คุณกำลังมองหาอะไร?

รมอนามัย นำทัพสื่อลงพื้นที่ภูเก็ต เกาะติดส้วม ตามแผนแม่บทพัฒนาส้วมสาธารณะไทย ระยะที่ 3 พร้อมเยี่ยมชมคลินิกไร้พุง DPAC ในโรงเรียน

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

11.06.2556
1
0
แชร์
11
มิถุนายน
2556

กรมอนามัย นำทัพสื่อลงพื้นที่ภูเก็ต เกาะติดส้วม ตามแผนแม่บทพัฒนาส้วมสาธารณะไทย ระยะที่ 3 พร้อมเยี่ยมชมคลินิกไร้พุง DPAC ในโรงเรียน

        กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข นำคณะสื่อมวลชนร่วมติดตามการพัฒนาส้วมสาธารณะไทยในแหล่งท่องเที่ยว รับแผนแม่บทพัฒนาส้วมสาธารณะไทยระยะที่ 3 (พ.ศ.2556-2559) หวังให้มีส้วมนั่งราบได้มาตรฐาน HAS เพื่อสร้างสุขอนามัยที่ดีให้ผู้ใช้บริการ พร้อมลงพื้นที่เยี่ยมชมคลินิกไร้พุง DPAC ในโรงเรียน ลดปัญหาทุพโภชนาการในนักเรียน        
        วันนี้ (7 มิถุนายน 2556) นายแพทย์เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยภายหลังนำคณะสื่อมวลชนเยี่ยมชมการดำเนินงานพัฒนาส้วมสาธารณะไทย ณ จังหวัดภูเก็ต ว่า มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2556 ได้เห็นชอบแผนแม่บทพัฒนาส้วมสาธารณะไทยระยะที่ 3 (พ.ศ.2556-2559) เพื่อส่งเสริมให้ครัวเรือนมีและใช้ส้วม นั่งราบ หรืออุปกรณ์ช่วยสำหรับผู้สูงอายุและผู้มีปัญหาข้อเข่าร้อยละ 90 และส้วมสาธารณะ 12 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ สถานศึกษา สถานที่ราชการ โรงพยาบาล ศาสนสถาน สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง แหล่งท่องเที่ยว สวนสาธารณะ ห้างสรรพสินค้า/ศูนย์การค้า ร้านจำหน่ายอาหาร ตลาดสด สถานีขนส่งทางบก/ทางอากาศ และส้วมสาธารณะริมทาง มีบริการส้วมนั่งราบอย่างน้อย 1 ที่ ร้อยละ 100 ภายในปี 2559 โดยเฉพาะจังหวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่รู้จักไปทั่วโลกอย่างจังหวัดภูเก็ต จำเป็นที่จะต้องพัฒนาส้วมสาธารณะให้ได้มาตรฐาน HAS คือ สะอาด (Health) เพียงพอ (Accessibility) และปลอดภัย (Safety) ให้สอดรับกับแผนแม่บทดังกล่าวด้วย
        นายแพทย์เจษฎา กล่าวต่อไปว่า เหตุผลที่ต้องสนับสนุนให้ประชาชนมีและใช้ส้วมนั่งราบ เนื่องจากขณะนี้ประเทศไทยได้ก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จากร้อยละ 11.7 (7.5 ล้านคน) ในปี 2553 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 20 (14.5 ล้านคน) ในปี 2568 และคาดว่าในปี 2573 จะมีจำนวนผู้สูงอายุมากถึง 1 ใน 4 ของประชากรไทย สุขภาพของผู้สูงอายุจึงเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญ โดยเฉพาะโรคข้อเข่าเสื่อมเป็นโรคที่พบมากที่สุด โรคหนึ่งในกลุ่มผู้สูงอายุหรือในวัยกลางคน ทั้งผู้หญิงและผู้ชายที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป ซึ่งจากสถิติผู้ป่วยโรคกระดูกและข้อในไทยของมูลนิธิโรคข้อพบว่า ปี 2549 ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคข้อเสื่อมกว่า 6 ล้านคน และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นทุกปี ปัจจัยเสี่ยงมาจากอายุที่มากขึ้น น้ำหนักตัวที่มากเกินไป และการได้รับบาดเจ็บบริเวณข้อเข่า รวมไปถึงการใช้ ส้วมนั่งยองติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ๆ หลายปี ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ข้อเข่าเสื่อมเร็ว เนื่องจากพฤติกรรมการขับถ่ายของคนไทยส่วนใหญ่นิยมใช้ส้วมนั่งยองถึงร้อยละ 86 ในขณะที่ส้วมนั่งราบมีเพียงร้อยละ 10.1 และมีบ้านที่ใช้ ส้วมนั่งยองและส้วมนั่งราบร้อยละ 3.1 ของครัวเรือนทั้งหมดในปี 2553
        นายแพทย์เจษฎา กล่าวต่อว่า การพัฒนาส้วมสาธารณะไทยให้เป็นส้วมนั่งราบหรือส้วมห้อยขาจึงเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งครอบคลุมไปยังศูนย์เด็กเล็กที่ถือเป็นการสร้างพฤติกรรมสุขภาพดีให้กับเด็ก ดังเช่นศูนย์เด็กเล็กกมลา จังหวัดภูเก็ต หนึ่งในพื้นที่ของการเยี่ยมชมในครั้งนี้ ที่นอกจากจะให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมพัฒนาการเด็กในทุก ๆ ด้านแล้ว ยังให้ความสำคัญต่อการพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการมีสุขภาพดี มีส้วมนั่งราบที่เหมาะกับสรีระของเด็ก พร้อมทั้งปลูกฝังพฤติกรรมการใช้ส้วมที่ถูกต้องให้กับเด็ก โดยไม่ใช้เท้าเหยียบลงบนที่นั่งหรือขึ้นไปเหยียบบนโถส้วม ไม่ทิ้งวัสดุอื่นนอกจากกระดาษชำระลงโถส้วม และล้างมือให้สะอาดหลังการใช้ส้วมทุกครั้ง เพื่อสร้างสุขอนามัยที่ดีให้กับตนเอง
        นอกจากนี้ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาส้วมสาธารณะไทยในจังหวัดภูเก็ตให้มากขึ้น รองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 กรมอนามัยยังได้ร่วมกับจังหวัดภูเก็ต สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เทศบาลนคร เทศบาลเมืองกระทู้ เทศบาลตำบลเทพกษัตรี นายกสมาคมโรงแรมไทยภาคใต้ และสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาภูเก็ต ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อพัฒนาส้วมสาธารณะจังหวัดภูเก็ตสู่มาตรฐานสากล (HAS) อันจะส่งผลดีต่อนักท่องเที่ยวทุกกลุ่มวัยในการใช้บริการส้วมสาธารณะในจังหวัดภูเก็ตอีกด้วย? อธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุดในช่วงบ่ายวันเดียวกัน  
        นายแพทย์เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมอนามัย ได้นำคณะสื่อมวลชนเยี่ยมชมการดำเนินงานคลินิกคนไทยไร้พุง หรือ DPAC (Diet & Physical Activity Clinic) ณ โรงเรียนเทศบาลบ้านบางเหนียว จังหวัดภูเก็ต พร้อมเปิดเผยว่า จากข้อมูลพื้นฐานของสำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ปี 2554 พบว่า เด็กไทยสัดส่วนไม่ได้มาตรฐาน จำนวน 1.2 ล้านคน จำแนกเป็นน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์จำนวน 223,288 คน และส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 258,149 คน ซึ่งปัญหาดังกล่าวส่งผลกระทบต่อโครงสร้างร่างกายทำให้เด็กตัวเล็ก ผอม เตี้ย สมองไม่พัฒนาอย่างเต็มที่ ทำให้สติปัญญาด้อย เรียนรู้ช้า ภูมิต้านทานโรคต่ำ ติดเชื้อได้ง่าย หากพบใน เด็กแรกเกิดถึง 5 ปี และมีการเจ็บป่วยร่วมด้วยเป็นระยะเวลานาน อาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ ซึ่งสาเหตุสำคัญส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมทางอาหารและโภชนาการที่ไม่ถูกต้องเหมาะสม รวมทั้งขาดการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจากการสำรวจโภชนาการเด็กไทยพบว่าเด็กกินผักเพียงวันละ 1.5 ช้อนโต๊ะ ทั้ง ๆ ที่ควรกินไม่ต่ำกว่าวันละ 12 ช้อนโต๊ะ ส่งผลให้เด็กไทยมีปัญหาภาวะทุพโภชนาการทั้งขาดและเกิน โดยคาดว่าในปี 2558 ความชุกของโรคอ้วนในเด็กไทยสูงถึง 1 ใน 5 ของเด็กวัยก่อนเรียน และ 1 ใน 10 ของเด็กวัยเรียนจะเป็นโรคอ้วน และเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังต่าง ๆ ตามมา เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจและหลอดเลือด เป็นต้น นายแพทย์เจษฎา กล่าวต่อไปว่า การดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนเทศบาลบ้านบางเหนียว ที่ได้ศึกษาดูงานในครั้งนี้ เป็นอีกหนึ่งโรงเรียนที่มีเป้าหมายให้นักเรียนเป็นผู้มีสุขภาพดี จัดสภาพแวดล้อมในโรงเรียนให้เอื้อต่อการมีสุขภาพดี มีนโยบายด้านส่งเสริมสุขภาพ อาทิ เป็นศูนย์กลางการส่งเสริมการออกกำลังกาย เพื่อสุขภาพของนักเรียนและชุมชน ส่งเสริมด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาสุขภาพ และส่งเสริมสุขอนามัยด้านสุขาน่าใช้ เพื่อลดปัญหาสุขภาพของนักเรียน
        ที่สำคัญมีการดำเนินงานคลินิกคนไทยไร้พุง หรือ DPAC เพื่อลดปัญหาทุพโภชนาการในเด็กนักเรียน เพราะจากการเฝ้าระวังภาวะสุขภาพของนักเรียน ปี 2555 จำนวน 1,190 คน โดยกองการแพทย์ เทศบาลนครภูเก็ต พบเด็กนักเรียนมีปัญหาภาวะทุพโภชนาการ ร้อยละ 24.87 โรงเรียนจึงมุ่งดำเนินงานแก้ไขปัญหาภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน เพื่อลดความชุกของโรคอ้วนในรักเรียน โดยมีและใช้มาตรการ 5 ดาว ป้องกันเด็กอ้วน ด้วยการส่งเสริมการจัดอาหารกลางวัน อาหารว่างในโรงเรียนให้กินผลไม้แทนของหวาน ดื่มน้ำเปล่า บูรณาการเรื่องโภชนาการในหลักสูตร เร่งรัด การจัดสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้ปลอดจากการโฆษณาอาหารขยะ เร่งรัดการจัดระเบียบผู้ค้าแผงลอยทั้งในและ หน้าโรงเรียน และส่งเสริมการออกกำลังกายในโรงเรียนเป็นเวลา 15 นาทีทุกวัน รวมทั้งจัดทำบันทึกข้อตกลง (MOU) เพื่อป้องกันโรคอ้วนกับ 6 ภาคี ได้แก่ เด็ก ผู้ปกครอง ผู้บริหารโรงเรียน ครู แผงลอย และสื่อมวลชน? อธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด
 
***
กลุ่มสื่อสารองค์กร / 7 มิถุนายน 2556
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข นำคณะสื่อมวลชนร่วมติดตามการพัฒนาส้วมสาธารณะไทยในแหล่งท่องเที่ยว รับแผนแม่บทพัฒนาส้วมสาธารณะไทยระยะที่ 3 (พ.ศ.2556-2559) หวังให้มีส้วมนั่งราบได้มาตรฐาน HAS เพื่อสร้างสุขอนามัยที่ดีให้ผู้ใช้บริการ พร้อมลงพื้นที่เยี่ยมชมคลินิกไร้พุง DPAC ในโรงเรียน ลดปัญหาทุพโภชนาการในนักเรียน วันนี้ (7 มิถุนายน 2556) นายแพทย์เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยภายหลังนำคณะสื่อมวลชนเยี่ยมชมการดำเนินงานพัฒนาส้วมสาธารณะไทย ณ จังหวัดภูเก็ต ว่า มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2556 ได้เห็นชอบแผนแม่บทพัฒนาส้วมสาธารณะไทยระยะที่ 3 (พ.ศ.2556-2559) เพื่อส่งเสริมให้ครัวเรือนมีและใช้ส้วม นั่งราบ หรืออุปกรณ์ช่วยสำหรับผู้สูงอายุและผู้มีปัญหาข้อเข่าร้อยละ 90 และส้วมสาธารณะ 12 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ สถานศึกษา สถานที่ราชการ โรงพยาบาล ศาสนสถาน สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง แหล่งท่องเที่ยว สวนสาธารณะ ห้างสรรพสินค้า/ศูนย์การค้า ร้านจำหน่ายอาหาร ตลาดสด สถานีขนส่งทางบก/ทางอากาศ และส้วมสาธารณะริมทาง มีบริการส้วมนั่งราบอย่างน้อย 1 ที่ ร้อยละ 100 ภายในปี 2559 โดยเฉพาะจังหวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่รู้จักไปทั่วโลกอย่างจังหวัดภูเก็ต จำเป็นที่จะต้องพัฒนาส้วมสาธารณะให้ได้มาตรฐาน HAS คือ สะอาด (Health) เพียงพอ (Accessibility) และปลอดภัย (Safety) ให้สอดรับกับแผนแม่บทดังกล่าวด้วย นายแพทย์เจษฎา กล่าวต่อไปว่า เหตุผลที่ต้องสนับสนุนให้ประชาชนมีและใช้ส้วมนั่งราบ เนื่องจากขณะนี้ประเทศไทยได้ก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จากร้อยละ 11.7 (7.5 ล้านคน) ในปี 2553 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 20 (14.5 ล้านคน) ในปี 2568 และคาดว่าในปี 2573 จะมีจำนวนผู้สูงอายุมากถึง 1 ใน 4 ของประชากรไทย สุขภาพของผู้สูงอายุจึงเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญ โดยเฉพาะโรคข้อเข่าเสื่อมเป็นโรคที่พบมากที่สุด โรคหนึ่งในกลุ่มผู้สูงอายุหรือในวัยกลางคน ทั้งผู้หญิงและผู้ชายที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป ซึ่งจากสถิติผู้ป่วยโรคกระดูกและข้อในไทยของมูลนิธิโรคข้อพบว่า ปี 2549 ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคข้อเสื่อมกว่า 6 ล้านคน และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นทุกปี ปัจจัยเสี่ยงมาจากอายุที่มากขึ้น น้ำหนักตัวที่มากเกินไป และการได้รับบาดเจ็บบริเวณข้อเข่า รวมไปถึงการใช้ ส้วมนั่งยองติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ๆ หลายปี ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ข้อเข่าเสื่อมเร็ว เนื่องจากพฤติกรรมการขับถ่ายของคนไทยส่วนใหญ่นิยมใช้ส้วมนั่งยองถึงร้อยละ 86 ในขณะที่ส้วมนั่งราบมีเพียงร้อยละ 10.1 และมีบ้านที่ใช้ ส้วมนั่งยองและส้วมนั่งราบร้อยละ 3.1 ของครัวเรือนทั้งหมดในปี 2553 นายแพทย์เจษฎา กล่าวต่อว่า การพัฒนาส้วมสาธารณะไทยให้เป็นส้วมนั่งราบหรือส้วมห้อยขาจึงเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งครอบคลุมไปยังศูนย์เด็กเล็กที่ถือเป็นการสร้างพฤติกรรมสุขภาพดีให้กับเด็ก ดังเช่นศูนย์เด็กเล็กกมลา จังหวัดภูเก็ต หนึ่งในพื้นที่ของการเยี่ยมชมในครั้งนี้ ที่นอกจากจะให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมพัฒนาการเด็กในทุก ๆ ด้านแล้ว ยังให้ความสำคัญต่อการพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการมีสุขภาพดี มีส้วมนั่งราบที่เหมาะกับสรีระของเด็ก พร้อมทั้งปลูกฝังพฤติกรรมการใช้ส้วมที่ถูกต้องให้กับเด็ก โดยไม่ใช้เท้าเหยียบลงบนที่นั่งหรือขึ้นไปเหยียบบนโถส้วม ไม่ทิ้งวัสดุอื่นนอกจากกระดาษชำระลงโถส้วม และล้างมือให้สะอาดหลังการใช้ส้วมทุกครั้ง เพื่อสร้างสุขอนามัยที่ดีให้กับตนเอง \\นอกจากนี้ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาส้วมสาธารณะไทยในจังหวัดภูเก็ตให้มากขึ้น รองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 กรมอนามัยยังได้ร่วมกับจังหวัดภูเก็ต สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เทศบาลนคร เทศบาลเมืองกระทู้ เทศบาลตำบลเทพกษัตรี นายกสมาคมโรงแรมไทยภาคใต้ และสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาภูเก็ต ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อพัฒนาส้วมสาธารณะจังหวัดภูเก็ตสู่มาตรฐานสากล (HAS) อันจะส่งผลดีต่อนักท่องเที่ยวทุกกลุ่มวัยในการใช้บริการส้วมสาธารณะในจังหวัดภูเก็ตอีกด้วย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุดในช่วงบ่ายวันเดียวกัน นายแพทย์เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมอนามัย ได้นำคณะสื่อมวลชนเยี่ยมชมการดำเนินงานคลินิกคนไทยไร้พุง หรือ DPAC (Diet & Physical Activity Clinic) ณ โรงเรียนเทศบาลบ้านบางเหนียว จังหวัดภูเก็ต พร้อมเปิดเผยว่า จากข้อมูลพื้นฐานของสำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ปี 2554 พบว่า เด็กไทยสัดส่วนไม่ได้มาตรฐาน จำนวน 1.2 ล้านคน จำแนกเป็นน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์จำนวน 223,288 คน และส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 258,149 คน ซึ่งปัญหาดังกล่าวส่งผลกระทบต่อโครงสร้างร่างกายทำให้เด็กตัวเล็ก ผอม เตี้ย สมองไม่พัฒนาอย่างเต็มที่ ทำให้สติปัญญาด้อย เรียนรู้ช้า ภูมิต้านทานโรคต่ำ ติดเชื้อได้ง่าย หากพบใน เด็กแรกเกิดถึง 5 ปี และมีการเจ็บป่วยร่วมด้วยเป็นระยะเวลานาน อาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ ซึ่งสาเหตุสำคัญส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมทางอาหารและโภชนาการที่ไม่ถูกต้องเหมาะสม รวมทั้งขาดการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจากการสำรวจโภชนาการเด็กไทยพบว่าเด็กกินผักเพียงวันละ 1.5 ช้อนโต๊ะ ทั้ง ๆ ที่ควรกินไม่ต่ำกว่าวันละ 12 ช้อนโต๊ะ ส่งผลให้เด็กไทยมีปัญหาภาวะทุพโภชนาการทั้งขาดและเกิน โดยคาดว่าในปี 2558 ความชุกของโรคอ้วนในเด็กไทยสูงถึง 1 ใน 5 ของเด็กวัยก่อนเรียน และ 1 ใน 10 ของเด็กวัยเรียนจะเป็นโรคอ้วน และเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังต่าง ๆ ตามมา เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจและหลอดเลือด เป็นต้น นายแพทย์เจษฎา กล่าวต่อไปว่า การดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนเทศบาลบ้านบางเหนียว ที่ได้ศึกษาดูงานในครั้งนี้ เป็นอีกหนึ่งโรงเรียนที่มีเป้าหมายให้นักเรียนเป็นผู้มีสุขภาพดี จัดสภาพแวดล้อมในโรงเรียนให้เอื้อต่อการมีสุขภาพดี มีนโยบายด้านส่งเสริมสุขภาพ อาทิ เป็นศูนย์กลางการส่งเสริมการออกกำลังกาย เพื่อสุขภาพของนักเรียนและชุมชน ส่งเสริมด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาสุขภาพ และส่งเสริมสุขอนามัยด้านสุขาน่าใช้ เพื่อลดปัญหาสุขภาพของนักเรียน \\ที่สำคัญมีการดำเนินงานคลินิกคนไทยไร้พุง หรือ DPAC เพื่อลดปัญหาทุพโภชนาการในเด็กนักเรียน เพราะจากการเฝ้าระวังภาวะสุขภาพของนักเรียน ปี 2555 จำนวน 1,190 คน โดยกองการแพทย์ เทศบาลนครภูเก็ต พบเด็กนักเรียนมีปัญหาภาวะทุพโภชนาการ ร้อยละ 24.87 โรงเรียนจึงมุ่งดำเนินงานแก้ไขปัญหาภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน เพื่อลดความชุกของโรคอ้วนในรักเรียน โดยมีและใช้มาตรการ 5 ดาว ป้องกันเด็กอ้วน ด้วยการส่งเสริมการจัดอาหารกลางวัน อาหารว่างในโรงเรียนให้กินผลไม้แทนของหวาน ดื่มน้ำเปล่า บูรณาการเรื่องโภชนาการในหลักสูตร เร่งรัด การจัดสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้ปลอดจากการโฆษณาอาหารขยะ เร่งรัดการจัดระเบียบผู้ค้าแผงลอยทั้งในและ หน้าโรงเรียน และส่งเสริมการออกกำลังกายในโรงเรียนเป็นเวลา 15 นาทีทุกวัน รวมทั้งจัดทำบันทึกข้อตกลง (MOU) เพื่อป้องกันโรคอ้วนกับ 6 ภาคี ได้แก่ เด็ก ผู้ปกครอง ผู้บริหารโรงเรียน ครู แผงลอย และสื่อมวลชน อธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด *** กลุ่มสื่อสารองค์กร / 7 มิถุนายน 2556

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน

ติดตามข่าวสารได้ที่

แทงบอลออนไลน์ || ดูบอลสด