ข่าวแจก "สธ. ร่วมมือสภานานาชาติเพื่อการควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน ติดตามและประเมินผลโครงการควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนในประเทศไทย"
กระทรวงสาธารณสุข เผยสถานการณ์โรคขาดสารไอโอดีนในประเทศไทยมีแนวโน้มดีขึ้น พร้อมต้อนรับคณะผู้เชี่ยวชาญจากสภานานาชาติเพื่อการควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนในการ ติดตามและประเมินผลโครงการควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนในประเทศไทย
วันนี้ (18 มีนาคม 2556) นายแพทย์วิชัย เทียนถาวร ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึง การติดตามและประเมินผลโครงการควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนในประเทศไทย โดยคณะผู้เชี่ยวชาญจากสภานานาชาติเพื่อการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีน ณ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ว่า โรคขาดสารไอโอดีนถือเป็นปัญหาสำคัญของประเทศไทยมายาวนาน ซึ่งมีผลต่อการพัฒนาสติปัญญาของประชาชนในประเทศ กระทรวงสาธารณสุขจึงได้จัดตั้งโครงการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีนแห่งชาติขึ้น เมื่อปี 2532และมีการแต่งตั้งคณะกรรมการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีนแห่งชาติโดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงรับเป็นประธานคณะกรรมการโดยมีมาตรการหลักในการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีน ได้แก่ การผลิตและกระจายเกลือเสริมไอโอดีนให้มีคุณภาพและมีปริมาณเพียงพอเพื่อประชาชนไทยได้บริโภคอย่างทั่วถึง และมีมาตรการเสริม คือ ยาเม็ดวิตามินเสริมไอโอดีนในหญิงตั้งครรภ์ และน้ำดื่มเสริมไอโอดีนซึ่งได้สนับสนุนให้มีการบริโภคในพื้นที่ห่างไกล
นายแพทย์วิชัย กล่าวต่อไปว่า กระทรวงสาธารณสุขได้มีการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งได้เชิญผู้เชี่ยวชาญจากสภานานาชาติเพื่อการควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนมาร่วมติดตามและประเมินผล ซึ่งในครั้งนี้ จะดำเนินการระหว่างวันที่ 18 - 22 มีนาคม 2556 ถือเป็นการประเมินผลครั้งที่ 4 โดยก่อนหน้านี้สภานานาชาติเพื่อการควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนได้ประเมินผลแล้ว 3 ครั้งเมื่อปี2543 , 2547 และ 2552 นายแพทย์นิทัศน์ รายยวา รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า สถานการณ์โรคขาดสารไอโอดีนในปัจจุบันเมื่อใช้ระดับไอโอดีนในปัสสาวะเป็นตัวชี้วัด ตามที่องค์การอนามัยโลกได้กำหนดให้พื้นที่ที่หญิงตั้งครรภ์มีระดับไอโอดีนในปัสสาวะน้อยกว่า 150 ไมโครกรัมต่อลิตรเกินร้อยละ 50 เป็นพื้นที่ขาดสารไอโอดีน สำหรับในประเทศไทยพบว่าในปี 2555 หญิงตั้งครรภ์ที่มีระดับไอโอดีนในปัสสาวะต่ำกว่า 150 ไมโครกรัมต่อลิตรมีเพียง ร้อยละ 47.3 นอกจากนี้ กระทรวงสาธารณสุขได้สนับสนุนให้มีการผลิตและกระจายเกลือเสริมไอโอดีน ทำให้อัตราการบริโภคเกลือเสริมไอโอดีนระดับครัวเรือนในปี 2555 คิดเป็นร้อยละ 84.6 และยังได้สนับสนุนยาเม็ดวิตามินเสริมไอโอดีนให้กับหญิงตั้งครรภ์ตั้งแต่ปี 2553 จนถึงปัจจุบัน
นายแพทย์เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า กรมอนามัยได้กำหนด 6 ยุทธศาสตร์เพื่อการควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน ได้แก่
1) ผลิตและกระจายเกลือเสริมไอโอดีน
2) จัดทำระบบเฝ้าระวัง ติดตาม สถานการณ์อย่างใกล้ชิด
3) สร้างความเข้มแข็งให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อการมีส่วนร่วม โดยได้แต่งตั้ง อสม.ทั่วประเทศ ให้เป็นฑูตไอโอดีน เพื่อการขับเคลื่อนให้เกิดชุมชนและหมู่บ้านไอโอดีนขึ้นทั่วประเทศ
4) ประชาสัมพันธ์ รณรงค์ เพื่อสร้างความตระหนักและส่งเสริมการบริโภคเกลือเสริมไอโอดีนอย่างต่อเนื่อง
5) ศึกษา วิจัย กลยุทธ์และ มาตรการใหม่ เพื่อการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
6) การใช้มาตรการเสริมอื่นๆ
สำหรับการติดตามและประเมินผลครั้งนี้คณะผู้เชี่ยวชาญจะเข้าพบผู้บริหารระดับนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข กรมอนามัย หน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งจะเดินทางไปตรวจเยี่ยมการผลิตเกลือ เสริมไอโอดีนและการดำเนินงานควบคุมโรคขาดสารไอโอดีนในพื้นที่ต่างๆ เพื่อทราบสถานการณ์จริงและให้ ข้อเสนอแนะในการดำเนินงานที่จะทำให้โรคขาดสารไอโอดีนหมดสิ้นไปจากประเทศไทย
***
กลุ่มสื่อสารองค์กร / 18 มีนาคม 2556
กระทรวงสาธารณสุข เผยสถานการณ์โรคขาดสารไอโอดีนในประเทศไทยมีแนวโน้มดีขึ้น พร้อมต้อนรับคณะผู้เชี่ยวชาญจากสภานานาชาติเพื่อการควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนในการ ติดตามและประเมินผลโครงการควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนในประเทศไทย วันนี้ (18 มีนาคม 2556) นายแพทย์วิชัย เทียนถาวร ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึง การติดตามและประเมินผลโครงการควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนในประเทศไทย โดยคณะผู้เชี่ยวชาญจากสภานานาชาติเพื่อการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีน ณ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ว่า โรคขาดสารไอโอดีนถือเป็นปัญหาสำคัญของประเทศไทยมายาวนาน ซึ่งมีผลต่อการพัฒนาสติปัญญาของประชาชนในประเทศ กระทรวงสาธารณสุขจึงได้จัดตั้งโครงการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีนแห่งชาติขึ้น เมื่อปี 2532และมีการแต่งตั้งคณะกรรมการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีนแห่งชาติโดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงรับเป็นประธานคณะกรรมการโดยมีมาตรการหลักในการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีน ได้แก่ การผลิตและกระจายเกลือเสริมไอโอดีนให้มีคุณภาพและมีปริมาณเพียงพอเพื่อประชาชนไทยได้บริโภคอย่างทั่วถึง และมีมาตรการเสริม คือ ยาเม็ดวิตามินเสริมไอโอดีนในหญิงตั้งครรภ์ และน้ำดื่มเสริมไอโอดีนซึ่งได้สนับสนุนให้มีการบริโภคในพื้นที่ห่างไกล นายแพทย์วิชัย กล่าวต่อไปว่า กระทรวงสาธารณสุขได้มีการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งได้เชิญผู้เชี่ยวชาญจากสภานานาชาติเพื่อการควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนมาร่วมติดตามและประเมินผล ซึ่งในครั้งนี้ จะดำเนินการระหว่างวันที่ 18 - 22 มีนาคม 2556 ถือเป็นการประเมินผลครั้งที่ 4 โดยก่อนหน้านี้สภานานาชาติเพื่อการควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนได้ประเมินผลแล้ว 3 ครั้งเมื่อปี2543 , 2547 และ 2552 นายแพทย์นิทัศน์ รายยวา รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า สถานการณ์โรคขาดสารไอโอดีนในปัจจุบันเมื่อใช้ระดับไอโอดีนในปัสสาวะเป็นตัวชี้วัด ตามที่องค์การอนามัยโลกได้กำหนดให้พื้นที่ที่หญิงตั้งครรภ์มีระดับไอโอดีนในปัสสาวะน้อยกว่า 150 ไมโครกรัมต่อลิตรเกินร้อยละ 50 เป็นพื้นที่ขาดสารไอโอดีน สำหรับในประเทศไทยพบว่าในปี 2555 หญิงตั้งครรภ์ที่มีระดับไอโอดีนในปัสสาวะต่ำกว่า 150 ไมโครกรัมต่อลิตรมีเพียง ร้อยละ 47.3 นอกจากนี้ กระทรวงสาธารณสุขได้สนับสนุนให้มีการผลิตและกระจายเกลือเสริมไอโอดีน ทำให้อัตราการบริโภคเกลือเสริมไอโอดีนระดับครัวเรือนในปี 2555 คิดเป็นร้อยละ 84.6 และยังได้สนับสนุนยาเม็ดวิตามินเสริมไอโอดีนให้กับหญิงตั้งครรภ์ตั้งแต่ปี 2553 จนถึงปัจจุบัน นายแพทย์เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า กรมอนามัยได้กำหนด 6 ยุทธศาสตร์เพื่อการควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน ได้แก่1) ผลิตและกระจายเกลือเสริมไอโอดีน2) จัดทำระบบเฝ้าระวัง ติดตาม สถานการณ์อย่างใกล้ชิด3) สร้างความเข้มแข็งให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อการมีส่วนร่วม โดยได้แต่งตั้ง อสม.ทั่วประเทศ ให้เป็นฑูตไอโอดีน เพื่อการขับเคลื่อนให้เกิดชุมชนและหมู่บ้านไอโอดีนขึ้นทั่วประเทศ4) ประชาสัมพันธ์ รณรงค์ เพื่อสร้างความตระหนักและส่งเสริมการบริโภคเกลือเสริมไอโอดีนอย่างต่อเนื่อง5) ศึกษา วิจัย กลยุทธ์และ มาตรการใหม่ เพื่อการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น6) การใช้มาตรการเสริมอื่นๆ \\สำหรับการติดตามและประเมินผลครั้งนี้คณะผู้เชี่ยวชาญจะเข้าพบผู้บริหารระดับนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข กรมอนามัย หน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งจะเดินทางไปตรวจเยี่ยมการผลิตเกลือ เสริมไอโอดีนและการดำเนินงานควบคุมโรคขาดสารไอโอดีนในพื้นที่ต่างๆ เพื่อทราบสถานการณ์จริงและให้ ข้อเสนอแนะในการดำเนินงานที่จะทำให้โรคขาดสารไอโอดีนหมดสิ้นไปจากประเทศไทย *** กลุ่มสื่อสารองค์กร / 18 มีนาคม 2556