คุณกำลังมองหาอะไร?

ข่า

ข่าวแจก "กรมอนามัย เล็งขยายคลินิกไร้พุง(DPAC) หนุนคนไทยใช้ 3 อ. 2 ส. ปรับพฤติกรรมสุขภาพ"

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

29.07.2556
81
0
แชร์
29
กรกฎาคม
2556

ข่าวแจก "กรมอนามัย เล็งขยายคลินิกไร้พุง(DPAC) หนุนคนไทยใช้ 3 อ. 2 ส. ปรับพฤติกรรมสุขภาพ"

        กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การพัฒนาองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อป้องกันและบำบัดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังแบบบูรณาการพร้อมขยายผลการดำเนินงานคลินิกไร้พุง (DPAC: Diet & Physical Activity Clinic) ให้ครอบคลุมสถานบริการสาธารณสุขในระดับ โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชน และในระดับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง เพื่อพัฒนากระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วยหลัก 3 อ. 2 ส.
        วันนี้ (29 กรกฎาคม 2556) นายแพทย์ณรงค์ สายวงศ์ รองอธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การพัฒนาองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อป้องกันและบำบัดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังแบบบูรณาการ? ณ โรงแรมอิมพีเรียล ควีนส์ปาร์ค กรุงเทพมหานคร ว่า กรมอนามัยได้มีนโยบายส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 3อ.2ส. ได้แก่ อ. อาหาร อ.ออกกำลังกาย อ. อารมณ์ และ ไม่ดื่มสุรา ไม่สูบบุหรี่ โดยกองออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ร่วมกับ สำนักโภชนาการได้ดำเนินงานโครงการพัฒนาคลินิกไร้พุง (DPAC : Diet & Physical Activity Clinic) เพื่อพัฒนาและขยายผลการดำเนินงานคลินิกไร้พุง (DPAC) พัฒนากระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วยกระบวนการ 3 อ. รวมถึงการสร้างความตระหนักรู้ให้แก่ประชาชน เพราะจากรายงานสถิติสุขภาพทั่วโลกขององค์การอนามัยโลก ปี 2555 พบว่า 1 ใน 10 ของประชาชนวัยผู้ใหญ่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน และ 1 ใน 3 มีภาวะความดันโลหิตสูง นอกจากนี้ ประมาณร้อยละ 63 ของการเสียชีวิตทั้งหมดทั่วโลกเกิดจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เนื่องมาจากความเจริญทางด้านเทคโนโลยีและสภาพแวดล้อมส่งผลต่อวิถีชีวิต ก่อให้เกิดพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม เช่น กินหวาน มัน เค็มมากเกินไป มีการเคลื่อนไหวทางกายน้อย และขาดการออกกำลังกาย มีการสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในปริมาณที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ รวมถึงภาวะเครียดจนเกิดภาวะอ้วนลงพุงซึ่งเป็นสาเหตุของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
        นายแพทย์ณรงค์ กล่าวต่อไปว่า การสำรวจสถานการณ์การเคลื่อนไหวออกแรง/ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพของคนไทยโดยกรมอนามัยล่าสุดพบว่าประชากรไทยที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ร้อยละ 20 มีกิจกรรมทางกายต่ำ และหากพิจารณาเฉพาะการออกกำลังกายพบว่า ผู้ใหญ่ออกกำลังกายสัปดาห์ละ 3 วัน ๆ ละ 30 นาที ร้อยละ 22-24 และมีเพียงร้อยละ 10 เท่านั้น ที่ออกกำลังกายเพียงพอต่อการป้องกันและลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมคนไทยให้หันมาใส่ใจการออกกำลังกายเพิ่มมากขึ้นจึงเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะกลุ่มวัยทำงาน ซึ่งเป็นวัยที่มักมีข้ออ้างว่าไม่มีเวลาว่าง ทั้ง ๆ ที่ความจริงแล้วการออกกำลังกายในวัยนี้นับว่ามีความจำเป็นมาก และควรหันมาออกกำลังกายให้มากขึ้นเพื่อให้ร่างกายได้รับการรักษาและฟื้นฟูในส่วนที่ สึกหรอไปจากการทำงาน
        ทั้งนี้ การดำเนินงานที่ผ่านมา กรมอนามัยได้จัดตั้งคลินิกไร้พุง(DPAC) สู่เป้าหมายสถานบริการทุกระดับในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ได้แก่ โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชน ดำเนินงานได้ร้อยละ78 จากเป้าหมาย ร้อยละ 80 และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดำเนินงานได้ร้อยละ 41 จากเป้าหมาย ร้อยละ 50 พร้อมเตรียมขยายเพิ่มสถานบริการสาธารสุขทุกระดับ ซึ่งการประชุมในครั้งนี้ จึงเป็นการส่งเสริมการขยายผลการจัดตั้งคลินิกไร้พุง(DPAC) และพัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติงานในคลินิกไร้พุง(DPAC) โดยนำความรู้ที่ได้รับจากการประชุมไปผลักดันกระบวนการทำงาน จนกลายเป็นนวัตกรรมขององค์กรในการดำเนินงานปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อป้องกันและบำบัดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของประชาชนอย่างยั่งยืนต่อไป? รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด
 
***
กลุ่มสื่อสารองค์กร / 29 กรกฎาคม 2556
 
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง \\การพัฒนาองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อป้องกันและบำบัดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังแบบบูรณาการพร้อมขยายผลการดำเนินงานคลินิกไร้พุง (DPAC: Diet & Physical Activity Clinic) ให้ครอบคลุมสถานบริการสาธารณสุขในระดับ โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชน และในระดับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง เพื่อพัฒนากระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วยหลัก 3 อ. 2 ส. วันนี้ (29 กรกฎาคม 2556) นายแพทย์ณรงค์ สายวงศ์ รองอธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง \\การพัฒนาองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อป้องกันและบำบัดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังแบบบูรณาการ ณ โรงแรมอิมพีเรียล ควีนส์ปาร์ค กรุงเทพมหานคร ว่า กรมอนามัยได้มีนโยบายส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 3อ.2ส. ได้แก่ อ. อาหาร อ.ออกกำลังกาย อ. อารมณ์ และ ไม่ดื่มสุรา ไม่สูบบุหรี่ โดยกองออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ร่วมกับ สำนักโภชนาการได้ดำเนินงานโครงการพัฒนาคลินิกไร้พุง (DPAC : Diet & Physical Activity Clinic) เพื่อพัฒนาและขยายผลการดำเนินงานคลินิกไร้พุง (DPAC) พัฒนากระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วยกระบวนการ 3 อ. รวมถึงการสร้างความตระหนักรู้ให้แก่ประชาชน เพราะจากรายงานสถิติสุขภาพทั่วโลกขององค์การอนามัยโลก ปี 2555 พบว่า 1 ใน 10 ของประชาชนวัยผู้ใหญ่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน และ 1 ใน 3 มีภาวะความดันโลหิตสูง นอกจากนี้ ประมาณร้อยละ 63 ของการเสียชีวิตทั้งหมดทั่วโลกเกิดจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เนื่องมาจากความเจริญทางด้านเทคโนโลยีและสภาพแวดล้อมส่งผลต่อวิถีชีวิต ก่อให้เกิดพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม เช่น กินหวาน มัน เค็มมากเกินไป มีการเคลื่อนไหวทางกายน้อย และขาดการออกกำลังกาย มีการสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในปริมาณที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ รวมถึงภาวะเครียดจนเกิดภาวะอ้วนลงพุงซึ่งเป็นสาเหตุของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง นายแพทย์ณรงค์ กล่าวต่อไปว่า การสำรวจสถานการณ์การเคลื่อนไหวออกแรง/ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพของคนไทยโดยกรมอนามัยล่าสุดพบว่าประชากรไทยที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ร้อยละ 20 มีกิจกรรมทางกายต่ำ และหากพิจารณาเฉพาะการออกกำลังกายพบว่า ผู้ใหญ่ออกกำลังกายสัปดาห์ละ 3 วัน ๆ ละ 30 นาที ร้อยละ 22-24 และมีเพียงร้อยละ 10 เท่านั้น ที่ออกกำลังกายเพียงพอต่อการป้องกันและลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมคนไทยให้หันมาใส่ใจการออกกำลังกายเพิ่มมากขึ้นจึงเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะกลุ่มวัยทำงาน ซึ่งเป็นวัยที่มักมีข้ออ้างว่าไม่มีเวลาว่าง ทั้ง ๆ ที่ความจริงแล้วการออกกำลังกายในวัยนี้นับว่ามีความจำเป็นมาก และควรหันมาออกกำลังกายให้มากขึ้นเพื่อให้ร่างกายได้รับการรักษาและฟื้นฟูในส่วนที่ สึกหรอไปจากการทำงาน \\ทั้งนี้ การดำเนินงานที่ผ่านมา กรมอนามัยได้จัดตั้งคลินิกไร้พุง(DPAC) สู่เป้าหมายสถานบริการทุกระดับในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ได้แก่ โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชน ดำเนินงานได้ร้อยละ78 จากเป้าหมาย ร้อยละ 80 และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดำเนินงานได้ร้อยละ 41 จากเป้าหมาย ร้อยละ 50 พร้อมเตรียมขยายเพิ่มสถานบริการสาธารสุขทุกระดับ ซึ่งการประชุมในครั้งนี้ จึงเป็นการส่งเสริมการขยายผลการจัดตั้งคลินิกไร้พุง(DPAC) และพัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติงานในคลินิกไร้พุง(DPAC) โดยนำความรู้ที่ได้รับจากการประชุมไปผลักดันกระบวนการทำงาน จนกลายเป็นนวัตกรรมขององค์กรในการดำเนินงานปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อป้องกันและบำบัดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของประชาชนอย่างยั่งยืนต่อไป รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด *** กลุ่มสื่อสารองค์กร / 29 กรกฎาคม 2556

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน

ติดตามข่าวสารได้ที่

แทงบอลออนไลน์ || ดูบอลสด