คุณกำลังมองหาอะไร?

น่า

น่าน ตั้งเป้าปี58 เป็นจังหวัดต้นแบบไอโอดีน หนุนกรมอนามัยช่วยลดคนไทยเสี่ยงขาดสารไอโอดีน ปีละ 14 ล้านคน

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

15.07.2556
16
0
แชร์
15
กรกฎาคม
2556

น่าน ตั้งเป้าปี58 เป็นจังหวัดต้นแบบไอโอดีน หนุนกรมอนามัยช่วยลดคนไทยเสี่ยงขาดสารไอโอดีน ปีละ 14 ล้านคน

        กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับจังหวัดน่าน เร่งลดปัญหาโรคขาดสารไอโอดีนในประเทศไทย ตั้งเป้าปี 2558 เป็นจังหวัดไอโอดีนต้นแบบของประเทศ พร้อมขับเคลื่อนชุมชน/หมู่บ้านไอโอดีน หวังลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิด โรคขาดสารไอโอดีนทั่วประเทศได้ประมาณปีละ 14 ล้านคน
        วันนี้ (14 กรกฎาคม 2556) นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดน่าน และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยในกิจกรรมสื่อมวลชนสัญจร สติปัญญาสร้างชาติ คนน่านไม่ขาดไอโอดีน? ณ จังหวัดน่าน ว่า จังหวัดน่านได้ดำเนินการป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนมาเป็นระยะเวลานานและมีแนวโน้มดีขึ้น สอดคล้องกับสถานการณ์โดยรวมของประเทศ โดยพบว่าในปี 2555 ค่ามัธยฐานไอโอดีนในปัสสาวะหญิงตั้งครรภ์จังหวัดน่านอยู่ในระดับที่เพียงพอคือ 232 ไมโครกรัมต่อลิตร แต่ยังจำเป็นต้องดำเนินการต่อ เนื่องจากครัวเรือนมีการใช้เกลือบริโภคเสริมไอโอดีนคุณภาพเพียงร้อยละ 64.8 ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายกระทรวงสาธารณสุขและองค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ ร้อยละ 90 นอกจากนี้การสำรวจคุณภาพเกลือบริโภคเสริมไอโอดีน ณ แหล่งผลิตและบรรจุ จำนวน 9 แห่ง พบผ่านเกณฑ์จำนวน 7 แห่ง คิดเป็นร้อยละ77.8 ทั้งนี้ ในปี 2555 รัฐบาลได้สนับสนุนเครื่องผสมเกลือที่ได้มาตรฐานให้กับผู้ประกอบการเกลือเสริมไอโอดีน ซึ่งจังหวัดน่านได้รับการสนับสนุน 1 เครื่อง ติดตั้ง ณ ศูนย์การเรียนรู้การผลิตเกลือบริโภคเสริมไอโอดีนอำเภอ บ่อเกลือ ที่เป็นแหล่งผลิตเกลือเสริมไอโอดีนที่ใหญ่ที่สุดของภาคเหนือ        
        นายแพทย์ชลน่าน กล่าวต่อไปว่า นอกจากความร่วมมือของทุกภาคส่วนแล้ว การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาผ่านกระบวนการชุมชน/หมู่บ้านไอโอดีน ถือเป็นการวางรากฐานที่สำคัญในการดูแลสุขภาพของตนเอง ซึ่งก้าวต่อไปของจังหวัดน่านคือการยกระดับชุมชน/หมู่บ้านไอโอดีน จำนวน 300 แห่ง จากจำนวนทั้งหมด 889 แห่ง ให้เป็นศูนย์เรียนรู้ชุมชน/หมู่บ้านไอโอดีน อย่างน้อย 1 อำเภอ 1 ศูนย์เรียนรู้ และภายในปี 2558 จังหวัดน่านจะประกาศเป็น จังหวัดไอโอดีนต้นแบบ แหล่งเรียนรู้ด้านการควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนสู่ความยั่งยืน ซึ่งการใช้มาตรการดังกล่าวจะช่วยปกป้องเด็กแรกเกิด และประชาชนในจังหวัดน่านให้ปลอดภัยจากการสูญเสียระดับสติปัญญาและความสามารถในการเรียนรู้ นำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดี ด้าน นายแพทย์ณรงค์ สายวงศ์ รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า การพัฒนาสุขภาพอนามัยของประชาชนกลุ่มเสี่ยงและประชาชนทั่วไปไม่ให้เป็นโรคขาดสารไอโอดีนถือเป็นภารกิจสำคัญของกรมอนามัย ซึ่งผลการสำรวจสถานการณ์การได้รับไอโอดีนปี 2555 พบว่า หญิงตั้งครรภ์ร้อยละ 90.9 ได้รับยาเม็ดเสริมไอโอดีน ร้อยละ 84.6 ของครัวเรือนมีการใช้เกลือบริโภคเสริมไอโอดีนที่มีคุณภาพตามกฎหมายกำหนด แต่ยังต่ำกว่าเป้าหมายขององค์การอนามัยโลกที่กำหนดไว้มากกว่าร้อยละ 90 นอกจากนี้ข้อมูลการสำรวจระดับไอคิวของเด็กไทยปี 2554 โดยกรมสุขภาพจิตพบเด็กไทยมีไอคิวเฉลี่ย 98 จุด ถือว่าอยู่ในระดับสากลแต่ยังอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบเคียงกับประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม ที่ไอคิวเฉลี่ย 104 จุด
        ทั้งนี้ มาตรการหลักที่กระทรวงสาธารณสุขและภาคีเครือข่ายนำมาใช้ในการควบคุมป้องกัน โรคขาดสารไอโอดีน คือส่งเสริมและสนับสนุนนโยบายเกลือเสริมไอโอดีนถ้วนหน้า(Universal Salt Iodization: USI) ซึ่งเป็นวิธีที่ปลอดภัย ประหยัด และต้นทุนการเสริมไอโอดีนในเกลือต่ำมาก เพียง 1.30 บาทต่อคนต่อปี จากการออกประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่กำหนดให้เกลือบริโภค น้ำปลา น้ำเกลือปรุงอาหาร และผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการย่อยโปรตีนของถั่วเหลือง เช่น ซอส ซีอิ๊ว ต้องเติมไอโอดีน ส่วนมาตรการเสริมคือการจ่ายยาเม็ดเสริมไอโอดีนให้หญิงตั้งครรภ์ทุกรายตลอดการตั้งครรภ์และขณะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ 6 เดือน การเสริมไอโอดีนในน้ำดื่มในพื้นที่ทุรกันดารตามโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และการขับเคลื่อนให้ทุกชุมชน/หมู่บ้าน จำนวน 77,373 แห่ง เป็นชุมชน/หมู่บ้านไอโอดีน ซึ่งปัจจุบันดำเนินการทั้งสิ้น 38,663 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 53.1 และจากการดำเนินงานตามมาตรการดังกล่าวส่งผลให้ประชากรกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ หญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร ทารก เด็กปฐมวัย และ เด็กวัยเรียน ลดโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคขาดสารไอโอดีนได้ประมาณปีละ 14 ล้านคน? รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด
                                                                                    
***
กลุ่มสื่อสารองค์กร / 14 กรกฎาคม 2556
 
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับจังหวัดน่าน เร่งลดปัญหาโรคขาดสารไอโอดีนในประเทศไทย ตั้งเป้าปี 2558 เป็นจังหวัดไอโอดีนต้นแบบของประเทศ พร้อมขับเคลื่อนชุมชน/หมู่บ้านไอโอดีน หวังลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิด โรคขาดสารไอโอดีนทั่วประเทศได้ประมาณปีละ 14 ล้านคน วันนี้ (14 กรกฎาคม 2556) นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดน่าน และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยในกิจกรรมสื่อมวลชนสัญจร \\สติปัญญาสร้างชาติ คนน่านไม่ขาดไอโอดีน ณ จังหวัดน่าน ว่า จังหวัดน่านได้ดำเนินการป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนมาเป็นระยะเวลานานและมีแนวโน้มดีขึ้น สอดคล้องกับสถานการณ์โดยรวมของประเทศ โดยพบว่าในปี 2555 ค่ามัธยฐานไอโอดีนในปัสสาวะหญิงตั้งครรภ์จังหวัดน่านอยู่ในระดับที่เพียงพอคือ 232 ไมโครกรัมต่อลิตร แต่ยังจำเป็นต้องดำเนินการต่อ เนื่องจากครัวเรือนมีการใช้เกลือบริโภคเสริมไอโอดีนคุณภาพเพียงร้อยละ 64.8 ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายกระทรวงสาธารณสุขและองค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ ร้อยละ 90 นอกจากนี้การสำรวจคุณภาพเกลือบริโภคเสริมไอโอดีน ณ แหล่งผลิตและบรรจุ จำนวน 9 แห่ง พบผ่านเกณฑ์จำนวน 7 แห่ง คิดเป็นร้อยละ77.8 ทั้งนี้ ในปี 2555 รัฐบาลได้สนับสนุนเครื่องผสมเกลือที่ได้มาตรฐานให้กับผู้ประกอบการเกลือเสริมไอโอดีน ซึ่งจังหวัดน่านได้รับการสนับสนุน 1 เครื่อง ติดตั้ง ณ ศูนย์การเรียนรู้การผลิตเกลือบริโภคเสริมไอโอดีนอำเภอ บ่อเกลือ ที่เป็นแหล่งผลิตเกลือเสริมไอโอดีนที่ใหญ่ที่สุดของภาคเหนือ นายแพทย์ชลน่าน กล่าวต่อไปว่า นอกจากความร่วมมือของทุกภาคส่วนแล้ว การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาผ่านกระบวนการชุมชน/หมู่บ้านไอโอดีน ถือเป็นการวางรากฐานที่สำคัญในการดูแลสุขภาพของตนเอง ซึ่งก้าวต่อไปของจังหวัดน่านคือการยกระดับชุมชน/หมู่บ้านไอโอดีน จำนวน 300 แห่ง จากจำนวนทั้งหมด 889 แห่ง ให้เป็นศูนย์เรียนรู้ชุมชน/หมู่บ้านไอโอดีน อย่างน้อย 1 อำเภอ 1 ศูนย์เรียนรู้ และภายในปี 2558 จังหวัดน่านจะประกาศเป็น จังหวัดไอโอดีนต้นแบบ แหล่งเรียนรู้ด้านการควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนสู่ความยั่งยืน ซึ่งการใช้มาตรการดังกล่าวจะช่วยปกป้องเด็กแรกเกิด และประชาชนในจังหวัดน่านให้ปลอดภัยจากการสูญเสียระดับสติปัญญาและความสามารถในการเรียนรู้ นำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดี ด้าน นายแพทย์ณรงค์ สายวงศ์ รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า การพัฒนาสุขภาพอนามัยของประชาชนกลุ่มเสี่ยงและประชาชนทั่วไปไม่ให้เป็นโรคขาดสารไอโอดีนถือเป็นภารกิจสำคัญของกรมอนามัย ซึ่งผลการสำรวจสถานการณ์การได้รับไอโอดีนปี 2555 พบว่า หญิงตั้งครรภ์ร้อยละ 90.9 ได้รับยาเม็ดเสริมไอโอดีน ร้อยละ 84.6 ของครัวเรือนมีการใช้เกลือบริโภคเสริมไอโอดีนที่มีคุณภาพตามกฎหมายกำหนด แต่ยังต่ำกว่าเป้าหมายขององค์การอนามัยโลกที่กำหนดไว้มากกว่าร้อยละ 90 นอกจากนี้ข้อมูลการสำรวจระดับไอคิวของเด็กไทยปี 2554 โดยกรมสุขภาพจิตพบเด็กไทยมีไอคิวเฉลี่ย 98 จุด ถือว่าอยู่ในระดับสากลแต่ยังอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบเคียงกับประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม ที่ไอคิวเฉลี่ย 104 จุด \\ทั้งนี้ มาตรการหลักที่กระทรวงสาธารณสุขและภาคีเครือข่ายนำมาใช้ในการควบคุมป้องกัน โรคขาดสารไอโอดีน คือส่งเสริมและสนับสนุนนโยบายเกลือเสริมไอโอดีนถ้วนหน้า(Universal Salt Iodization: USI) ซึ่งเป็นวิธีที่ปลอดภัย ประหยัด และต้นทุนการเสริมไอโอดีนในเกลือต่ำมาก เพียง 1.30 บาทต่อคนต่อปี จากการออกประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่กำหนดให้เกลือบริโภค น้ำปลา น้ำเกลือปรุงอาหาร และผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการย่อยโปรตีนของถั่วเหลือง เช่น ซอส ซีอิ๊ว ต้องเติมไอโอดีน ส่วนมาตรการเสริมคือการจ่ายยาเม็ดเสริมไอโอดีนให้หญิงตั้งครรภ์ทุกรายตลอดการตั้งครรภ์และขณะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ 6 เดือน การเสริมไอโอดีนในน้ำดื่มในพื้นที่ทุรกันดารตามโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และการขับเคลื่อนให้ทุกชุมชน/หมู่บ้าน จำนวน 77,373 แห่ง เป็นชุมชน/หมู่บ้านไอโอดีน ซึ่งปัจจุบันดำเนินการทั้งสิ้น 38,663 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 53.1 และจากการดำเนินงานตามมาตรการดังกล่าวส่งผลให้ประชากรกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ หญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร ทารก เด็กปฐมวัย และ เด็กวัยเรียน ลดโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคขาดสารไอโอดีนได้ประมาณปีละ 14 ล้านคน รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด ***กลุ่มสื่อสารองค์กร / 14 กรกฎาคม 2556

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน

ติดตามข่าวสารได้ที่

แทงบอลออนไลน์ || ดูบอลสด