ข่าวแจก "กรมอนามัย สร้างผู้ตรวจสอบอาหาร FSI รับ AEC ปี58 ย้ำความมั่นใจให้นักท่องเที่ยว"
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พัฒนาหลักสูตรผู้ตรวจสอบสุขาภิบาลอาหาร (Food Sanitation Inspector : FSI) รับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Asean Economic Community) ในปี 2558 สร้างเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานสุขาภิบาลอาหารและน้ำแบบมืออาชีพตรวจสอบให้การสุขาภิบาลมีมาตรฐานมีความสะอาด ปลอดภัย และคุ้มครองผู้บริโภค ตอกย้ำความมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยว
วันนี้ (17 มิถุนายน 2556) นายแพทย์เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า ในปี 2558 ประเทศไทยจะเข้าร่วมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Asean Economic Community) ซึ่งผู้ประกอบการด้านอาหารจะมีบทบาทสำคัญในการค้าขายอาหารให้กับชาวต่างชาติที่จะเข้ามาท่องเที่ยว กรมอนามัยจึงได้ดำเนินการพัฒนาหลักสูตรความปลอดภัยด้านอาหารและน้ำโดยดำเนินการแล้ว 3 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรการสุขาภิบาลอาหารสำหรับผู้สัมผัสอาหาร หลักสูตรการสุขาภิบาลอาหารสำหรับผู้ประกอบกิจการด้านอาหาร หลักสูตรการสุขาภิบาลอาหารสำหรับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน (Food Inspector) สำหรับหลักสูตรผู้ตรวจสอบสุขาภิบาลอาหาร (Food Sanitation Inspector : FSI) เป็นหลักสูตรล่าสุดที่ได้ดำเนินการในครั้งนี้ เพื่อสร้างเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานสุขาภิบาลอาหารและน้ำแบบมืออาชีพ ให้สามารถควบคุม กำกับ และดำเนินการตรวจสอบให้การสุขาภิบาลมีมาตรฐานมีความสะอาด ปลอดภัย และคุ้มครองผู้บริโภค
นายแพทย์เจษฎา กล่าวต่อไปว่า หลักสูตรผู้ตรวจสอบสุขาภิบาลอาหาร (FSI) เป็นการสร้างความเข้มแข็งอย่างต่อเนื่องในการคุ้มครองความปลอดภัยของผู้บริโภคหรือ Food Safety โดยเน้น 2 เรื่องหลักคือ ด้านมาตรฐานความสะอาดของตลาดสด ร้านอาหารและแผงลอยทั่วประเทศ ซึ่งการดำเนินงานพบว่าตลาดสด น่าซื้อ ตั้งแต่ปี 2545 ทำให้ในปี 2555 ประเทศไทยมีตลาดสดประเภทที่ 1 คือตลาดที่มีโครงสร้าง ผ่านเกณฑ์มาตรฐานตลาดสด น่าซื้อ จำนวน 1,302 แห่ง แบ่งเป็นระดับดี 1,074 แห่ง และระดับดีมาก 228 แห่ง และในส่วนของตลาดนัด น่าซื้อ ที่ได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2552 นั้น จากการสุ่มตรวจสอบคุณภาพอาหารที่จำหน่ายในตลาดนัดเมื่อปี 2553 พบว่า มีการปนเปื้อนของสารเคมี ร้อยละ 16.3 และจุลินทรีย์ ร้อยละ 37.5 โดยสารเคมีที่ตรวจพบสูงสุดคือสารฟอกขาว รองลงมาคือ สารกันรา ฟอร์มาลิน และสารบอแรกซ์ ตามลำดับ ส่วนร้านอาหารและแผงลอยทั่วประเทศ จำนวน 165,693 แห่ง ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารสะอาดรสชาติอร่อย (Clean Food Good Taste) จำนวน 139,108 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 83.96
นายแพทย์เจษฎา กล่าวต่อว่า อด้านการคุ้มครองความปลอดภัยอาหารบริโภคนั้น กรมอนามัยได้มุ่งเน้นการตรวจหาการปนเปื้อนสารอันตรายต้องห้าม ได้แก่ สารเร่งเนื้อแดง สารบอแรกซ์ สารฟอกขาว สารกันรา ฟอร์มาลิน ยาฆ่าแมลง ตรวจน้ำมันทอดซ้ำ และการปนเปื้อนแบคทีเรียในน้ำแข็ง ซึ่งข้อมูลการตรวจสอบในปี 2554 จำนวนกว่า 140,000 ตัวอย่างจากทุกจังหวัดพบว่า ร้อยละ 96 ปลอดภัย พบการปนเปื้อนเกินมาตรฐาน 6,250 ตัวอย่างหรือร้อยละ 4 โดยพบน้ำบริโภคตกเกณฑ์มากที่สุด ร้อยละ 35 รองลงมาคือน้ำแข็งในร้านอาหารแผงลอย ร้อยละ 20 ส่วนประเภทผัก ผลไม้ พบมีการปนเปื้อนยาฆ่าแมลงร้อยละ 5 ซึ่งผักที่พบยาฆ่าแมลงตกค้างมากที่สุด ได้แก่ คะน้า กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก และต้นหอม
ทั้งนี้ หลักสูตรผู้ตรวจสอบสุขาภิบาลอาหาร (FSI) ถือเป็นการพัฒนาศักยภาพของเจ้าหน้าที่ในระดับจังหวัดและท้องถิ่นให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการเฝ้าระวังการปนเปื้อนของเชื้อโรคในอาหาร ภาชนะอุปกรณ์ และมือผู้สัมผัสอาหาร กรมอนามัยได้สนับสนุนให้ผู้ตรวจสอบสุขาภิบาลอาหาร (FSI) ใช้ชุดทดสอบโคลิฟอร์มแบคทีเรียขั้นต้น SI-2 ตรวจสอบ ซึ่งสามารถอ่านผลการตรวจวิเคราะห์ได้รวดเร็วภายใน 17 ชั่วโมง ส่วนการเฝ้าระวังการปนเปื้อนของสารเคมีในอาหารจะใช้ชุดทดสอบอาหารในการตรวจสอบ เช่น ชุดทดสอบบอแรกซ์ ฟอร์มาลีน สารกันรา สารฟอกขาว และยาฆ่าแมลง เพื่อให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวมั่นใจในการบริโภคอาหารที่สะอาด ปลอดภัย รองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)? อธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด
***
กลุ่มสื่อสารองค์กร / 17 มิถุนายน 2556
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พัฒนาหลักสูตรผู้ตรวจสอบสุขาภิบาลอาหาร (Food Sanitation Inspector : FSI) รับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Asean Economic Community) ในปี 2558 สร้างเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานสุขาภิบาลอาหารและน้ำแบบมืออาชีพตรวจสอบให้การสุขาภิบาลมีมาตรฐานมีความสะอาด ปลอดภัย และคุ้มครองผู้บริโภค ตอกย้ำความมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยว วันนี้ (17 มิถุนายน 2556) นายแพทย์เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า ในปี 2558 ประเทศไทยจะเข้าร่วมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Asean Economic Community) ซึ่งผู้ประกอบการด้านอาหารจะมีบทบาทสำคัญในการค้าขายอาหารให้กับชาวต่างชาติที่จะเข้ามาท่องเที่ยว กรมอนามัยจึงได้ดำเนินการพัฒนาหลักสูตรความปลอดภัยด้านอาหารและน้ำโดยดำเนินการแล้ว 3 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรการสุขาภิบาลอาหารสำหรับผู้สัมผัสอาหาร หลักสูตรการสุขาภิบาลอาหารสำหรับผู้ประกอบกิจการด้านอาหาร หลักสูตรการสุขาภิบาลอาหารสำหรับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน (Food Inspector) สำหรับหลักสูตรผู้ตรวจสอบสุขาภิบาลอาหาร (Food Sanitation Inspector : FSI) เป็นหลักสูตรล่าสุดที่ได้ดำเนินการในครั้งนี้ เพื่อสร้างเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานสุขาภิบาลอาหารและน้ำแบบมืออาชีพ ให้สามารถควบคุม กำกับ และดำเนินการตรวจสอบให้การสุขาภิบาลมีมาตรฐานมีความสะอาด ปลอดภัย และคุ้มครองผู้บริโภค นายแพทย์เจษฎา กล่าวต่อไปว่า หลักสูตรผู้ตรวจสอบสุขาภิบาลอาหาร (FSI) เป็นการสร้างความเข้มแข็งอย่างต่อเนื่องในการคุ้มครองความปลอดภัยของผู้บริโภคหรือ Food Safety โดยเน้น 2 เรื่องหลักคือ ด้านมาตรฐานความสะอาดของตลาดสด ร้านอาหารและแผงลอยทั่วประเทศ ซึ่งการดำเนินงานพบว่าตลาดสด น่าซื้อ ตั้งแต่ปี 2545 ทำให้ในปี 2555 ประเทศไทยมีตลาดสดประเภทที่ 1 คือตลาดที่มีโครงสร้าง ผ่านเกณฑ์มาตรฐานตลาดสด น่าซื้อ จำนวน 1,302 แห่ง แบ่งเป็นระดับดี 1,074 แห่ง และระดับดีมาก 228 แห่ง และในส่วนของตลาดนัด น่าซื้อ ที่ได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2552 นั้น จากการสุ่มตรวจสอบคุณภาพอาหารที่จำหน่ายในตลาดนัดเมื่อปี 2553 พบว่า มีการปนเปื้อนของสารเคมี ร้อยละ 16.3 และจุลินทรีย์ ร้อยละ 37.5 โดยสารเคมีที่ตรวจพบสูงสุดคือสารฟอกขาว รองลงมาคือ สารกันรา ฟอร์มาลิน และสารบอแรกซ์ ตามลำดับ ส่วนร้านอาหารและแผงลอยทั่วประเทศ จำนวน 165,693 แห่ง ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารสะอาดรสชาติอร่อย (Clean Food Good Taste) จำนวน 139,108 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 83.96 นายแพทย์เจษฎา กล่าวต่อว่า อด้านการคุ้มครองความปลอดภัยอาหารบริโภคนั้น กรมอนามัยได้มุ่งเน้นการตรวจหาการปนเปื้อนสารอันตรายต้องห้าม ได้แก่ สารเร่งเนื้อแดง สารบอแรกซ์ สารฟอกขาว สารกันรา ฟอร์มาลิน ยาฆ่าแมลง ตรวจน้ำมันทอดซ้ำ และการปนเปื้อนแบคทีเรียในน้ำแข็ง ซึ่งข้อมูลการตรวจสอบในปี 2554 จำนวนกว่า 140,000 ตัวอย่างจากทุกจังหวัดพบว่า ร้อยละ 96 ปลอดภัย พบการปนเปื้อนเกินมาตรฐาน 6,250 ตัวอย่างหรือร้อยละ 4 โดยพบน้ำบริโภคตกเกณฑ์มากที่สุด ร้อยละ 35 รองลงมาคือน้ำแข็งในร้านอาหารแผงลอย ร้อยละ 20 ส่วนประเภทผัก ผลไม้ พบมีการปนเปื้อนยาฆ่าแมลงร้อยละ 5 ซึ่งผักที่พบยาฆ่าแมลงตกค้างมากที่สุด ได้แก่ คะน้า กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก และต้นหอม \\ทั้งนี้ หลักสูตรผู้ตรวจสอบสุขาภิบาลอาหาร (FSI) ถือเป็นการพัฒนาศักยภาพของเจ้าหน้าที่ในระดับจังหวัดและท้องถิ่นให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการเฝ้าระวังการปนเปื้อนของเชื้อโรคในอาหาร ภาชนะอุปกรณ์ และมือผู้สัมผัสอาหาร กรมอนามัยได้สนับสนุนให้ผู้ตรวจสอบสุขาภิบาลอาหาร (FSI) ใช้ชุดทดสอบโคลิฟอร์มแบคทีเรียขั้นต้น SI-2 ตรวจสอบ ซึ่งสามารถอ่านผลการตรวจวิเคราะห์ได้รวดเร็วภายใน 17 ชั่วโมง ส่วนการเฝ้าระวังการปนเปื้อนของสารเคมีในอาหารจะใช้ชุดทดสอบอาหารในการตรวจสอบ เช่น ชุดทดสอบบอแรกซ์ ฟอร์มาลีน สารกันรา สารฟอกขาว และยาฆ่าแมลง เพื่อให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวมั่นใจในการบริโภคอาหารที่สะอาด ปลอดภัย รองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) อธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด *** กลุ่มสื่อสารองค์กร / 17 มิถุนายน 2556