ข่าวแจก "กรมอนามัย ร่วมกับ สวนจิตรลดา พัฒนาคุณภาพนมฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุของเด็กไทย"
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับ โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา จัดประชุมพัฒนาคุณภาพนมฟลูออไรด์ในโครงการนมฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุในประเทศไทย เตรียมพร้อมขยายผลไปยังพื้นที่ที่เด็กมีฟันผุสูง เน้นพัฒนาแนวการผลิตและควบคุมมาตรฐาน รวมทั้งการบริหารจัดการด้านการจัดส่งนมฟลูออไรด์จากโรงนมสู่นักเรียนอย่างมืออาชีพ
วันนี้ (27 มีนาคม 2556) นายแพทย์เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุม เรื่อง การพัฒนาคุณภาพนมฟลูออไรด์ในโครงการนมฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุในประเทศไทย ว่า โครงการนมฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุในประเทศไทย ถือเป็นอีกหนึ่งโครงการของกรมอนามัยที่ได้ดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 2543 เป็นต้นมา โดยความร่วมมือระหว่างกรมอนามัย โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรุงเทพมหานคร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ภายใต้การสนับสนุนด้านวิชาการจากองค์การอนามัยโลก รวมทั้งการสนับสนุนงบประมาณบางส่วนจากมูลนิธิ The Borrow Foundation ประเทศอังกฤษ ในรูปแบบของการเสริมฟลูออไรด์ผ่านทางนมในโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียนเพื่อป้องกันฟันผุ โดยขณะนี้สามารถขยายผลการดำเนินงานไปยังพื้นที่ที่มีเด็กฟันผุสูง 8 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ชุมพร ขอนแก่น สุราษฎร์ธานี สระแก้ว ชลบุรี กระบี่ และพัทลุง ครอบคลุมนักเรียนกว่า 950,000 คน โดยมีโรงนมที่ผ่านการฝึกอบรมวิธีการผลิตนมฟลูออไรด์อย่างมีคุณภาพ จากโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา และได้รับใบอนุญาตการผลิตนมฟลูออไรด์เฉพาะคราวจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา รวมทั้งสิ้น 18 แห่ง โดยกรมอนามัย ร่วมกับ โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา ได้ติดตาม ควบคุม กำกับและพัฒนามาตรฐานการผลิตนมฟลูออไรด์ของทุกโรงนมอย่างต่อเนื่อง
นายแพทย์เจษฎา กล่าวต่อไปถึงผลการนิเทศติดตามการดำเนินงานที่ผ่านมา พบว่า การเพิ่มพูนความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างโรงนม ในการผลิตและควบคุมมาตรฐานตั้งแต่โรงนมถึงนักเรียน เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เด็กได้ดื่มนมฟลูออไรด์ที่มีประสิทธิผลในการป้องกันฟันผุ ดังนั้น ผลจากการประชุมในครั้งนี้ จะช่วยพัฒนาศักยภาพบุคลากรโรงนม ให้มีความรู้และเทคนิคในการผลิตนมฟลูออไรด์ให้อยู่ในมาตรฐานและมีคุณภาพที่ดี ภายใต้การควบคุมกำกับโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา และกรมอนามัย จึงมั่นใจได้ว่า เด็กนักเรียนในจังหวัดที่ร่วมโครงการ จะได้ดื่มนมที่มีประสิทธิผลในการลดฟันผุ ควบคู่ไปกับการได้รับนมอันเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพโดยรวมของเด็ก พร้อมที่จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพที่สำคัญคือมีสุขภาพช่องปากที่ดี
จากแนวคิดขององค์การอนามัยโลกที่ส่งเสริมให้ใช้ฟลูออไรด์เสริมผ่านทางนม เป็นมาตรการหนึ่งในการป้องกันฟันผุ รวมทั้งโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา ได้ให้ความร่วมมือในการผลิตนมฟลูออไรด์ขึ้นเป็นแห่งแรกในประเทศไทย และสนับสนุนให้เด็กนักเรียนได้ดื่มนมฟลูออไรด์พาสเจอร์ไรซ์ขนาดบรรจุ 200 มิลลิลิตร ที่มีปริมาณฟลูออไรด์ 0.5 มิลลิกรัม ตามขนาดที่องค์การอนามัยโลกแนะนำ และติดตามประเมินผลพบว่าเด็กในกรุงเทพมหานครที่ดื่มนมฟลูออไรด์ต่อเนื่องเป็นเวลา 5 ปี จะมีประสิทธิผลลดโรคฟันผุในฟันแท้ได้มากกว่าเด็กที่ไม่ได้ดื่มนมฟลูออไรด์ถึงร้อยละ 34.4 นอกจากนี้ ได้มีการศึกษาปริมาณฟลูออไรด์โดยรวมที่ได้รับในแต่ละวันของเด็กที่ดื่มนมฟลูออไรด์ พบว่า ยังอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม มีความปลอดภัยและไม่พบผลเสียในเรื่องฟันตกกระ จึงสมควรที่จะให้การสนับสนุนการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อสุขภาพช่องปากที่ดีต่อไป? อธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด
***
กลุ่มสื่อสารองค์กร / 27 มีนาคม 2556
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับ โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา จัดประชุมพัฒนาคุณภาพนมฟลูออไรด์ในโครงการนมฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุในประเทศไทย เตรียมพร้อมขยายผลไปยังพื้นที่ที่เด็กมีฟันผุสูง เน้นพัฒนาแนวการผลิตและควบคุมมาตรฐาน รวมทั้งการบริหารจัดการด้านการจัดส่งนมฟลูออไรด์จากโรงนมสู่นักเรียนอย่างมืออาชีพ วันนี้ (27 มีนาคม 2556) นายแพทย์เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุม เรื่อง การพัฒนาคุณภาพนมฟลูออไรด์ในโครงการนมฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุในประเทศไทย ว่า โครงการนมฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุในประเทศไทย ถือเป็นอีกหนึ่งโครงการของกรมอนามัยที่ได้ดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 2543 เป็นต้นมา โดยความร่วมมือระหว่างกรมอนามัย โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรุงเทพมหานคร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ภายใต้การสนับสนุนด้านวิชาการจากองค์การอนามัยโลก รวมทั้งการสนับสนุนงบประมาณบางส่วนจากมูลนิธิ The Borrow Foundation ประเทศอังกฤษ ในรูปแบบของการเสริมฟลูออไรด์ผ่านทางนมในโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียนเพื่อป้องกันฟันผุ โดยขณะนี้สามารถขยายผลการดำเนินงานไปยังพื้นที่ที่มีเด็กฟันผุสูง 8 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ชุมพร ขอนแก่น สุราษฎร์ธานี สระแก้ว ชลบุรี กระบี่ และพัทลุง ครอบคลุมนักเรียนกว่า 950,000 คน โดยมีโรงนมที่ผ่านการฝึกอบรมวิธีการผลิตนมฟลูออไรด์อย่างมีคุณภาพ จากโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา และได้รับใบอนุญาตการผลิตนมฟลูออไรด์เฉพาะคราวจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา รวมทั้งสิ้น 18 แห่ง โดยกรมอนามัย ร่วมกับ โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา ได้ติดตาม ควบคุม กำกับและพัฒนามาตรฐานการผลิตนมฟลูออไรด์ของทุกโรงนมอย่างต่อเนื่อง นายแพทย์เจษฎา กล่าวต่อไปถึงผลการนิเทศติดตามการดำเนินงานที่ผ่านมา พบว่า การเพิ่มพูนความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างโรงนม ในการผลิตและควบคุมมาตรฐานตั้งแต่โรงนมถึงนักเรียน เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เด็กได้ดื่มนมฟลูออไรด์ที่มีประสิทธิผลในการป้องกันฟันผุ ดังนั้น ผลจากการประชุมในครั้งนี้ จะช่วยพัฒนาศักยภาพบุคลากรโรงนม ให้มีความรู้และเทคนิคในการผลิตนมฟลูออไรด์ให้อยู่ในมาตรฐานและมีคุณภาพที่ดี ภายใต้การควบคุมกำกับโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา และกรมอนามัย จึงมั่นใจได้ว่า เด็กนักเรียนในจังหวัดที่ร่วมโครงการ จะได้ดื่มนมที่มีประสิทธิผลในการลดฟันผุ ควบคู่ไปกับการได้รับนมอันเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพโดยรวมของเด็ก พร้อมที่จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพที่สำคัญคือมีสุขภาพช่องปากที่ดี \\จากแนวคิดขององค์การอนามัยโลกที่ส่งเสริมให้ใช้ฟลูออไรด์เสริมผ่านทางนม เป็นมาตรการหนึ่งในการป้องกันฟันผุ รวมทั้งโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา ได้ให้ความร่วมมือในการผลิตนมฟลูออไรด์ขึ้นเป็นแห่งแรกในประเทศไทย และสนับสนุนให้เด็กนักเรียนได้ดื่มนมฟลูออไรด์พาสเจอร์ไรซ์ขนาดบรรจุ 200 มิลลิลิตร ที่มีปริมาณฟลูออไรด์ 0.5 มิลลิกรัม ตามขนาดที่องค์การอนามัยโลกแนะนำ และติดตามประเมินผลพบว่าเด็กในกรุงเทพมหานครที่ดื่มนมฟลูออไรด์ต่อเนื่องเป็นเวลา 5 ปี จะมีประสิทธิผลลดโรคฟันผุในฟันแท้ได้มากกว่าเด็กที่ไม่ได้ดื่มนมฟลูออไรด์ถึงร้อยละ 34.4 นอกจากนี้ ได้มีการศึกษาปริมาณฟลูออไรด์โดยรวมที่ได้รับในแต่ละวันของเด็กที่ดื่มนมฟลูออไรด์ พบว่า ยังอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม มีความปลอดภัยและไม่พบผลเสียในเรื่องฟันตกกระ จึงสมควรที่จะให้การสนับสนุนการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อสุขภาพช่องปากที่ดีต่อไป อธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด *** กลุ่มสื่อสารองค์กร / 27 มีนาคม 2556