ข่าวแจก "สธ. รุกรณรงค์ส่งเสริมอาหารปลอดภัย ครอบคลุม 4 ภาค มั่นใจเที่ยวสงกรานต์ปลอดโรค"
กระทรวงสาธารณสุข รุกรณรงค์ส่งเสริมอาหารปลอดภัย ครอบคลุมทั้ง 4 ภาค พร้อมพัฒนาตลาดสด น่าซื้อ และแผงลอยจำหน่ายอาหารให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานของกรมอนามัย ครั้งนี้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานด้านอาหารปลอดภัยเมืองปากน้ำโพ ประตูสู่ภาคเหนือเพื่อให้ประชาชนมั่นใจและปลอดภัยไร้โรคในช่วงเทศกาลสงกรานต์
วันนี้ (5 เมษายน 2556) นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยภายหลังการตรวจเยี่ยมตลาดศรีนคร อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ว่า จากนโยบายการคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อให้ประชาชนได้สินค้าที่สะอาด ปลอดภัย กระทรวงสาธารณสุขจึงจัดกิจกรรมรณรงค์ส่งเสริมอาหารปลอดภัยรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ทั้ง 4ภาค ได้แก่ ตลาดสดแม่เหียะ จังหวัดเชียงใหม่ ร้านส้มตำพันล้าน จังหวัดนครราชสีมา ตลาดสดสาธารณะ 1 (บ่านซ้าน) จังหวัดภูเก็ต ตลาดสดเสรี จังหวัดนครปฐม และในครั้งนี้ ตลาดสดศรีนคร จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งถือเป็นประตูแรกที่เข้าสู่ภาคเหนือจึงควรมีการเฝ้าระวังในเรื่องของความปลอดภัยด้านอาหารเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะผู้ประกอบการในตลาดสด ร้านอาหาร และแผงลอยจำหน่ายอาหารจะต้องมีความตระหนักด้านสุขลักษณะ ความสะอาด เช่น การใช้ที่คีบหยิบจับอาหารแทนมือ การแต่งกายต้องสะอาดโดยสวมหมวกคลุมผมและผ้ากันเปื้อน สำหรับผู้บริโภคก็ควรมีพฤติกรรมที่ถูกต้องและเหมาะสม เช่น ก่อนรับประทานอาหารหรือจับจ่ายใช้สอยในตลาด ต้องสังเกตป้ายตลาดสดน่าซื้อ และร้านอาหารสะอาด รสชาติอร่อย (Clean food Good Taste) เลือกรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่เสมอหรืออุ่นอาหารทุกครั้งก่อนนำมารับประทาน ก่อนและหลังรับประทานควรล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่
นายแพทย์ณัฐพร วงษ์ศุทธิภากร รองอธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า จังหวัดนครสวรรค์มีตลาดสด 14 แห่ง ผ่านเกณฑ์มาตรฐานตลาดสด น่าซื้อ จำนวน 12 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 85.71 แบ่งเป็นระดับดีมาก 4 แห่ง และระดับดี 8 แห่ง มีร้านอาหารและแผงลอย จำนวน 2,475 แผง ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน 2,233 แผง คิดเป็นร้อยละ 90.22 และจากการสุ่มตรวจเพื่อเฝ้าระวังแบคทีเรียในอาหาร ภาชนะ และมือผู้สัมผัสอาหารในร้านอาหาร แผงลอย พบว่า อาหารจำนวน 1,953
ตัวอย่าง ปนเปื้อน 149 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 7.63 ภาชนะจำนวน 1,503 ตัวอย่าง ปนเปื้อน 116 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 7.72 มือผู้สัมผัสอาหารจำนวน 835 ตัวอย่าง ปนเปื้อน 57 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 6.83 กรมอนามัยจึงได้แนะนำเรื่องการแยกเก็บอาหารดิบและอาหารปรุงสุกให้เป็นสัดส่วน แยกการใช้เขียงสำหรับหั่นผัก ผลไม้ อาหารดิบ อาหารปรุงสุก ล้างภาชนะให้สะอาดและล้างมือทุกครั้งก่อนและหลังปรุงประกอบอาหาร สำหรับในช่วงเทศกาลสงกรานต์เป็นช่วงหน้าร้อน ประชาชนควรใส่ใจในการบริโภคอาหารมากขึ้น ควรหลีกเลี่ยงอาหารสุกๆดิบๆ อาหารที่มีส่วนผสมของกะทิ และควรสังเกตสี กลิ่นก่อนรับประทานทุกครั้ง เพราะหากไม่ระมัดระวังอาจทำให้เกิดโรคระบบทางเดินอาหาร เช่น โรคอาหารเป็นพิษ โรคอุจจาระร่วง บิด ไทฟอยด์
นายแพทย์ชาญชัย พิณเมืองงาม ผู้อำนวยการศูนย์อนามัยที่ 8 นครสวรรค์ เปิดเผยว่า การเฝ้าระวังและยกระดับตลาดสดให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานตลาดสด น่าซื้อเป็นสิ่งที่กรมอนามัยให้ความสำคัญ ที่ผ่านมาศูนย์อนามัยที่ 8 ได้ดำเนินงานด้านอาหารปลอดภัยร่วมกับภาคีเครือข่าย อาทิ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชมรมผู้ประกอบการค้า เพื่อตรวจสอบและเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง สำหรับตลาดสดศรีนครเป็นตลาดที่ได้รับรางวัลตลาดสด น่าซื้อระดับดี เมื่อปี 2550 และระดับดีมากเมื่อปี 2553 จนถึงปัจจุบัน ถือว่าเป็นตลาดสดที่ชาวนครสวรรค์นิยมมาจับจ่ายใช้สอยเป็นจำนวนมาก
***
กลุ่มสื่อสารองค์กร / 5 เมษายน 2556
กระทรวงสาธารณสุข รุกรณรงค์ส่งเสริมอาหารปลอดภัย ครอบคลุมทั้ง 4 ภาค พร้อมพัฒนาตลาดสด น่าซื้อ และแผงลอยจำหน่ายอาหารให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานของกรมอนามัย ครั้งนี้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานด้านอาหารปลอดภัยเมืองปากน้ำโพ ประตูสู่ภาคเหนือเพื่อให้ประชาชนมั่นใจและปลอดภัยไร้โรคในช่วงเทศกาลสงกรานต์ วันนี้ (5 เมษายน 2556) นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยภายหลังการตรวจเยี่ยมตลาดศรีนคร อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ว่า จากนโยบายการคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อให้ประชาชนได้สินค้าที่สะอาด ปลอดภัย กระทรวงสาธารณสุขจึงจัดกิจกรรมรณรงค์ส่งเสริมอาหารปลอดภัยรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ทั้ง 4ภาค ได้แก่ ตลาดสดแม่เหียะ จังหวัดเชียงใหม่ ร้านส้มตำพันล้าน จังหวัดนครราชสีมา ตลาดสดสาธารณะ 1 (บ่านซ้าน) จังหวัดภูเก็ต ตลาดสดเสรี จังหวัดนครปฐม และในครั้งนี้ ตลาดสดศรีนคร จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งถือเป็นประตูแรกที่เข้าสู่ภาคเหนือจึงควรมีการเฝ้าระวังในเรื่องของความปลอดภัยด้านอาหารเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะผู้ประกอบการในตลาดสด ร้านอาหาร และแผงลอยจำหน่ายอาหารจะต้องมีความตระหนักด้านสุขลักษณะ ความสะอาด เช่น การใช้ที่คีบหยิบจับอาหารแทนมือ การแต่งกายต้องสะอาดโดยสวมหมวกคลุมผมและผ้ากันเปื้อน สำหรับผู้บริโภคก็ควรมีพฤติกรรมที่ถูกต้องและเหมาะสม เช่น ก่อนรับประทานอาหารหรือจับจ่ายใช้สอยในตลาด ต้องสังเกตป้ายตลาดสดน่าซื้อ และร้านอาหารสะอาด รสชาติอร่อย (Clean food Good Taste) เลือกรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่เสมอหรืออุ่นอาหารทุกครั้งก่อนนำมารับประทาน ก่อนและหลังรับประทานควรล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ นายแพทย์ณัฐพร วงษ์ศุทธิภากร รองอธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า จังหวัดนครสวรรค์มีตลาดสด 14 แห่ง ผ่านเกณฑ์มาตรฐานตลาดสด น่าซื้อ จำนวน 12 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 85.71 แบ่งเป็นระดับดีมาก 4 แห่ง และระดับดี 8 แห่ง มีร้านอาหารและแผงลอย จำนวน 2,475 แผง ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน 2,233 แผง คิดเป็นร้อยละ 90.22 และจากการสุ่มตรวจเพื่อเฝ้าระวังแบคทีเรียในอาหาร ภาชนะ และมือผู้สัมผัสอาหารในร้านอาหาร แผงลอย พบว่า อาหารจำนวน 1,953 ตัวอย่าง ปนเปื้อน 149 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 7.63 ภาชนะจำนวน 1,503 ตัวอย่าง ปนเปื้อน 116 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 7.72 มือผู้สัมผัสอาหารจำนวน 835 ตัวอย่าง ปนเปื้อน 57 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 6.83 กรมอนามัยจึงได้แนะนำเรื่องการแยกเก็บอาหารดิบและอาหารปรุงสุกให้เป็นสัดส่วน แยกการใช้เขียงสำหรับหั่นผัก ผลไม้ อาหารดิบ อาหารปรุงสุก ล้างภาชนะให้สะอาดและล้างมือทุกครั้งก่อนและหลังปรุงประกอบอาหาร สำหรับในช่วงเทศกาลสงกรานต์เป็นช่วงหน้าร้อน ประชาชนควรใส่ใจในการบริโภคอาหารมากขึ้น ควรหลีกเลี่ยงอาหารสุกๆดิบๆ อาหารที่มีส่วนผสมของกะทิ และควรสังเกตสี กลิ่นก่อนรับประทานทุกครั้ง เพราะหากไม่ระมัดระวังอาจทำให้เกิดโรคระบบทางเดินอาหาร เช่น โรคอาหารเป็นพิษ โรคอุจจาระร่วง บิด ไทฟอยด์\\ นายแพทย์ชาญชัย พิณเมืองงาม ผู้อำนวยการศูนย์อนามัยที่ 8 นครสวรรค์ เปิดเผยว่า การเฝ้าระวังและยกระดับตลาดสดให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานตลาดสด น่าซื้อเป็นสิ่งที่กรมอนามัยให้ความสำคัญ ที่ผ่านมาศูนย์อนามัยที่ 8 ได้ดำเนินงานด้านอาหารปลอดภัยร่วมกับภาคีเครือข่าย อาทิ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชมรมผู้ประกอบการค้า เพื่อตรวจสอบและเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง สำหรับตลาดสดศรีนครเป็นตลาดที่ได้รับรางวัลตลาดสด น่าซื้อระดับดี เมื่อปี 2550 และระดับดีมากเมื่อปี 2553 จนถึงปัจจุบัน ถือว่าเป็นตลาดสดที่ชาวนครสวรรค์นิยมมาจับจ่ายใช้สอยเป็นจำนวนมาก *** กลุ่มสื่อสารองค์กร / 5 เมษายน 2556