุขภาพช่องปากคนไทยทุกกลุ่มวัยโดยเฉพาะวัยเด็กและวัยสูงอายุ ซึ่งเป็นกลุ่มปัญหาสาธารณสุขที่ต้องป้องกันอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นลดของหวาน น้ำอัดลม ต้นเหตุของโรคฟันผุที่คุกคามสุขภาพเด็กไทย พร้อมเน้นย้ำให้คนไทยทุกคนแปรงฟันโดยเฉพาะก่อนนอน หวังลดการสูญเสียฟันในผู้สูงอายุให้มีฟันดีถึงวัย 80 และ 90 ปี
วันนี้ (18 ตุลาคม 2556) นายสรวงศ์ เทียนทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยภายหลัง เป็นประธานเปิดโครงการรณรงค์ คนไทยฟันดี สดุดีสมเด็จย่า? ปี 2556 เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพและ วันทันตสาธารณสุขแห่งชาติ ณ โรงเรียนเทศบาลวัดละหาร จังหวัดนนทบุรี ว่า กระทรวงสาธารณสุขโดยกรมอนามัยร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดกิจกรรมรณรงค์ทางทันตสาธารณสุข ถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จย่า พระมารดาแห่งการทันตแพทย์ไทย? เป็นประจำทุกปี เพื่อดูแลและแก้ปัญหาโรคในช่องปากของประชาชนทุกกลุ่มวัยที่ยังประสบปัญหาฟันผุ เหงือกอักเสบ โรคปริทันต์ และการสูญเสียฟัน เพราะจากผลสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากของคนไทยโดยกรมอนามัยล่าสุดปี 2555 พบว่า เด็กวัยเรียนมีปัญหาโรคฟันผุอยู่มาก โดยพบเด็กอายุ 12 ปี หรือประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสบการณ์เกิดโรคฟันผุถึงร้อยละ 52.3 ซึ่งปัญหาฟันผุในเด็กมีสาเหตุหลักมาจากพฤติกรรมการบริโภคของเด็กที่นิยมกินอาหารหรือขนมที่หาซื้อได้ง่าย เช่น น้ำอัดลม ขนมกรุบกรอบ นอกจากจะทำให้เกิดปัญหาฟันผุในเด็กแล้ว ยังก่อให้เกิดความเจ็บปวด การติดเชื้อ และสร้างปัญหาการบดเคี้ยวอาหาร มีผลต่อน้ำหนัก การเจริญเติบโตและบุคลิกภาพของเด็ก ที่สำคัญคือส่งผลกระทบต่อการเรียน ทำให้เด็กหยุดเรียนและปัญหาฟันผุ นำไปสู่การสูญเสียฟันในวัยเด็ก และอาจสะสมจนต้องสูญเสียฟันทั้งปากในวัยสูงอายุตามมา กลายเป็นปัญหาสาธารณสุขที่ต้องรณรงค์ป้องกันอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ กรมอนามัยได้ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ดำเนินงานโครงการ สพป.อ่อนหวาน เป็นครั้งแรกในปี 2552 เพื่อสร้างการรับรู้ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาทุกเขต ดำเนินการตามนโยบายโรงเรียนปลอดน้ำอัดลมให้มีความครอบคลุมมากขึ้น ซึ่งได้ดำเนินการต่อเนื่องมาเป็นเวลา 4 ปี มีสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาที่ผ่านการคัดเลือกเป็น สพป.อ่อนหวาน จำนวน 79 แห่ง จากทั้งหมด 183 แห่ง
ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า กลุ่มผู้สูงวัยอายุ 60 ปีขึ้นไป ปัญหาที่พบส่วนใหญ่คือการสูญเสียฟันจนไม่สามารถเคี้ยวอาหารได้ โดยพบว่าร้อยละ 95 ของผู้สูงวัยมีการสูญเสียฟันอย่างน้อย 1 ซี่ ส่วนหนึ่งสูญเสียฟันทั้งปาก ซึ่งกรมอนามัยได้ประสานสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขและเครือข่ายที่เกี่ยวข้องจัดบริการใส่ฟันเทียมทดแทนเพื่อการเคี้ยวอาหารภายใต้โครงการฟันเทียมพระราชทาน นอกจากนี้ยังพบว่าผู้สูงอายุที่มีฟันมากกว่าครึ่งพบโรคในช่องปากที่ไม่ได้รับการรักษาและมีโอกาสสูญเสียฟันเพิ่มขึ้นตลอดเวลา ดังนั้น การส่งเสริมให้คนไทยดูแลสุขภาพช่องปากอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เด็กจนเข้าสู่วัยสูงอายุจะช่วยลดปัญหาสุขภาพช่องปากได้ ในขณะที่ผู้สูงอายุอีกส่วนหนึ่งก็ดูแลสุขภาพช่องปากเป็นอย่างดี
สำหรับวันทันตสาธารณสุขแห่งชาติ 21 ตุลาคมปีนี้ นอกจากกระทรวงสาธารณสุขจะจัดบริการทาง ทันตสาธารณสุขทั่วประเทศโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายแล้ว กรมอนามัยได้จัดการประกวด 10 ยอดฟันดีวัย 80 และ 90 ปี? ในโครงการรณรงค์ คนไทยฟันดี สดุดีสมเด็จย่า? พร้อมทั้งพัฒนานโยบายโรงเรียนปลอดน้ำอัดลม เพื่อเด็กไทยสุขภาพช่องปากดี อบรมนักจัดรายการวิทยุ รวมทั้งจัดนิทรรศการให้ความรู้และให้คำแนะนำด้านทันตสุขภาพ การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สำหรับการดูแลสุขภาพช่องปาก เพื่อให้ประชาชนทุกกลุ่มวัยให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพช่องปากตนเองอย่างถูกต้องและเหมาะสม? อธิบดีกรมอนามัย กล่าว
***
สำนักสื่อสารและตอบโต้ความเสี่ยง / 18 ตุลาคม 2556
กระทรวงสาธารณสุข เร่งแก้ปัญหาสุขภาพช่องปากคนไทยทุกกลุ่มวัยโดยเฉพาะวัยเด็กและวัยสูงอายุ ซึ่งเป็นกลุ่มปัญหาสาธารณสุขที่ต้องป้องกันอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นลดของหวาน น้ำอัดลม ต้นเหตุของโรคฟันผุที่คุกคามสุขภาพเด็กไทย พร้อมเน้นย้ำให้คนไทยทุกคนแปรงฟันโดยเฉพาะก่อนนอน หวังลดการสูญเสียฟันในผู้สูงอายุให้มีฟันดีถึงวัย 80 และ 90 ปี วันนี้ (18 ตุลาคม 2556) นายสรวงศ์ เทียนทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยภายหลัง เป็นประธานเปิดโครงการรณรงค์ \\คนไทยฟันดี สดุดีสมเด็จย่า ปี 2556 เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพและ วันทันตสาธารณสุขแห่งชาติ ณ โรงเรียนเทศบาลวัดละหาร จังหวัดนนทบุรี ว่า กระทรวงสาธารณสุขโดยกรมอนามัยร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดกิจกรรมรณรงค์ทางทันตสาธารณสุข ถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จย่า \\พระมารดาแห่งการทันตแพทย์ไทย เป็นประจำทุกปี เพื่อดูแลและแก้ปัญหาโรคในช่องปากของประชาชนทุกกลุ่มวัยที่ยังประสบปัญหาฟันผุ เหงือกอักเสบ โรคปริทันต์ และการสูญเสียฟัน เพราะจากผลสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากของคนไทยโดยกรมอนามัยล่าสุดปี 2555 พบว่า เด็กวัยเรียนมีปัญหาโรคฟันผุอยู่มาก โดยพบเด็กอายุ 12 ปี หรือประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสบการณ์เกิดโรคฟันผุถึงร้อยละ 52.3 ซึ่งปัญหาฟันผุในเด็กมีสาเหตุหลักมาจากพฤติกรรมการบริโภคของเด็กที่นิยมกินอาหารหรือขนมที่หาซื้อได้ง่าย เช่น น้ำอัดลม ขนมกรุบกรอบ นอกจากจะทำให้เกิดปัญหาฟันผุในเด็กแล้ว ยังก่อให้เกิดความเจ็บปวด การติดเชื้อ และสร้างปัญหาการบดเคี้ยวอาหาร มีผลต่อน้ำหนัก การเจริญเติบโตและบุคลิกภาพของเด็ก ที่สำคัญคือส่งผลกระทบต่อการเรียน ทำให้เด็กหยุดเรียนและปัญหาฟันผุ นำไปสู่การสูญเสียฟันในวัยเด็ก และอาจสะสมจนต้องสูญเสียฟันทั้งปากในวัยสูงอายุตามมา กลายเป็นปัญหาสาธารณสุขที่ต้องรณรงค์ป้องกันอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ กรมอนามัยได้ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ดำเนินงานโครงการ สพป.อ่อนหวาน เป็นครั้งแรกในปี 2552 เพื่อสร้างการรับรู้ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาทุกเขต ดำเนินการตามนโยบายโรงเรียนปลอดน้ำอัดลมให้มีความครอบคลุมมากขึ้น ซึ่งได้ดำเนินการต่อเนื่องมาเป็นเวลา 4 ปี มีสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาที่ผ่านการคัดเลือกเป็น สพป.อ่อนหวาน จำนวน 79 แห่ง จากทั้งหมด 183 แห่ง ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า กลุ่มผู้สูงวัยอายุ 60 ปีขึ้นไป ปัญหาที่พบส่วนใหญ่คือการสูญเสียฟันจนไม่สามารถเคี้ยวอาหารได้ โดยพบว่าร้อยละ 95 ของผู้สูงวัยมีการสูญเสียฟันอย่างน้อย 1 ซี่ ส่วนหนึ่งสูญเสียฟันทั้งปาก ซึ่งกรมอนามัยได้ประสานสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขและเครือข่ายที่เกี่ยวข้องจัดบริการใส่ฟันเทียมทดแทนเพื่อการเคี้ยวอาหารภายใต้โครงการฟันเทียมพระราชทาน นอกจากนี้ยังพบว่าผู้สูงอายุที่มีฟันมากกว่าครึ่งพบโรคในช่องปากที่ไม่ได้รับการรักษาและมีโอกาสสูญเสียฟันเพิ่มขึ้นตลอดเวลา ดังนั้น การส่งเสริมให้คนไทยดูแลสุขภาพช่องปากอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เด็กจนเข้าสู่วัยสูงอายุจะช่วยลดปัญหาสุขภาพช่องปากได้ ในขณะที่ผู้สูงอายุอีกส่วนหนึ่งก็ดูแลสุขภาพช่องปากเป็นอย่างดี \\สำหรับวันทันตสาธารณสุขแห่งชาติ 21 ตุลาคมปีนี้ นอกจากกระทรวงสาธารณสุขจะจัดบริการทาง ทันตสาธารณสุขทั่วประเทศโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายแล้ว กรมอนามัยได้จัดการประกวด \\10 ยอดฟันดีวัย 80 และ 90 ปี ในโครงการรณรงค์ \\คนไทยฟันดี สดุดีสมเด็จย่า พร้อมทั้งพัฒนานโยบายโรงเรียนปลอดน้ำอัดลม เพื่อเด็กไทยสุขภาพช่องปากดี อบรมนักจัดรายการวิทยุ รวมทั้งจัดนิทรรศการให้ความรู้และให้คำแนะนำด้านทันตสุขภาพ การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สำหรับการดูแลสุขภาพช่องปาก เพื่อให้ประชาชนทุกกลุ่มวัยให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพช่องปากตนเองอย่างถูกต้องและเหมาะสม อธิบดีกรมอนามัย กล่าว *** สำนักสื่อสารและตอบโต้ความเสี่ยง / 18 ตุลาคม 2556