คุณกำลังมองหาอะไร?

ข่า

ข่าวแจก "กรมอนามัย จับมือเครือข่ายสร้างนิสัยหมั่นล้างมือให้พ่อค้าแม่ค้าตลาดสด สกัดกั้นเชื้อโรค"

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

11.10.2556
15
0
แชร์
11
ตุลาคม
2556

ข่าวแจก "กรมอนามัย จับมือเครือข่ายสร้างนิสัยหมั่นล้างมือให้พ่อค้าแม่ค้าตลาดสด สกัดกั้นเชื้อโรค"

        กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับภาคีเครือข่าย รณรงค์ล้างมือเนื่องในวันล้างมือโลก กระตุ้นให้พ่อค้าแม่ค้าในตลาดสด สร้างสุขอนามัยล้างมือเป็นประจำด้วยน้ำและสบู่ เพื่อลดความเสี่ยงของเชื้อโรคที่เกิดสัมผัสทางมือ
        วันนี้ (11 ตุลาคม 2556) แพทย์หญิงแสงโสม สีนะวัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักที่ปรึกษา กรมอนามัย เปิดภายหลังเป็นประธานเปิดงานรณรงค์ล้างมือเนื่องในวันล้างมือโลก ณ ตลาดรังสิต จังหวัดปทุมธานี ว่า ทุกวันที่ 15 ตุลาคมของทุกปี สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ กำหนดให้เป็นวันล้างมือโลก (Global Hand Washing Day) เพื่อรณรงค์และสร้างความตระหนักให้ประชาชนเห็นความสำคัญของการล้างมือด้วยน้ำและสบู่อย่างถูกวิธี ซึ่งเป็นการป้องกันเชื้อโรคได้อีกทางหนึ่ง โดยในปีนี้กรมอนามัยได้ร่วมกับภาคีเครือข่าย ได้แก่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชมรมผู้ประกอบการตลาดสด ชมรมผู้ประกอบการค้าอาหารและชมรมส้วมยิ้มในพื้นที่เขต 1 จัดกิจกรรมรณรงค์ล้างมือ กระตุ้นให้ประชาชนและผู้ประกอบการค้าอาหารภายในตลาดสด ได้ตื่นตัวและตระหนักถึงความสำคัญของการล้างมือด้วยน้ำและสบู่อย่างถูกวิธี 7 ขั้นตอนเป็นประจำทั้งก่อนและหลังจากที่หยิบจับสินค้าให้แก่ผู้บริโภค อาทิ เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ อาหารสำเร็จรูปรวมถึงการหยิบจับธนบัตรที่เสี่ยงต่อเชื้อโรค
        แพทย์หญิงแสงโสม กล่าวต่อไปว่า จากผลการศึกษาของคณะนักวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ประเทศอังกฤษ มีการระบุว่า บนธนบัตร1 ใบ จะมีเชื้อแบคทีเรียสะสมโดยเฉลี่ย 26,000 ตัว เนื่องมาจากการใช้ธนบัตรผ่านมือไปหลายต่อ โดยแบคทีเรียเหล่านี้มีจำนวนมากพอที่จะทำให้คนทั่วไปเกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน และก่อให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อโรคได้อีกด้วย ทั้งนี้ จากข้อมูลองค์การยูนิเซฟยังพบว่าในแต่ละปีมีเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี ต้องเสียชีวิตจากโรคอุจจาระร่วงถึง 3.5 ล้านคน และโรคปอดบวมอีกประมาณ 2 ล้านคน ซึ่งจากการศึกษาวิจัยพบว่าการล้างมือด้วยน้ำและสบู่อย่างถูกวิธี จะช่วยลดอัตราการเสียชีวิตของประชาชนจากโรคอุจจาระร่วงได้ถึงร้อยละ 50 และ จากโรคปอดบวมได้ร้อยละ 25
        สำหรับประเทศไทย ผลการสำรวจพฤติกรรมการล้างมือของประชาชนในปี 2552 พบว่า มีเพียงร้อยละ 61 ที่มีการล้างมือก่อนรับประทานอาหาร และถึงแม้จะมีการล้างมือหลังจากใช้ห้องส้วมถึงร้อยละ 87 แต่ยังเป็นการล้างมือด้วยน้ำเปล่าถึงร้อยละ 41 แสดงให้เห็นว่าคนไทยยังไม่ให้ความสำคัญในการล้างมือด้วยน้ำและสบู่เท่าที่ควร จำเป็นที่จะต้องกระตุ้นให้มีการล้างมือด้วยน้ำและสบู่กันมากขึ้น เพื่อป้องกันและลดอัตราการเกิดโรคอันเกิดจากอาหารและน้ำเป็นสื่อ โดยเฉพาะโรคอุจจาระร่วง เฉพาะปีที่ผ่านมาพบผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วงสูงถึง 1,013,225 ราย?
        แพทย์หญิงแสงโสม กล่าว ผู้อำนวยการสำนักที่ปรึกษา กล่าวในตอนท้ายว่า วิธีการการล้างมือด้วยน้ำและสบู่ 7 ขั้นตอน ได้แก่
1) ฝ่ามือ ถูกัน
2) ฝ่ามือถูหลังมือและนิ้วถูซอกนิ้ว
3) ฝ่ามือถูฝ่ามือและนิ้วถูซอกนิ้ว
4) หลังนิ้วมือถูฝ่ามือ
5) ถูนิ้วหัวแม่มือโดยรอบด้วยฝ่ามือ
6) ปลายนิ้วมือถูขวางฝ่ามือ และ
7) ถูรอบข้อมือ
        โดยทุกขั้นตอนทำ 5 ครั้ง สลับกันทั้ง 2 ข้าง ซึ่งวิธีการล้างมือข้างต้นเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพ เสียค่าใช้จ่ายน้อย และสามารถป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรคได้
 
***
กลุ่มสื่อสารและตอบโต้ความเสี่ยง / 11 ตุลาคม 2556
 
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับภาคีเครือข่าย รณรงค์ล้างมือเนื่องในวันล้างมือโลก กระตุ้นให้พ่อค้าแม่ค้าในตลาดสด สร้างสุขอนามัยล้างมือเป็นประจำด้วยน้ำและสบู่ เพื่อลดความเสี่ยงของเชื้อโรคที่เกิดสัมผัสทางมือ วันนี้ (11 ตุลาคม 2556) แพทย์หญิงแสงโสม สีนะวัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักที่ปรึกษา กรมอนามัย เปิดภายหลังเป็นประธานเปิดงานรณรงค์ล้างมือเนื่องในวันล้างมือโลก ณ ตลาดรังสิต จังหวัดปทุมธานี ว่า ทุกวันที่ 15 ตุลาคมของทุกปี สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ กำหนดให้เป็นวันล้างมือโลก (Global Hand Washing Day) เพื่อรณรงค์และสร้างความตระหนักให้ประชาชนเห็นความสำคัญของการล้างมือด้วยน้ำและสบู่อย่างถูกวิธี ซึ่งเป็นการป้องกันเชื้อโรคได้อีกทางหนึ่ง โดยในปีนี้กรมอนามัยได้ร่วมกับภาคีเครือข่าย ได้แก่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชมรมผู้ประกอบการตลาดสด ชมรมผู้ประกอบการค้าอาหารและชมรมส้วมยิ้มในพื้นที่เขต 1 จัดกิจกรรมรณรงค์ล้างมือ กระตุ้นให้ประชาชนและผู้ประกอบการค้าอาหารภายในตลาดสด ได้ตื่นตัวและตระหนักถึงความสำคัญของการล้างมือด้วยน้ำและสบู่อย่างถูกวิธี 7 ขั้นตอนเป็นประจำทั้งก่อนและหลังจากที่หยิบจับสินค้าให้แก่ผู้บริโภค อาทิ เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ อาหารสำเร็จรูปรวมถึงการหยิบจับธนบัตรที่เสี่ยงต่อเชื้อโรค แพทย์หญิงแสงโสม กล่าวต่อไปว่า จากผลการศึกษาของคณะนักวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ประเทศอังกฤษ มีการระบุว่า บนธนบัตร1 ใบ จะมีเชื้อแบคทีเรียสะสมโดยเฉลี่ย 26,000 ตัว เนื่องมาจากการใช้ธนบัตรผ่านมือไปหลายต่อ โดยแบคทีเรียเหล่านี้มีจำนวนมากพอที่จะทำให้คนทั่วไปเกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน และก่อให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อโรคได้อีกด้วย ทั้งนี้ จากข้อมูลองค์การยูนิเซฟยังพบว่าในแต่ละปีมีเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี ต้องเสียชีวิตจากโรคอุจจาระร่วงถึง 3.5 ล้านคน และโรคปอดบวมอีกประมาณ 2 ล้านคน ซึ่งจากการศึกษาวิจัยพบว่าการล้างมือด้วยน้ำและสบู่อย่างถูกวิธี จะช่วยลดอัตราการเสียชีวิตของประชาชนจากโรคอุจจาระร่วงได้ถึงร้อยละ 50 และ จากโรคปอดบวมได้ร้อยละ 25 \\สำหรับประเทศไทย ผลการสำรวจพฤติกรรมการล้างมือของประชาชนในปี 2552 พบว่า มีเพียงร้อยละ 61 ที่มีการล้างมือก่อนรับประทานอาหาร และถึงแม้จะมีการล้างมือหลังจากใช้ห้องส้วมถึงร้อยละ 87 แต่ยังเป็นการล้างมือด้วยน้ำเปล่าถึงร้อยละ 41 แสดงให้เห็นว่าคนไทยยังไม่ให้ความสำคัญในการล้างมือด้วยน้ำและสบู่เท่าที่ควร จำเป็นที่จะต้องกระตุ้นให้มีการล้างมือด้วยน้ำและสบู่กันมากขึ้น เพื่อป้องกันและลดอัตราการเกิดโรคอันเกิดจากอาหารและน้ำเป็นสื่อ โดยเฉพาะโรคอุจจาระร่วง เฉพาะปีที่ผ่านมาพบผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วงสูงถึง 1,013,225 ราย แพทย์หญิงแสงโสม กล่าว ผู้อำนวยการสำนักที่ปรึกษา กล่าวในตอนท้ายว่า วิธีการการล้างมือด้วยน้ำและสบู่ 7 ขั้นตอน ได้แก่1) ฝ่ามือ ถูกัน2) ฝ่ามือถูหลังมือและนิ้วถูซอกนิ้ว3) ฝ่ามือถูฝ่ามือและนิ้วถูซอกนิ้ว4) หลังนิ้วมือถูฝ่ามือ5) ถูนิ้วหัวแม่มือโดยรอบด้วยฝ่ามือ6) ปลายนิ้วมือถูขวางฝ่ามือ และ7) ถูรอบข้อมือ โดยทุกขั้นตอนทำ 5 ครั้ง สลับกันทั้ง 2 ข้าง ซึ่งวิธีการล้างมือข้างต้นเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพ เสียค่าใช้จ่ายน้อย และสามารถป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรคได้ ***กลุ่มสื่อสารและตอบโต้ความเสี่ยง / 11 ตุลาคม 2556

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน

ติดตามข่าวสารได้ที่

แทงบอลออนไลน์ || ดูบอลสด