ข่าวแจก "กรมอนามัยหนุนผู้สัมผัสอาหารสวมถุงมือยาง แนะเลี่ยงถุงมือพลาสติกรีไซเคิล สกัดโรคติดเชื้อทางมือ"
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข รณรงค์ผู้สัมผัสอาหารสวมถุงมือยางในการปรุงประกอบอาหารทุกครั้ง หวังลดการปนเปื้อนเชื้อโรคจากการสัมผัสทางมือ พร้อมแนะเลือกถุงมือที่คุณภาพมาตรฐาน มอก. หลีกเลี่ยงถุงมือพลาสติกรีไซเคิล หวั่นสะสมเชื้อโรค
ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยในการแถลงข่าว การรณรงค์ให้ผู้ปรุงประกอบอาหารใส่ถุงมือ ลดโรคติดเชื้อที่มาจากมือ? ณ บริเวนโถงอาคาร 1 ชั้น 1 กรมอนามัย ว่า กระทรวงสาธารณสุขโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์) มีนโยบายส่งเสริมสนับสนุนให้สถานประกอบการปฏิบัติตามมาตรฐานการสุขาภิบาลอาหาร เพื่อเป็นการรับประกันความสะอาด ปลอดภัย และสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค โดยผู้สัมผัสอาหารถือว่าเป็นบุคคลสำคัญที่อาจจะเป็นพาหะนำเชื้อโรคสู่ผู้บริโภคได้ หากมีพฤติกรรมด้านสุขาภิบาลอาหารที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งที่ผ่านมากรมอนามัยได้จัดทำหลักสูตรการสุขาภิบาลอาหารสำหรับผู้สัมผัสอาหาร เพื่อให้ผู้สัมผัสอาหารมีความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหารและน้ำ และสามารถนำไปปฏิบัติเพื่อพัฒนา สถานประกอบการให้ได้มาตรฐานดียิ่งขึ้น โดยผู้สัมผัสอาหารที่ผ่านหลักสูตรดังกล่าวจะได้รับบัตรประจำตัวผู้สัมผัสอาหารเป็นเครื่องหมายแสดงถึงความเป็นมืออาชีพด้านความปลอดภัยของอาหาร ซึ่งช่วยให้ผู้บริโภคและนักท่องเที่ยวมั่นใจในความสะอาด ปลอดภัย โดยเฉพาะความสำคัญในกระบวนการปรุงประกอบอาหารที่ผ่านการสัมผัสมือโดยตรงควรมีการสวมถุงมือทุกครั้งเพื่อป้องกันโรคติดเชื้อที่มากับมือ ที่พบบ่อยคือโรคติดเชื้อทางเดินอาหาร เพราะจากข้อมูลการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาโรคระบบทางเดินอาหาร อุจจาระร่วง ตั้งแต่เดือนมกราคม-เมษายน 2556 พบรายงานผู้ป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วงสูงสุด จำนวน 6,946 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 532.24 ต่อแสนประชากร
ดร.นพ.พรเทพ กล่าวต่อว่า ขณะนี้มีการพัฒนาอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่สามารถสัมผัสกับอาหารได้โดยไม่เป็นอันตรายต่อผู้ที่รับอาหารเข้าสู่ร่างกาย อาทิ การใช้ถุงมือยางสำหรับอาหารโดยเฉพาะ แต่ควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับประเภทอาหาร เช่น อาหารพร้อมปรุง อาหารกึ่งสำเร็จรูป อาหารสำเร็จรูป และถุงมือยางต้องมีคุณภาพดีและมีความปลอดภัยในการใช้งาน โดยสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ได้กำหนดเป็นมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ถุงมือยางที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร มาตรฐานเลขที่ มอก.2505-2553 ประกาศ ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2553 และมีเครื่องหมาย อย. รับรองอายุการใช้งานนานถึง 3 ปี ดังนั้น ผู้ประกอบการอาหารควรเลือกใช้ ถุงมือยางจากยางธรรมชาติประเภทยางพารา เนื่องจากยืดหยุ่นดี สวมใส่ง่าย ราคาไม่สูงมาก ที่สำคัญถุงมือที่ใช้ต้องมีสภาพดี ไม่สกปรก ไม่ฉีกขาด ห้ามใช้ถุงมือที่ทำมาจากพลาสติกรีไซเคิล เพราะอาจจะปนเปื้อนและเป็นแหล่งนำเชื้อโรคและสิ่งสกปรกต่าง ๆ มาสู่อาหารได้
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการค้าอาหารต้องมีมาตรการที่เข้มงวดให้ผู้สัมผัสอาหารสร้างสุขลักษณะที่ดีให้กับตนเองด้วยการล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ทุกครั้งก่อนที่จะปรุง ประกอบอาหาร และหลังจากใช้ห้องส้วมทุกครั้ง และไม่ควรใช้มือที่ไม่สะอาดหยิบจับอาหารต่าง ๆ เช่น เนื้อสัตว์สด อาหารทะเล และก่อนเตรียมปรุงอาหาร นอกจากนี้ สถานที่ในการใช้ปรุง ประกอบอาหารต้องสะอาดเป็นระเบียบ เนื่องจากอาหารอาจถูกปนเปื้อนได้ง่ายจากเชื้อโรคที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมทั่วไป จึงต้องทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรคบริเวณโต๊ะที่ใช้เตรียม ปรุงอาหาร เตาหุงต้มอาหาร พื้น ผนัง เพดานของห้องครัวให้สะอาดอยู่เสมอ ส่วนผ้าเช็ดทำความสะอาดต้องแยกใช้เฉพาะแต่ละบริเวณ เช่น ผ้าที่ใช้เช็ดโต๊ะต้องแยกจากผ้าที่ใช้เช็ดพื้น และต้องซักทำความสะอาดบ่อย ๆ? อธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข รณรงค์ผู้สัมผัสอาหารสวมถุงมือยางในการปรุงประกอบอาหารทุกครั้ง หวังลดการปนเปื้อนเชื้อโรคจากการสัมผัสทางมือ พร้อมแนะเลือกถุงมือที่คุณภาพมาตรฐาน มอก. หลีกเลี่ยงถุงมือพลาสติกรีไซเคิล หวั่นสะสมเชื้อโรค ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยในการแถลงข่าว \\การรณรงค์ให้ผู้ปรุงประกอบอาหารใส่ถุงมือ ลดโรคติดเชื้อที่มาจากมือ ณ บริเวนโถงอาคาร 1 ชั้น 1 กรมอนามัย ว่า กระทรวงสาธารณสุขโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์) มีนโยบายส่งเสริมสนับสนุนให้สถานประกอบการปฏิบัติตามมาตรฐานการสุขาภิบาลอาหาร เพื่อเป็นการรับประกันความสะอาด ปลอดภัย และสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค โดยผู้สัมผัสอาหารถือว่าเป็นบุคคลสำคัญที่อาจจะเป็นพาหะนำเชื้อโรคสู่ผู้บริโภคได้ หากมีพฤติกรรมด้านสุขาภิบาลอาหารที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งที่ผ่านมากรมอนามัยได้จัดทำหลักสูตรการสุขาภิบาลอาหารสำหรับผู้สัมผัสอาหาร เพื่อให้ผู้สัมผัสอาหารมีความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหารและน้ำ และสามารถนำไปปฏิบัติเพื่อพัฒนา สถานประกอบการให้ได้มาตรฐานดียิ่งขึ้น โดยผู้สัมผัสอาหารที่ผ่านหลักสูตรดังกล่าวจะได้รับบัตรประจำตัวผู้สัมผัสอาหารเป็นเครื่องหมายแสดงถึงความเป็นมืออาชีพด้านความปลอดภัยของอาหาร ซึ่งช่วยให้ผู้บริโภคและนักท่องเที่ยวมั่นใจในความสะอาด ปลอดภัย โดยเฉพาะความสำคัญในกระบวนการปรุงประกอบอาหารที่ผ่านการสัมผัสมือโดยตรงควรมีการสวมถุงมือทุกครั้งเพื่อป้องกันโรคติดเชื้อที่มากับมือ ที่พบบ่อยคือโรคติดเชื้อทางเดินอาหาร เพราะจากข้อมูลการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาโรคระบบทางเดินอาหาร อุจจาระร่วง ตั้งแต่เดือนมกราคม-เมษายน 2556 พบรายงานผู้ป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วงสูงสุด จำนวน 6,946 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 532.24 ต่อแสนประชากร ดร.นพ.พรเทพ กล่าวต่อว่า ขณะนี้มีการพัฒนาอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่สามารถสัมผัสกับอาหารได้โดยไม่เป็นอันตรายต่อผู้ที่รับอาหารเข้าสู่ร่างกาย อาทิ การใช้ถุงมือยางสำหรับอาหารโดยเฉพาะ แต่ควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับประเภทอาหาร เช่น อาหารพร้อมปรุง อาหารกึ่งสำเร็จรูป อาหารสำเร็จรูป และถุงมือยางต้องมีคุณภาพดีและมีความปลอดภัยในการใช้งาน โดยสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ได้กำหนดเป็นมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ถุงมือยางที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร มาตรฐานเลขที่ มอก.2505-2553 ประกาศ ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2553 และมีเครื่องหมาย อย. รับรองอายุการใช้งานนานถึง 3 ปี ดังนั้น ผู้ประกอบการอาหารควรเลือกใช้ ถุงมือยางจากยางธรรมชาติประเภทยางพารา เนื่องจากยืดหยุ่นดี สวมใส่ง่าย ราคาไม่สูงมาก ที่สำคัญถุงมือที่ใช้ต้องมีสภาพดี ไม่สกปรก ไม่ฉีกขาด ห้ามใช้ถุงมือที่ทำมาจากพลาสติกรีไซเคิล เพราะอาจจะปนเปื้อนและเป็นแหล่งนำเชื้อโรคและสิ่งสกปรกต่าง ๆ มาสู่อาหารได้ \\ทั้งนี้ ผู้ประกอบการค้าอาหารต้องมีมาตรการที่เข้มงวดให้ผู้สัมผัสอาหารสร้างสุขลักษณะที่ดีให้กับตนเองด้วยการล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ทุกครั้งก่อนที่จะปรุง ประกอบอาหาร และหลังจากใช้ห้องส้วมทุกครั้ง และไม่ควรใช้มือที่ไม่สะอาดหยิบจับอาหารต่าง ๆ เช่น เนื้อสัตว์สด อาหารทะเล และก่อนเตรียมปรุงอาหาร นอกจากนี้ สถานที่ในการใช้ปรุง ประกอบอาหารต้องสะอาดเป็นระเบียบ เนื่องจากอาหารอาจถูกปนเปื้อนได้ง่ายจากเชื้อโรคที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมทั่วไป จึงต้องทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรคบริเวณโต๊ะที่ใช้เตรียม ปรุงอาหาร เตาหุงต้มอาหาร พื้น ผนัง เพดานของห้องครัวให้สะอาดอยู่เสมอ ส่วนผ้าเช็ดทำความสะอาดต้องแยกใช้เฉพาะแต่ละบริเวณ เช่น ผ้าที่ใช้เช็ดโต๊ะต้องแยกจากผ้าที่ใช้เช็ดพื้น และต้องซักทำความสะอาดบ่อย ๆ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด