ข่าวแจก "สธ. จัดทีมลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานอาหารปลอดภัยจังหวัดภูเก็ต มุ่งพัฒนาตลาดสดสู่อาเซียน"
กระทรวงสาธารณสุข จัดทีมลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานอาหารปลอดภัยของจังหวัดภูเก็ต เน้นตรวจสอบอาหารทะเลในตลาดสดของจังหวัด ให้เป็น ภูเก็ต อาหารทะเลปลอดภัย ไร้ฟอร์มาลิน? พร้อมเป็นต้นแบบมาตรฐานด้านตลาดสดในกลุ่มอาเซียน
วันนี้ (25 มีนาคม 2556) นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการตรวจเยี่ยมการดำเนินงานอาหารปลอดภัยในตลาดสด น่าซื้อ ณ ตลาดสดสาธารณะ 1 (บ่านซ้าน) อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ว่า จากนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการคุ้มครองผู้บริโภคโดยเฉพาะประชาชนด้านอาหารปลอดภัย และรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ภายในปี 2558 กระทรวงสาธารณสุขโดยกรมอนามัยจึงได้จัดให้มีการเฝ้าระวังและสุ่มตรวจมาตรฐานการดำเนินงานอาหารปลอดภัยในตลาดสดอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี โดยตลาดสดที่สามารถรักษาคุณภาพระดับดีมากหรือตลาดสดระดับ 5 ดาว ติดต่อกัน 5 ปีขึ้นไป จะได้รับการยกระดับให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ตลาดสด และเป็นต้นแบบในการศึกษาดูงานด้านการพัฒนาตลาดสดให้ได้มาตรฐานในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านและประเทศในกลุ่มอาเซียน
นายแพทย์ชลน่าน กล่าวต่อไปถึงการนำทีมลงมาตรวจเยี่ยมการดำเนินงานอาหารปลอดภัยตลาดสดสาธารณะ 1 (บ่านซ้าน) ว่า การตรวจเยี่ยมครั้งนี้เป็นการติดตามผลการดำเนินงานเฝ้าระวังและสุ่มตรวจมาตรฐานการดำเนินงานอาหารปลอดภัยของจังหวัดภูเก็ต ซึ่งเป็นเมืองท่องเที่ยวที่สร้างรายได้ให้กับประเทศปีละมหาศาล ดังนั้น การเฝ้าระวังเกี่ยวกับความปลอดภัยอาหารจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ที่จะช่วยสร้างเชื่อมั่นแก่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศ ว่าได้รับความคุ้มครองสุขภาพจากการบริโภคอาหารของประเทศอย่างเข้มงวด โดยการตรวจเยี่ยมตลาดสดครั้งนี้ มุ่งเน้นการตรวจสารปนเปื้อนในอาหารทะเล โดยเฉพาะฟอร์มาลิน ภายใต้แนวคิด ภูเก็ต อาหารทะเลปลอดภัย ไร้ฟอร์มาลิน? และเป็นที่น่ายินดีอย่างยิ่งที่จังหวัดภูเก็ตให้ความสำคัญต่อการพัฒนามาตรฐานตลาดสด จนปัจจุบันสามารถขับเคลื่อนตลาดให้ได้มาตรฐานตลาดสด น่าซื้อ ครบร้อยละ 100 จำแนกเป็นตลาดระดับดีมาก 2 แห่ง และตลาดระดับดี 8 แห่ง รวมทั้งจัดให้มีการรักษาความสะอาดด้านสิ่งแวดล้อมในตลาด การตรวจสอบสารปนเปื้อนในอาหาร และมีการให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการค้าอย่างต่อเนื่อง
นายแพทย์ณรงค์ สายวงศ์ รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมอนามัย ได้ดำเนินการสุ่มตรวจสอบหาสารปนเปื้อน 6 ชนิด ได้แก่ ยาฆ่าแมลง สารบอแรกซ์ สารฟอกขาว สารกันรา สารฟอร์มาลิน และสารเร่งเนื้อแดง ในอาหารสดที่จำหน่ายในตลาดสด / ตลาดนัด หรือ ซุปเปอร์มาร์เก็ต ในจังหวัดภูเก็ตเมื่อปี 2555 จำนวน 526 ตัวอย่าง พบตัวอย่างอาหารที่มีสารปนเปื้อนเกินมาตรฐาน 15 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 2.85 โดยตรวจพบในอำเภอเมือง จำนวน 10 ตัวอย่าง เป็นยาฆ่าแมลง ในตัวอย่างประเภท ปลาเค็ม พริกสด กระหล่ำปลีม่วง ผักแขนง ผักบุ้ง กวางตุ้งไต้หวัน มะเขือม่วง รวม 8 ตัวอย่าง และฟอร์มาลิน ในตัวอย่างประเภท สไบนาง รวม 2 ตัวอย่าง และตรวจพบสารปนเปื้อนในอาหารที่อำเภอถลาง จำนวน 5 ตัวอย่าง โดยพบยาฆ่าแมลง 4 ตัวอย่าง ในคะน้า ใบรา พริกหยวก และมะเขือเทศ พบฟอร์มาลิน ในสไบนาง ทั้งนี้ กรมอนามัยกำหนดให้มีการเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งได้นำนโยบายจากรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ถ่ายทอดให้กับภาคีเครือข่าย เพื่อร่วมกันพัฒนาตลาดสดไทยให้ได้มาตรฐาน สร้างความมั่นใจแก่ผู้บริโภคในการป้องกันโรคและรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในอนาคต? รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด
***
กลุ่มสื่อสารองค์กร / 25 มีนาคม 2556
กระทรวงสาธารณสุข จัดทีมลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานอาหารปลอดภัยของจังหวัดภูเก็ต เน้นตรวจสอบอาหารทะเลในตลาดสดของจังหวัด ให้เป็น \\ภูเก็ต อาหารทะเลปลอดภัย ไร้ฟอร์มาลิน พร้อมเป็นต้นแบบมาตรฐานด้านตลาดสดในกลุ่มอาเซียน วันนี้ (25 มีนาคม 2556) นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการตรวจเยี่ยมการดำเนินงานอาหารปลอดภัยในตลาดสด น่าซื้อ ณ ตลาดสดสาธารณะ 1 (บ่านซ้าน) อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ว่า จากนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการคุ้มครองผู้บริโภคโดยเฉพาะประชาชนด้านอาหารปลอดภัย และรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ภายในปี 2558 กระทรวงสาธารณสุขโดยกรมอนามัยจึงได้จัดให้มีการเฝ้าระวังและสุ่มตรวจมาตรฐานการดำเนินงานอาหารปลอดภัยในตลาดสดอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี โดยตลาดสดที่สามารถรักษาคุณภาพระดับดีมากหรือตลาดสดระดับ 5 ดาว ติดต่อกัน 5 ปีขึ้นไป จะได้รับการยกระดับให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ตลาดสด และเป็นต้นแบบในการศึกษาดูงานด้านการพัฒนาตลาดสดให้ได้มาตรฐานในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านและประเทศในกลุ่มอาเซียน นายแพทย์ชลน่าน กล่าวต่อไปถึงการนำทีมลงมาตรวจเยี่ยมการดำเนินงานอาหารปลอดภัยตลาดสดสาธารณะ 1 (บ่านซ้าน) ว่า การตรวจเยี่ยมครั้งนี้เป็นการติดตามผลการดำเนินงานเฝ้าระวังและสุ่มตรวจมาตรฐานการดำเนินงานอาหารปลอดภัยของจังหวัดภูเก็ต ซึ่งเป็นเมืองท่องเที่ยวที่สร้างรายได้ให้กับประเทศปีละมหาศาล ดังนั้น การเฝ้าระวังเกี่ยวกับความปลอดภัยอาหารจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ที่จะช่วยสร้างเชื่อมั่นแก่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศ ว่าได้รับความคุ้มครองสุขภาพจากการบริโภคอาหารของประเทศอย่างเข้มงวด โดยการตรวจเยี่ยมตลาดสดครั้งนี้ มุ่งเน้นการตรวจสารปนเปื้อนในอาหารทะเล โดยเฉพาะฟอร์มาลิน ภายใต้แนวคิด \\ภูเก็ต อาหารทะเลปลอดภัย ไร้ฟอร์มาลิน และเป็นที่น่ายินดีอย่างยิ่งที่จังหวัดภูเก็ตให้ความสำคัญต่อการพัฒนามาตรฐานตลาดสด จนปัจจุบันสามารถขับเคลื่อนตลาดให้ได้มาตรฐานตลาดสด น่าซื้อ ครบร้อยละ 100 จำแนกเป็นตลาดระดับดีมาก 2 แห่ง และตลาดระดับดี 8 แห่ง รวมทั้งจัดให้มีการรักษาความสะอาดด้านสิ่งแวดล้อมในตลาด การตรวจสอบสารปนเปื้อนในอาหาร และมีการให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการค้าอย่างต่อเนื่อง นายแพทย์ณรงค์ สายวงศ์ รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมอนามัย ได้ดำเนินการสุ่มตรวจสอบหาสารปนเปื้อน 6 ชนิด ได้แก่ ยาฆ่าแมลง สารบอแรกซ์ สารฟอกขาว สารกันรา สารฟอร์มาลิน และสารเร่งเนื้อแดง ในอาหารสดที่จำหน่ายในตลาดสด / ตลาดนัด หรือ ซุปเปอร์มาร์เก็ต ในจังหวัดภูเก็ตเมื่อปี 2555 จำนวน 526 ตัวอย่าง พบตัวอย่างอาหารที่มีสารปนเปื้อนเกินมาตรฐาน 15 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 2.85 โดยตรวจพบในอำเภอเมือง จำนวน 10 ตัวอย่าง เป็นยาฆ่าแมลง ในตัวอย่างประเภท ปลาเค็ม พริกสด กระหล่ำปลีม่วง ผักแขนง ผักบุ้ง กวางตุ้งไต้หวัน มะเขือม่วง รวม 8 ตัวอย่าง และฟอร์มาลิน ในตัวอย่างประเภท สไบนาง รวม 2 ตัวอย่าง และตรวจพบสารปนเปื้อนในอาหารที่อำเภอถลาง จำนวน 5 ตัวอย่าง โดยพบยาฆ่าแมลง 4 ตัวอย่าง ในคะน้า ใบรา พริกหยวก และมะเขือเทศ พบฟอร์มาลิน ในสไบนาง ทั้งนี้ กรมอนามัยกำหนดให้มีการเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งได้นำนโยบายจากรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ถ่ายทอดให้กับภาคีเครือข่าย เพื่อร่วมกันพัฒนาตลาดสดไทยให้ได้มาตรฐาน สร้างความมั่นใจแก่ผู้บริโภคในการป้องกันโรคและรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในอนาคต รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด *** กลุ่มสื่อสารองค์กร / 25 มีนาคม 2556