กรมอนามัย ต่อยอดโครงการ CTOP สู่ LTOP เล็งต.บางสีทอง-เขตดินแดง เป็นต้นแบบการดูแลผู้สูงอายุแบบพึ่งพิง
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข จัดประชุมเวทีประชาคมชี้แจงการดำเนินงานโครงการ LTOP พัฒนาศักยภาพผู้ดูแลผู้สูงอายุ และผู้เกี่ยวข้องในชุมชน หวังเป็นเวทีสำคัญในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พัฒนาศักยภาพผู้ดูแลผู้สูงอายุ เพื่อเตรียมความพร้อมสู่การเปลี่ยนแปลงของสังคมผู้สูงอายุ
วันนี้ (29 พฤษภาคม 2556) นายจรัญ จักรวาลชัยศรี นักวิชาการสาธารณสุขทรงคุณวุฒิ (ด้านส่งเสริมสุขภาพ) เปิดเผยภายหลังเปิดการประชุมเวทีประชาคมชี้แจงการดำเนินงานโครงการ LTOP พัฒนาศักยภาพผู้ดูแลผู้สูงอายุ และผู้เกี่ยวข้องในชุมชน ณ ห้องประชุมนครนนท์ โรงแรมเดอะริช จังหวัดนนทบุรี ว่า จากการที่สังคมไทยได้ก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ นั่นหมายถึงประชากรผู้สูงอายุของประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจาก 7.0 ล้านคน หรือร้อยละ 10.7 ในปี 2550 เป็น 7.5 ล้านคน หรือร้อยละ 11.7 ในปี 2553 และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 14.5 ล้านคน หรือร้อยละ 20 ในปี 2568 เมื่อมองถึงสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุเพิ่มสูงขึ้นเป็นลำดับเช่นกัน โดยในปี 2550 ประมาณ 1 ใน 10 ของประชากรไทยเป็นผู้สูงอายุ และในปี 2553 สัดส่วนดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็น 1 ใน 4 ในขณะที่แนวโน้มผู้สูงอายุอยู่คนเดียว หรืออยู่ลำพังกับคู่สมรสเพิ่ม มากขึ้น โดยพบว่าผู้สูงอายุอยู่คนเดียวเพิ่มจากร้อยละ 3.6 ในปี 2537 เป็น 7.6 ในปี 2550 ซึ่งอายุยิ่งเพิ่มขึ้น จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน หรือไขมันในเลือดสูง มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น มีภาวการณ์พึ่งพา ต้องการการดูแลอย่างต่อเนื่อง และการดูแลระยะยาว อีกทั้งปัญหาด้านการมองเห็น มีผู้สูงอายุเพียง 1 ใน 4 ที่มองเห็นชัดเจน ปัญหาด้านการบดเคี้ยวอาหารและสุขภาพช่องปาก เกือบครึ่งหนึ่งของผู้สูงอายุ ร้อยละ 48.6 มีฟันแท้เหลือน้อยกว่า 20 ซี่ ซึ่งมีผลต่อการให้การดูแลทั้งร่างกายและจิตใจ
นายแพทย์เอกชัย เพียรศรีวัชรา โฆษกกรมอนามัย กล่าวว่า การเตรียมการเพื่อรองรับสภาพปัญหาของผู้สูงอายุจึงเป็นประเด็นที่สำคัญ จึงได้มีการดำเนินงานโครงการพัฒนารูปแบบ ระบบบริการสังคมเชิงบูรณาการ โดยชุมชนสำหรับผู้สูงอายุ ในประเทศไทย พ.ศ. 2550 - 2554 (CTOP) ในระยะที่ 1 และระยะที่ 2 โครงการพัฒนารูปแบบบริการระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพิง รวมทั้งกลุ่มอายุอื่น ที่ต้องการความช่วยเหลือ ในชีวิตประจำวัน(LTOP) มีระยะเวลาดำเนินงาน 5 ปี (ตุลาคม 2556 ? สิงหาคม 2560 ) ซึ่งเป็นโครงการพัฒนาต่อยอดจากโครงการ CTOP เดิมเพื่อพัฒนาปรับปรุงให้ดีขึ้น โดยเฉพาะการดูแลผู้สูงอายุกลุ่มพึ่งพิง (Long Term Care) และรูปแบบการดูแลผู้สูงอายุในเขตเมือง โดยให้เขตพื้นที่จังหวัดนนทบุรี คือตำบลบางสีทอง และ กรุงเทพมหานครในพื้นที่เขตดินแดง ดำเนินงานพัฒนาและขยายผลการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ และต่อเนื่องในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน โดยเฉพาะผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน ติดเตียงให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี
จังหวัดนนทบุรีมีประชากรผู้สูงอายุทั้งหมด 115,045 คน คิดเป็น ร้อยละ 11.4 ของประชากรทั้งหมดของจังหวัดนนทบุรี ดังนั้น จึงต้องมีการเตรียมความพร้อมประชากรให้เป็นคนสูงวัยที่มีคุณภาพ รวมทั้งพัฒนาระบบบริการต่างๆ ให้เหมาะสม เนื่องจากวัยสูงอายุเป็นวัยที่เกิดปัญหาสุขภาพ มีการเจ็บป่วยเรื้อรังเพิ่มมากขึ้นและมีค่าใช้จ่ายสูงในการดูแลปัญหาสุขภาพ อีกทั้งปัญหาขาดผู้ดูแลยามเจ็บป่วย การให้ผู้สูงอายุมีชีวิตยืนยาวอย่างมีคุณภาพ จึงต้องมีการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในผู้สูงอายุที่ยังมีสุขภาพดี ให้มีสุขภาพแข็งแรง เพื่อยืดเวลาที่จะเกิดการเจ็บป่วยเรื้อรังออกไป และในผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยให้หาย หรือทุเลาจากการป่วย ลดการเกิดความพิการ หรือทุพพลภาพและยืดเวลาของการเข้าสู่ภาวะทุพพลภาพ การเตรียมการเพื่อรองรับสภาพปัญหาของผู้สูงอายุ จึงมีความจำเป็นโดยการสร้างความมั่นคง ของระบบบริการด้านสุขภาพ และสวัสดิการสังคม สร้างความตระหนักถึงความรับผิดชอบ และบูรณาการร่วมกันของทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน สังคม ครอบครัวและชุมชนซึ่งจะทำให้เกิดรูปแบบที่เหมาะสม กับการดำเนินงานดูแลสุขภาพระยะยาวของผู้สูงอายุไทย และพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวได้อย่างเหมาะสม
***
กลุ่มสื่อสารองค์กร / 29 พฤษภาคม 2556
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข จัดประชุมเวทีประชาคมชี้แจงการดำเนินงานโครงการ LTOP พัฒนาศักยภาพผู้ดูแลผู้สูงอายุ และผู้เกี่ยวข้องในชุมชน หวังเป็นเวทีสำคัญในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พัฒนาศักยภาพผู้ดูแลผู้สูงอายุ เพื่อเตรียมความพร้อมสู่การเปลี่ยนแปลงของสังคมผู้สูงอายุ วันนี้ (29 พฤษภาคม 2556) นายจรัญ จักรวาลชัยศรี นักวิชาการสาธารณสุขทรงคุณวุฒิ (ด้านส่งเสริมสุขภาพ) เปิดเผยภายหลังเปิดการประชุมเวทีประชาคมชี้แจงการดำเนินงานโครงการ LTOP พัฒนาศักยภาพผู้ดูแลผู้สูงอายุ และผู้เกี่ยวข้องในชุมชน ณ ห้องประชุมนครนนท์ โรงแรมเดอะริช จังหวัดนนทบุรี ว่า จากการที่สังคมไทยได้ก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ นั่นหมายถึงประชากรผู้สูงอายุของประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจาก 7.0 ล้านคน หรือร้อยละ 10.7 ในปี 2550 เป็น 7.5 ล้านคน หรือร้อยละ 11.7 ในปี 2553 และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 14.5 ล้านคน หรือร้อยละ 20 ในปี 2568 เมื่อมองถึงสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุเพิ่มสูงขึ้นเป็นลำดับเช่นกัน โดยในปี 2550 ประมาณ 1 ใน 10 ของประชากรไทยเป็นผู้สูงอายุ และในปี 2553 สัดส่วนดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็น 1 ใน 4 ในขณะที่แนวโน้มผู้สูงอายุอยู่คนเดียว หรืออยู่ลำพังกับคู่สมรสเพิ่ม มากขึ้น โดยพบว่าผู้สูงอายุอยู่คนเดียวเพิ่มจากร้อยละ 3.6 ในปี 2537 เป็น 7.6 ในปี 2550 ซึ่งอายุยิ่งเพิ่มขึ้น จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน หรือไขมันในเลือดสูง มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น มีภาวการณ์พึ่งพา ต้องการการดูแลอย่างต่อเนื่อง และการดูแลระยะยาว อีกทั้งปัญหาด้านการมองเห็น มีผู้สูงอายุเพียง 1 ใน 4 ที่มองเห็นชัดเจน ปัญหาด้านการบดเคี้ยวอาหารและสุขภาพช่องปาก เกือบครึ่งหนึ่งของผู้สูงอายุ ร้อยละ 48.6 มีฟันแท้เหลือน้อยกว่า 20 ซี่ ซึ่งมีผลต่อการให้การดูแลทั้งร่างกายและจิตใจ นายแพทย์เอกชัย เพียรศรีวัชรา โฆษกกรมอนามัย กล่าวว่า การเตรียมการเพื่อรองรับสภาพปัญหาของผู้สูงอายุจึงเป็นประเด็นที่สำคัญ จึงได้มีการดำเนินงานโครงการพัฒนารูปแบบ ระบบบริการสังคมเชิงบูรณาการ โดยชุมชนสำหรับผู้สูงอายุ ในประเทศไทย พ.ศ. 2550 - 2554 (CTOP) ในระยะที่ 1 และระยะที่ 2 โครงการพัฒนารูปแบบบริการระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพิง รวมทั้งกลุ่มอายุอื่น ที่ต้องการความช่วยเหลือ ในชีวิตประจำวัน(LTOP) มีระยะเวลาดำเนินงาน 5 ปี (ตุลาคม 2556 สิงหาคม 2560 ) ซึ่งเป็นโครงการพัฒนาต่อยอดจากโครงการ CTOP เดิมเพื่อพัฒนาปรับปรุงให้ดีขึ้น โดยเฉพาะการดูแลผู้สูงอายุกลุ่มพึ่งพิง (Long Term Care) และรูปแบบการดูแลผู้สูงอายุในเขตเมือง โดยให้เขตพื้นที่จังหวัดนนทบุรี คือตำบลบางสีทอง และ กรุงเทพมหานครในพื้นที่เขตดินแดง ดำเนินงานพัฒนาและขยายผลการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ และต่อเนื่องในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน โดยเฉพาะผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน ติดเตียงให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี จังหวัดนนทบุรีมีประชากรผู้สูงอายุทั้งหมด 115,045 คน คิดเป็น ร้อยละ 11.4 ของประชากรทั้งหมดของจังหวัดนนทบุรี ดังนั้น จึงต้องมีการเตรียมความพร้อมประชากรให้เป็นคนสูงวัยที่มีคุณภาพ รวมทั้งพัฒนาระบบบริการต่างๆ ให้เหมาะสม เนื่องจากวัยสูงอายุเป็นวัยที่เกิดปัญหาสุขภาพ มีการเจ็บป่วยเรื้อรังเพิ่มมากขึ้นและมีค่าใช้จ่ายสูงในการดูแลปัญหาสุขภาพ อีกทั้งปัญหาขาดผู้ดูแลยามเจ็บป่วย การให้ผู้สูงอายุมีชีวิตยืนยาวอย่างมีคุณภาพ จึงต้องมีการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในผู้สูงอายุที่ยังมีสุขภาพดี ให้มีสุขภาพแข็งแรง เพื่อยืดเวลาที่จะเกิดการเจ็บป่วยเรื้อรังออกไป และในผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยให้หาย หรือทุเลาจากการป่วย ลดการเกิดความพิการ หรือทุพพลภาพและยืดเวลาของการเข้าสู่ภาวะทุพพลภาพ การเตรียมการเพื่อรองรับสภาพปัญหาของผู้สูงอายุ จึงมีความจำเป็นโดยการสร้างความมั่นคง ของระบบบริการด้านสุขภาพ และสวัสดิการสังคม สร้างความตระหนักถึงความรับผิดชอบ และบูรณาการร่วมกันของทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน สังคม ครอบครัวและชุมชนซึ่งจะทำให้เกิดรูปแบบที่เหมาะสม กับการดำเนินงานดูแลสุขภาพระยะยาวของผู้สูงอายุไทย และพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวได้อย่างเหมาะสม *** กลุ่มสื่อสารองค์กร / 29 พฤษภาคม 2556