คุณกำลังมองหาอะไร?

ข่า

ข่าวแจก "สธ. หนุนสิทธิและการเข้าถึงอนามัยการเจริญพันธุ์ เตรียมพร้อมสู่ AEC แก้ปัญหาวัยรุ่นท้องไม่พร้อม"

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

11.07.2556
25
0
แชร์
11
กรกฎาคม
2556

ข่าวแจก "สธ. หนุนสิทธิและการเข้าถึงอนามัยการเจริญพันธุ์ เตรียมพร้อมสู่ AEC แก้ปัญหาวัยรุ่นท้องไม่พร้อม"

        กระทรวงสาธารณสุขโดยกรมอนามัย จัดการประชุมวิชาการอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติ ครั้งที่ 3 เรื่อง สิทธิและการเข้าถึงอนามัยการเจริญพันธุ์ : ประเทศไทยสู่อาเซียน? เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และพัฒนางานอนามัยการเจริญพันธุ์ร่วมกับภาคีเครือข่าย แก้ปัญหาท้องไม่พร้อมในกลุ่มวัยรุ่น
        วันนี้ (10 กรกฎาคม 2556) นายสรวงศ์ เทียนทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติครั้งที่ 3 สิทธิและการเข้าถึงอนามัยการเจริญพันธุ์ : ประเทศไทยสู่อาเซียน? ณ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ สุขุมวิท 11 กรุงเทพมหานคร ว่า สิทธิการเจริญพันธุ์และอนามัยการเจริญพันธุ์เป็นหนึ่งในแผนปฏิบัติการจากการประชุมเรื่องประชากรกับการพัฒนา (International Conference on Population and Development ? ICPD) ที่กรุงไคโร ประเทศอียิปต์ เมื่อ พ.ศ.๒๕๓๗ ซึ่งทุกประเทศที่เข้าร่วมประชุมรวมถึงประเทศไทยได้เห็นพ้องและยอมรับที่จะดำเนินการเพื่อพัฒนาประชากรของตนเอง โดยวันประชากรโลก 11 กรกฎาคมปีนี้ องค์การสหประชาชาติได้เน้นในเรื่องการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น เพื่อรณรงค์ป้องกันการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อมของวัยรุ่น และเรียกร้องให้มีการลงทุนเพื่อส่งเสริมการศึกษา สุขภาพ ความเป็นอยู่ พร้อมทั้งปกป้องรักษาสิทธิมนุษยชนของวัยรุ่นหญิง นายสรวงศ์ กล่าวต่อไปว่า ปัจจุบันวัยรุ่นมีเพศสัมพันธ์เร็วขึ้น อายุเมื่อมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกพบว่ามีแนวโน้มลดลงเรื่อย ๆ โดยมีอายุเฉลี่ย 15-16 ปี ซึ่งปัจจัยที่มีผลต่อการตั้งครรภ์ของวัยรุ่นพบว่าส่วนใหญ่เกิดจากใช้วิธีคุมกำเนิดไม่สม่ำเสมอ หรือไม่ได้ใช้วิธีการป้องกัน เนื่องจากขาดความรู้ มีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการร่วมเพศคิดว่าการร่วมเพศครั้งเดียวไม่ตั้งครรภ์ การใช้ถุงยางอนามัยขัดขวางความรู้สึกทางเพศ และไม่รู้ว่าตนเองจะมีโอกาสตั้งครรภ์เมื่อใด ซึ่งจากการสำรวจพฤติกรรมนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มัธยมศึกษาปีที่ 5 และปวช.ปี 2 โดยสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ปี 2550-2554 พบว่า ในการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกส่วนใหญ่ใช้ถุงยางอนามัยเพียงร้อยละ 55.1 นอกจากนี้ ร้อยละ 70 ของวัยรุ่นใช้บ้านตนเองหรือบ้านเพื่อนเป็นสถานที่ที่มีเพศสัมพันธ์กันครั้งแรก จากพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่นที่มีเพศสัมพันธ์เมื่ออายุน้อยและมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้ป้องกัน ส่งผลให้เกิดปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเพิ่มสูงขึ้น ข้อมูลสถิติสาธารณสุขพบว่า ในปี 2554 มีเด็กวัยรุ่นอายุต่ำกว่า 20 ปี คลอดบุตรเฉลี่ยวันละ 370 คน โดยมีวัยรุ่นอายุต่ำกว่า 15 ปี คลอดบุตรวันละ 10 คน เปรียบเทียบกับปี 2543 ในช่วงวัยเดียวกัน พบว่าวัยรุ่นอายุ ต่ำกว่า 20 ปี คลอดบุตรเฉลี่ยวันละ 240 คน และในอายุต่ำกว่า 15 ปี คลอดบุตรวันละ 4 คน
        นายแพทย์เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า เนื่องจากประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ประเทศไทยได้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาแล้วในเรื่องการวางแผนครอบครัว งานอนามัยแม่และเด็ก อย่างไรก็ตาม ประเด็นการลดความรุนแรงต่อสตรี การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น การทำแท้งที่ไม่ปลอดภัย การติดเชื้อเอชไอวีและเอดส์ ยังคงเป็นเป้าหมายที่ทุกภาคส่วนต้องร่วมกันดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมาย โดยส่งเสริมให้กลุ่มสตรี วัยรุ่นและเยาวชน เข้าถึงสิทธิและบริการด้านอนามัยการเจริญพันธุ์ได้อย่างทั่วถึงและ มีคุณภาพ
        ทั้งนี้ กรมอนามัยร่วมกับภาคีเครือข่ายขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2553?2557) เพื่อให้วัยรุ่นเข้าถึงบริการด้านอนามัยการเจริญพันธุ์ และลดปัญหาการตั้งครรภ์ ดังนี้
1) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการแก้ไขปัญหาอนามัยการเจริญพันธุ์แบบบูรณาการ
2) ส่งเสริมการจัดบริการสุขภาพที่เป็นมิตรสำหรับวัยรุ่น เช่น สนับสนุนการจัดตั้งคลินิกวัยรุ่นในโรงพยาบาลทุกแห่ง เพื่อให้วัยรุ่นเข้าถึงการให้คำปรึกษา บริการด้านสุขภาพและอนามัยการเจริญพันธุ์ และ
3) ส่งเสริมการเข้าถึงบริการวางแผนครอบครัวและอนามัยการเจริญพันธุ์ เพื่อให้ชายหญิงวัยเจริญพันธุ์มีความรู้ เกิดความตระหนัก และเข้าถึงบริการวางแผนครอบครัวและอนามัยการเจริญพันธุ์ และการบริการคุมกำเนิด ที่เหมาะสม? อธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด
                                                                         
***
กลุ่มสื่อสารองค์กร / 10 กรกฎาคม 2556
 
กระทรวงสาธารณสุขโดยกรมอนามัย จัดการประชุมวิชาการอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติ ครั้งที่ 3 เรื่อง \\สิทธิและการเข้าถึงอนามัยการเจริญพันธุ์ : ประเทศไทยสู่อาเซียน เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และพัฒนางานอนามัยการเจริญพันธุ์ร่วมกับภาคีเครือข่าย แก้ปัญหาท้องไม่พร้อมในกลุ่มวัยรุ่น วันนี้ (10 กรกฎาคม 2556) นายสรวงศ์ เทียนทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติครั้งที่ 3 \\สิทธิและการเข้าถึงอนามัยการเจริญพันธุ์ : ประเทศไทยสู่อาเซียน ณ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ สุขุมวิท 11 กรุงเทพมหานคร ว่า สิทธิการเจริญพันธุ์และอนามัยการเจริญพันธุ์เป็นหนึ่งในแผนปฏิบัติการจากการประชุมเรื่องประชากรกับการพัฒนา (International Conference on Population and Development ICPD) ที่กรุงไคโร ประเทศอียิปต์ เมื่อ พ.ศ.๒๕๓๗ ซึ่งทุกประเทศที่เข้าร่วมประชุมรวมถึงประเทศไทยได้เห็นพ้องและยอมรับที่จะดำเนินการเพื่อพัฒนาประชากรของตนเอง โดยวันประชากรโลก 11 กรกฎาคมปีนี้ องค์การสหประชาชาติได้เน้นในเรื่องการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น เพื่อรณรงค์ป้องกันการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อมของวัยรุ่น และเรียกร้องให้มีการลงทุนเพื่อส่งเสริมการศึกษา สุขภาพ ความเป็นอยู่ พร้อมทั้งปกป้องรักษาสิทธิมนุษยชนของวัยรุ่นหญิง นายสรวงศ์ กล่าวต่อไปว่า ปัจจุบันวัยรุ่นมีเพศสัมพันธ์เร็วขึ้น อายุเมื่อมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกพบว่ามีแนวโน้มลดลงเรื่อย ๆ โดยมีอายุเฉลี่ย 15-16 ปี ซึ่งปัจจัยที่มีผลต่อการตั้งครรภ์ของวัยรุ่นพบว่าส่วนใหญ่เกิดจากใช้วิธีคุมกำเนิดไม่สม่ำเสมอ หรือไม่ได้ใช้วิธีการป้องกัน เนื่องจากขาดความรู้ มีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการร่วมเพศคิดว่าการร่วมเพศครั้งเดียวไม่ตั้งครรภ์ การใช้ถุงยางอนามัยขัดขวางความรู้สึกทางเพศ และไม่รู้ว่าตนเองจะมีโอกาสตั้งครรภ์เมื่อใด ซึ่งจากการสำรวจพฤติกรรมนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มัธยมศึกษาปีที่ 5 และปวช.ปี 2 โดยสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ปี 2550-2554 พบว่า ในการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกส่วนใหญ่ใช้ถุงยางอนามัยเพียงร้อยละ 55.1 นอกจากนี้ ร้อยละ 70 ของวัยรุ่นใช้บ้านตนเองหรือบ้านเพื่อนเป็นสถานที่ที่มีเพศสัมพันธ์กันครั้งแรก จากพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่นที่มีเพศสัมพันธ์เมื่ออายุน้อยและมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้ป้องกัน ส่งผลให้เกิดปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเพิ่มสูงขึ้น ข้อมูลสถิติสาธารณสุขพบว่า ในปี 2554 มีเด็กวัยรุ่นอายุต่ำกว่า 20 ปี คลอดบุตรเฉลี่ยวันละ 370 คน โดยมีวัยรุ่นอายุต่ำกว่า 15 ปี คลอดบุตรวันละ 10 คน เปรียบเทียบกับปี 2543 ในช่วงวัยเดียวกัน พบว่าวัยรุ่นอายุ ต่ำกว่า 20 ปี คลอดบุตรเฉลี่ยวันละ 240 คน และในอายุต่ำกว่า 15 ปี คลอดบุตรวันละ 4 คน นายแพทย์เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า เนื่องจากประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ประเทศไทยได้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาแล้วในเรื่องการวางแผนครอบครัว งานอนามัยแม่และเด็ก อย่างไรก็ตาม ประเด็นการลดความรุนแรงต่อสตรี การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น การทำแท้งที่ไม่ปลอดภัย การติดเชื้อเอชไอวีและเอดส์ ยังคงเป็นเป้าหมายที่ทุกภาคส่วนต้องร่วมกันดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมาย โดยส่งเสริมให้กลุ่มสตรี วัยรุ่นและเยาวชน เข้าถึงสิทธิและบริการด้านอนามัยการเจริญพันธุ์ได้อย่างทั่วถึงและ มีคุณภาพ \\ทั้งนี้ กรมอนามัยร่วมกับภาคีเครือข่ายขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.25532557) เพื่อให้วัยรุ่นเข้าถึงบริการด้านอนามัยการเจริญพันธุ์ และลดปัญหาการตั้งครรภ์ ดังนี้1) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการแก้ไขปัญหาอนามัยการเจริญพันธุ์แบบบูรณาการ2) ส่งเสริมการจัดบริการสุขภาพที่เป็นมิตรสำหรับวัยรุ่น เช่น สนับสนุนการจัดตั้งคลินิกวัยรุ่นในโรงพยาบาลทุกแห่ง เพื่อให้วัยรุ่นเข้าถึงการให้คำปรึกษา บริการด้านสุขภาพและอนามัยการเจริญพันธุ์ และ3) ส่งเสริมการเข้าถึงบริการวางแผนครอบครัวและอนามัยการเจริญพันธุ์ เพื่อให้ชายหญิงวัยเจริญพันธุ์มีความรู้ เกิดความตระหนัก และเข้าถึงบริการวางแผนครอบครัวและอนามัยการเจริญพันธุ์ และการบริการคุมกำเนิด ที่เหมาะสม อธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด ***กลุ่มสื่อสารองค์กร / 10 กรกฎาคม 2556

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน

ติดตามข่าวสารได้ที่

แทงบอลออนไลน์ || ดูบอลสด