ข่าวแจก "กรมอนามัย มอบประกาศฯ การันตีผู้ตรวจสอบอาหาร FSI รุ่นที่ 1 ย้ำปชช.-นักท่องเที่ยวมั่นใจ อาหารสะอาดปลอดภัย ได้มาตรฐาน "
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข มอบประกาศนียบัตรและปิดการฝึกอบรมผู้ตรวจสอบสุขาภิบาลอาหาร (Food Sanitation Inspector : FSI) รุ่นที่1 โดยให้นำความรู้ไปดำเนินการควบคุม กำกับ และตรวจสอบให้การสุขาภิบาล มีมาตรฐาน สะอาด และปลอดภัย สร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภค
วันนี้ (19 กรกฎาคม 2556) นายแพทย์เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยภายหลังเป็นประธานมอบประกาศนียบัตรและปิดการฝึกอบรมผู้ตรวจสอบสุขาภิบาลอาหาร (Food Sanitation Inspector : FSI) ณ ห้องยุคลธร โรงแรมอมารีแอร์พอร์ต ดอนเมือง กรุงเทพมหานคร ว่า หลักสูตรผู้ตรวจสอบสุขาภิบาลอาหาร (FSI) เป็นหนึ่งในหลักสูตรการพัฒนาความปลอดภัยด้านอาหารและน้ำ ซึ่งเป็นการสร้างความเข้มแข็งอย่างต่อเนื่องในการคุ้มครองความปลอดภัยของผู้บริโภคหรือ Food Safety โดยเน้น 2 ด้านหลักคือ ด้านมาตรฐานความสะอาดตลาดสด ร้านอาหารและแผงลอย ทั่วประเทศ ซึ่งผู้อบรมจะได้เรียนรู้การควบคุมและป้องกันอันตรายต่างๆ จากอาหาร และปัจจัยสำคัญที่เป็นสาเหตุทำให้อาหารสกปรก ได้แก่ บุคคล อาหาร ภาชนะอุปกรณ์ สถานที่ปรุง ประกอบและจำหน่ายอาหาร รวมทั้งสัตว์แมลงนำโรค ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของผู้บริโภค โดยเฉพาะโรคที่เกิดจากอาหารและน้ำเป็นสื่อ เพราะจากการสุ่มตรวจสอบคุณภาพอาหารที่จำหน่ายในตลาดนัดเมื่อปี 2553 พบว่ามีการปนเปื้อนของสารเคมี ร้อยละ 16.3 และจุลินทรีย์ ร้อยละ 37.5 โดยสารเคมีที่ตรวจพบสูงสุด คือสารฟอกขาว รองลงมาคือ สารกันรา ฟอร์มาลิน และสารบอแรกซ์ ตามลำดับ ส่วนร้านอาหารแผงลอยทั่วประเทศ จำนวน 165,693 แห่ง ขณะนี้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารสะอาดรสชาติอร่อย (Clean Food Good Taste) จำนวน 139,108 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 83.96
นายแพทย์เจษฎา กล่าวต่อว่า ด้านการคุ้มครองความปลอดภัยอาหารบริโภคนั้น กรมอนามัยได้มุ่งเน้นการตรวจหาการปนเปื้อนสารอันตรายต้องห้าม ได้แก่ สารเร่งเนื้อแดง สารบอแรกซ์ สารฟอกขาว สารกันรา ฟอร์มาลิน ยาฆ่าแมลง ตรวจน้ำมันทอดซ้ำ และการปนเปื้อนแบคทีเรียในน้ำแข็ง ซึ่งข้อมูลการตรวจสอบในปี 2554 จำนวนกว่า 140,000 ตัวอย่างจาก ทุกจังหวัดพบว่า ร้อยละ 96 ปลอดภัย พบการปนเปื้อนเกินมาตรฐาน 6,250 ตัวอย่างหรือร้อยละ 4 โดยพบน้ำบริโภค ตกเกณฑ์มากที่สุด ร้อยละ 35 รองลงมาคือน้ำแข็งในร้านแผงลอย ร้อยละ 20 ส่วนประเภทผัก ผลไม้ พบมีการปนเปื้อน ยาฆ่าแมลงร้อยละ 5 ซึ่งผักที่พบยาฆ่าแมลงตกค้างมากที่สุด ได้แก่ คะน้า กำหล่ำปลี กะหล่ำดอก และต้นหอม
ทั้งนี้ การมอบประกาศนียบัตรผู้ผ่านการอบรมหลักสูตรผู้ตรวจสอบสุขาภิบาลอาหาร (Food Sanitation Inspector : FSI) รุ่นที่ 1 ประจำปี 2556 จำนวน 43 คน ถือเป็นการพัฒนาศักยภาพของเจ้าหน้าที่ในระดับจังหวัดและท้องถิ่นให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ในปี 2558 ซึ่งผู้ประกอบกิจการด้านอาหารจะมีบทบาทสำคัญในการค้าขายอาหารให้กับชาวต่างชาติที่จะเข้ามาท่องเที่ยว ดังนั้น เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานสุขาภิบาลอาหารและน้ำ จึงต้องผ่านการอบรมและสามารถเป็นผู้ตรวจสอบสุขาภิบาลอาหารที่สามารถควบคุม กำกับและดำเนินการตรวจสอบให้การสุขาภิบาลอาหารนั้นมีมาตรฐาน สะอาด และปลอดภัยต่อผู้บริโภค? อธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด
***
กลุ่มสื่อสารองค์กร/19 กรกฎาคม 2556
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข มอบประกาศนียบัตรและปิดการฝึกอบรมผู้ตรวจสอบสุขาภิบาลอาหาร (Food Sanitation Inspector : FSI) รุ่นที่1 โดยให้นำความรู้ไปดำเนินการควบคุม กำกับ และตรวจสอบให้การสุขาภิบาล มีมาตรฐาน สะอาด และปลอดภัย สร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภค วันนี้ (19 กรกฎาคม 2556) นายแพทย์เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยภายหลังเป็นประธานมอบประกาศนียบัตรและปิดการฝึกอบรมผู้ตรวจสอบสุขาภิบาลอาหาร (Food Sanitation Inspector : FSI) ณ ห้องยุคลธร โรงแรมอมารีแอร์พอร์ต ดอนเมือง กรุงเทพมหานคร ว่า หลักสูตรผู้ตรวจสอบสุขาภิบาลอาหาร (FSI) เป็นหนึ่งในหลักสูตรการพัฒนาความปลอดภัยด้านอาหารและน้ำ ซึ่งเป็นการสร้างความเข้มแข็งอย่างต่อเนื่องในการคุ้มครองความปลอดภัยของผู้บริโภคหรือ Food Safety โดยเน้น 2 ด้านหลักคือ ด้านมาตรฐานความสะอาดตลาดสด ร้านอาหารและแผงลอย ทั่วประเทศ ซึ่งผู้อบรมจะได้เรียนรู้การควบคุมและป้องกันอันตรายต่างๆ จากอาหาร และปัจจัยสำคัญที่เป็นสาเหตุทำให้อาหารสกปรก ได้แก่ บุคคล อาหาร ภาชนะอุปกรณ์ สถานที่ปรุง ประกอบและจำหน่ายอาหาร รวมทั้งสัตว์แมลงนำโรค ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของผู้บริโภค โดยเฉพาะโรคที่เกิดจากอาหารและน้ำเป็นสื่อ เพราะจากการสุ่มตรวจสอบคุณภาพอาหารที่จำหน่ายในตลาดนัดเมื่อปี 2553 พบว่ามีการปนเปื้อนของสารเคมี ร้อยละ 16.3 และจุลินทรีย์ ร้อยละ 37.5 โดยสารเคมีที่ตรวจพบสูงสุด คือสารฟอกขาว รองลงมาคือ สารกันรา ฟอร์มาลิน และสารบอแรกซ์ ตามลำดับ ส่วนร้านอาหารแผงลอยทั่วประเทศ จำนวน 165,693 แห่ง ขณะนี้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารสะอาดรสชาติอร่อย (Clean Food Good Taste) จำนวน 139,108 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 83.96 นายแพทย์เจษฎา กล่าวต่อว่า ด้านการคุ้มครองความปลอดภัยอาหารบริโภคนั้น กรมอนามัยได้มุ่งเน้นการตรวจหาการปนเปื้อนสารอันตรายต้องห้าม ได้แก่ สารเร่งเนื้อแดง สารบอแรกซ์ สารฟอกขาว สารกันรา ฟอร์มาลิน ยาฆ่าแมลง ตรวจน้ำมันทอดซ้ำ และการปนเปื้อนแบคทีเรียในน้ำแข็ง ซึ่งข้อมูลการตรวจสอบในปี 2554 จำนวนกว่า 140,000 ตัวอย่างจาก ทุกจังหวัดพบว่า ร้อยละ 96 ปลอดภัย พบการปนเปื้อนเกินมาตรฐาน 6,250 ตัวอย่างหรือร้อยละ 4 โดยพบน้ำบริโภค ตกเกณฑ์มากที่สุด ร้อยละ 35 รองลงมาคือน้ำแข็งในร้านแผงลอย ร้อยละ 20 ส่วนประเภทผัก ผลไม้ พบมีการปนเปื้อน ยาฆ่าแมลงร้อยละ 5 ซึ่งผักที่พบยาฆ่าแมลงตกค้างมากที่สุด ได้แก่ คะน้า กำหล่ำปลี กะหล่ำดอก และต้นหอม \\ทั้งนี้ การมอบประกาศนียบัตรผู้ผ่านการอบรมหลักสูตรผู้ตรวจสอบสุขาภิบาลอาหาร (Food Sanitation Inspector : FSI) รุ่นที่ 1 ประจำปี 2556 จำนวน 43 คน ถือเป็นการพัฒนาศักยภาพของเจ้าหน้าที่ในระดับจังหวัดและท้องถิ่นให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ในปี 2558 ซึ่งผู้ประกอบกิจการด้านอาหารจะมีบทบาทสำคัญในการค้าขายอาหารให้กับชาวต่างชาติที่จะเข้ามาท่องเที่ยว ดังนั้น เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานสุขาภิบาลอาหารและน้ำ จึงต้องผ่านการอบรมและสามารถเป็นผู้ตรวจสอบสุขาภิบาลอาหารที่สามารถควบคุม กำกับและดำเนินการตรวจสอบให้การสุขาภิบาลอาหารนั้นมีมาตรฐาน สะอาด และปลอดภัยต่อผู้บริโภค อธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด *** กลุ่มสื่อสารองค์กร/19 กรกฎาคม 2556